(จากเว็บพันทิพ ห้องหว้ากอ)
นับตั้งแต่ก้าวเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 21 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน เวลาผ่านไปเพียง 10 ปีเท่านั้น แต่ชาวโลกต้องอกสั่นขวัญแขวนจากภัยธรรมชาติครั้งใหญ่หลายต่อหลายครั้ง ที่ยังคงอยู่ในความทรงจำของทุกคนเป็นอย่างดีก็คือ เหตุการณ์สึนามิถล่มหลายประเทศรวมทั้งไทยเมื่อปลายปี ค.ศ.2004 พายุไซโคลนนาร์กีสถล่มพม่าเมื่อปี ค.ศ.2008 แผ่นดินไหวที่เมืองหลวงของเฮติเมื่อต้นปีที่แล้ว และล่าสุดเหตุการณ์แผ่นดินไหวพ่วงสึนามิถล่มเมืองเซ็นไดของประเทศญี่ปุ่น ก็กำลังสร้างความตื่นตระหนกให้กับพวกเราอยู่ในขณะนี้
แต่ความน่าวิตกยังไม่จบลงเพียงเท่านั้น เมื่อเราได้ศึกษาสถิติการเกิดภัยธรรมชาติครั้งใหญ่ของโลกแล้วพบว่า ตั้งแต่ปี ค.ศ.1950 จนถึงปัจจุบัน เป็นช่วงเวลาที่เกิดภัยธรรมชาติครั้งใหญ่มากครั้งที่สุด และมีแนวโน้มที่จะเกิดถี่ขึ้นเรื่อยๆ คล้ายกับเป็นการส่งสัญญาณเตือนให้มนุษยชาติได้เตรียมพร้อมรับมือกับ "มหาพิบัติภัยธรรมชาติ" ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
60 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่ปี ค.ศ.1950 หรือหลังยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นช่วงเวลาที่โลกถูกทำร้ายโดยน้ำมือของมนุษย์มากที่สุด ทั้งการตัดไม้ทำลายป่า ปล่อยแก๊สเรือนกระจก ปล่อยของเสียลงแหล่งน้ำ ถลุงใช้ทรัพยากรทั้งบนดินและใต้ดินอย่างไม่บันยะบันยัง ทั้งหมดเป็นไปเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ และรองรับการเติบโตของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ในช่วงเวลานี้ความเจริญทางด้านวัตถุเกิดขึ้นอย่างก้าวกระโดด แต่ความเสื่อมโทรมของธรรมชาติก็เกิดขึ้นอย่างก้าวกระโดดด้วยเช่นกัน
ย้อนกลับไปในยุคที่มนุษย์เริ่มนำเครื่องจักรและถ่านหินมาใช้แทนแรงคน หรือที่เรียกกันว่า "ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม" เมื่อราวปี ค.ศ.1757 นับตั้งแต่นั้นอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกก็เริ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะช่วง 100 ปีหลังนี้ อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกมีค่าสูงขึ้นประมาณ 0.74 องศาเซลเซียส และมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change : IPCC) ในองค์การสหประชาชาติ ระบุว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกจะสูงขึ้น 1.1 - 6.4 องศาเซลเซียส ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 21 ซึ่งเรียกสถานการณ์นี้ว่า "ภาวะโลกร้อน"
IPCC ยังระบุอีกว่า การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ตั้งแต่ ค.ศ.1950) เกิดจากการเพิ่มปริมาณของแก๊สเรือนกระจกที่มาจากกิจกรรมของมนุษย์
"แก๊สเรือนกระจก" ประกอบไปด้วย ไอน้ำ (Water vapor) คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide) มีเทน (Methane) ไนตรัสออกไซด์ โอโซน (Nitrous oxide) และคลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon : CFC) แก๊สเหล่านี้จะลอยขึ้นไปปกคลุมอยู่เหนือพื้นผิวโลก แล้วกักความร้อนไม่ให้สะท้อนกลับออกไปนอกโลก จึงทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกสูงขึ้น
แก๊สเรือนกระจกเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติและเกิดขึ้นได้จากการทำกิจกรรมของมนุษย์ แต่นับจากปี ค.ศ.1950 เป็นต้นมา กิจกรรมภาคอุตสาหกรรมและคมนาคมของมนุษย์ได้กลายเป็นตัวการหลักในการปล่อยแก๊สเรือนกระจก โดยเฉพาะคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งถูกปล่อยขึ้นสู่บรรยากาศในอัตรา 1.5 ล้านล้านกิโลกรัมต่อปี เมื่อปี ค.ศ.1950 ได้เพิ่มเป็นกว่า 8 ล้านล้านกิโลกรัมต่อปี ในปัจจุบัน
แม้ในปี ค.ศ.1997 รัฐบาลทั่วโลกกว่า 160 ประเทศ จะได้ทำข้อตกลงร่วมกันในการลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก หรือที่เรียกว่า "พิธีสารเกียวโต" แต่ประเทศที่ปล่อยแก๊สเรือนกระจกมากที่สุดของโลกอย่างสหรัฐอเมริกากลับไม่ยอมร่วมลงนามในข้อตกลงนี้ โดยประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช อ้างว่าพิธีสารเกียวโตไม่ยุติธรรม และวิธีที่ใช้นั้นไม่ได้ผลในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก
กราฟการเกิดภัยธรรมชาติครั้งใหญ่ของโลก
การทำร้ายธรรมชาติดังที่ได้กล่าวมา ล้วนส่งผลเชื่อมโยงมาถึงการเกิดภัยธรรมชาติ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ ภาวะโลกร้อนส่งผลให้ภูเขาน้ำแข็งที่บริเวณขั้วโลกละลายตัวลง และหนุนระดับน้ำทะเลให้สูงขึ้นทั่วโลก จนกลืนกินผืนแผ่นดินชายฝั่งทะเลของหลายๆ ประเทศไปเป็นจำนวนมาก รวมทั้งพื้นที่ชายทะเลของเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ที่ร่นเข้ามาจากเดิมเป็นระยะทางนับกิโลเมตร
ศูนย์ข้อมูลน้ำแข็งและหิมะแห่งชาติ (National Snow and Ice Data Center : NSIDC) มหาวิทยาลัยโคโรลาโด ร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ของนาซาและมหาวิทยาลัยวอชิงตัน เผยผลการศึกษาว่า แผ่นน้ำแข็งที่อาร์กติก ขั้วโลกเหนือ กำลังละลายอย่างรวดเร็วในช่วงเวลา 4 ปีที่ผ่านมา เป็นผลทำให้แผ่นน้ำแข็งขนาดเกือบ 7 ล้านตารางกิโลเมตร หดตัวเหลือเพียง 5.32 ล้านตารางกิโลเมตร ลดลงไปถึง 1.3 ล้านตารางกิโลเมตร หรือขนาดประมาณ 2 เท่าของรัฐเท็กซัส ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงมาก และหากอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกจะสูงขึ้นไปอีก 6.4 องศาเซลเซียส ดังที่คาดการณ์กันไว้ น้ำแข็งที่ขั้วโลกก็จะละลายจนหมด เมื่อนั้นแม้แต่ประเทศไทยทั้งประเทศก็อาจจะต้องจมอยู่ใต้น้ำ
นอกจากนั้นภาวะโลกร้อนยังทำให้การหมุนเวียนของกระแสน้ำอุ่นในทะเลเปลี่ยนแปลงไป จนส่งผลให้สภาพภูมิอากาศแปรปรวน ในบางพื้นที่เกิดอากาศร้อนและแห้งแล้งอย่างหนัก ที่เรียกกันว่า "เอลนินโญ" (El Niño) แต่บางพื้นที่เกิดพายุฝนตกหนักจนน้ำท่วม ที่เรียกกันว่า "ลานินญา" (La Niña)
การตัดไม้ทำลายป่านอกจากจะเป็นการทำลายแหล่งต้นน้ำลำธารและที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าโดยตรงแล้ว ยังเป็นการทำลายแนวป้องกันลมพายุ แนวป้องกันน้ำป่า และทำลายแหล่งดูดซับมลพิษในทางอ้อมด้วย ส่วนการเร่งสูบทรัพยากรใต้ดินและใต้ทะเลขึ้นมาใช้อย่างฟุ่มเฟือยก็ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของชั้นหินและของเหลวใต้พื้นผิวโลก จนบางพื้นที่เกิดแผ่นดินทรุดตัว และเกิดแผ่นดินไหวขึ้นได้
พญ.พรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ ส.ว.สรรหา ประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษาปัญหาสาธารณสุข วุฒิสภา เคยแสดงสถิติการเกิดภัยธรรมชาติของโลกในช่วง 30 ปี (ค.ศ.1970 - 2000) ไว้ว่า ทั่วโลกได้เกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรงและมีความถี่เพิ่มขึ้น เช่น ในระหว่างปี ค.ศ.1970 - 1979 มีการเกิดพายุครั้งรุนแรงทั้งหมด 121 ครั้ง ไฟป่าครั้งรุนแรง 11 ครั้ง ดินถล่มครั้งรุนแรง 34 ครั้ง สึนามิครั้งรุนแรง 2 ครั้ง และคลื่นความร้อนครั้งรุนแรง 9 ครั้ง แต่ในระหว่างปี ค.ศ.1989 - 2000 การเกิดพายุครั้งรุนแรงได้เพิ่มขึ้นเป็น 300 ครั้ง ไฟป่า 54 ครั้ง ดินถล่ม 114 ครั้ง สึนามิ 12 ครั้ง และคลื่นความร้อน 70 ครั้ง
20 อันดับการเกิดภัยธรรมชาติที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด (ตารางที่ 1)
อันดับ ประเภท วันที่เกิด สถานที่เกิด ผู้เสียชีวิต (ประมาณ)
1 อุทกภัย กรกฎาคม - พฤศจิกายน ค.ศ.1931 Yellow River, China 2,500,000 - 3,700,000
2 อุทกภัย กันยายน ค.ศ.1887 Yellow River, China 900,000 - 2,000,000
3 แผ่นดินไหว 23 มกราคม ค.ศ.1556 Shaanxi, China 830,000
4 แผ่นดินไหว 28 กรกฎาคม ค.ศ.1976 Tangshan, China 655,000
5 อุทกภัย มิถุนายน ค.ศ.1938 Yellow River, China 500,000 - 700,000
6 พายุหมุน 13 พฤศจิกายน ค.ศ.1970 Bhola Cyclone, East Pakistan (Bangladesh) 500,000
7 พายุหมุน 25 พฤศจิกายน ค.ศ.1839 Indian Cyclone, India 300,000
8 พายุหมุน 7 ตุลาคม ค.ศ.1737 Calcutta Cyclone, India 300,000
9 แผ่นดินไหว พฤษภาคม ค.ศ.526 Antioch, Byzantine Empire (Turkey) 250,000
10 แผ่นดินไหว 16 ธันวาคม ค.ศ.1920 Haiyuan, China 235,502
11 อุทกภัย สิงหาคม ค.ศ.1975 Banqiao Dam, China 231,000
12 สึนามิ 26 ธันวาคม ค.ศ.2004 Sumatra, Indonesia 230,210
13 แผ่นดินไหว 11 ตุลาคม ค.ศ.1138 Aleppo, Syria 230,000
14 แผ่นดินไหว 12 มกราคม ค.ศ.2010 Port au Prince, Haiti 222,570
15 พายุหมุน 7 สิงหาคม ค.ศ.1975 Super Typhoon Nina, China 210,000
16 แผ่นดินไหว 22 ธันวาคม ค.ศ.856 Damghan, Iran 200,000
17 พายุหมุน 30 ตุลาคม ค.ศ.1876 Great Backerganj Cyclone, Bangladesh 200,000
18 แผ่นดินไหว 23 มีนาคม ค.ศ.893 Ardabil, Iran 150,000
19 พายุหมุน 2 พฤษภาคม ค.ศ.2008 Cyclone Nargis, Myanmar 146,000
20 อุทกภัย ค.ศ.1935 Yangtze River, China 145,000
และเมื่อดูจาก ตาราง 20 อันดับการเกิดภัยธรรมชาติที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด (ตารางที่ 1) จะพบว่า เพียงชั่วเวลาหนึ่งช่วงชีวิตคน นับจาก ค.ศ.1950 จนถึงปัจจุบัน เป็นช่วงเวลาที่เกิดภัยธรรมชาติครั้งรุนแรงจำนวนมากครั้งที่สุดในประวัติศาสตร์ คือ 7 ครั้ง (ครั้งที่เป็นตัวหนังสือสีส้ม) จากทั้งหมด 20 ครั้ง หรือคิดเป็นร้อยละ 35
หรือหากจะดูจาก ตารางอันดับการเกิดภัยธรรมชาติที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด แยกประเภทภัยธรรมชาติ (ตารางที่ 2) ก็จะพบว่า ภัยธรรมชาติครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ทั้งหมด 70 ครั้ง เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ.1950 จนถึงปัจจุบัน จำนวนมากถึง 30 ครั้ง หรือคิดเป็นร้อยละ 42.85
อันดับการเกิดภัยธรรมชาติที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด แยกประเภทภัยธรรมชาติ (ตารางที่ 2)
อันดับ วันที่เกิด สถานที่เกิด ผู้เสียชีวิต (ประมาณ)
อุทกภัย (น้ำท่วม)
1 กรกฎาคม - พฤศจิกายน ค.ศ.1931 Yellow River, China 2,500,000 - 3,700,000
2 กันยายน ค.ศ.1887 Yellow River, China 900,000 - 2,000,000
3 มิถุนายน ค.ศ.1938 Yellow River, China 500,000 - 700,000
4 สิงหาคม ค.ศ.1975 Banqiao Dam, China 231,000
5 ค.ศ.1935 Yangtze River, China 145,000
6 5 พฤศจิกายน ค.ศ.1530 Flanders, Netherlands 100,000
7 ค.ศ.1971 Hanoi, Vietnam 100,000
8 ค.ศ.1911 Yangtze River, China 100,000
9 14 ธันวาคม ค.ศ.1287 Friesland, Netherlands 50,000 - 80,000
10 31 มกราคม ค.ศ.1953 Netherlands, England, Belgium 2,400
แผ่นดินไหว
1 23 มกราคม ค.ศ.1556 Shaanxi, China 830,000
2 28 กรกฎาคม ค.ศ.1976 Tangshan, China 655,000
3 พฤษภาคม ค.ศ.526 Antioch, Byzantine Empire (Turkey) 250,000
4 16 ธันวาคม ค.ศ.1920 Haiyuan, China 235,502
5 26 ธันวาคม ค.ศ.2004 Sumatra, Indonesia 230,210
6 11 ตุลาคม ค.ศ.1138 Aleppo, Syria 230,000
7 12 มกราคม ค.ศ.2010 Port au Prince, Haiti 222,570
8 22 ธันวาคม ค.ศ.856 Damghan, Iran 200,000
9 23 มีนาคม ค.ศ.893 Ardabil, Iran 150,000
10 1 กันยายน ค.ศ.1923 Kanto, Japan 142,000
วาตภัย (พายุ)
1 13 พฤศจิกายน ค.ศ.1970 Bhola Cyclone, East Pakistan (Bangladesh) 500,000
2 25 พฤศจิกายน ค.ศ.1839 Indian Cyclone, India 300,000
3 7 ตุลาคม ค.ศ.1737 Calcutta Cyclone, India 300,000
4 7 สิงหาคม ค.ศ.1975 Super Typhoon Nina, China 210,000
5 30 ตุลาคม ค.ศ.1876 Great Backerganj Cyclone, Bangladesh 200,000
6 2 พฤษภาคม ค.ศ.2008 Cyclone Nargis, Myanmar 146,000
7 29 เมษายน ค.ศ.1991 Bangladesh Cyclone, Bangladesh 138,866
8 ค.ศ.1882 Bombay Cyclone, India 100,000
9 1 สิงหาคม ค.ศ.1922 Swatow Typhoon, China 60,000
10 5 ตุลาคม ค.ศ.1864 Calcutta Cyclone, India 60,000
สึนามิ
1 26 ธันวาคม ค.ศ.2004 Sri Lanka, India, Maldives, Malaysia, Somalia, Bangladesh, Thailand 230,210
2 28 ธันวาคม ค.ศ.1908 Messina, Italy 123,000
3 1 พฤศจิกายน ค.ศ.1755 Portugal, Spain, Morocco, Ireland, United Kingdom 100,000
4 26 พฤษภาคม ค.ศ.1883 Krakatoa, Indonesia 36,000
5 28 ตุลาคม ค.ศ.1707 Nankaido, Japan 30,000
6 ค.ศ.1826 Japan 27,000
7 13 สิงหาคม ค.ศ.1868 Arica, Chile 25,674
8 15 มิถุนายน ค.ศ.1896 Sanriku, Japan 22,070
9 11 มีนาคม ค.ศ.2011 Sendai, Japan 18,400
10 ค.ศ.1792 Kyūshū, Japan 15,030
ภูเขาไฟระเบิด
1 10 เมษายน ค.ศ.1815 Mount Tambora, Indonesia 92,000
2 26 พฤษภาคม ค.ศ.1883 Krakatoa, Indonesia 36,000
3 24 สิงหาคม ค.ศ.79 Mount Vesuvius, Italy 33,000
4 7 พฤษภาคม ค.ศ.1902 Mount Pelée, Martinique 29,000
5 13 พฤศจิกายน ค.ศ.1985 Nevado del Ruiz, Colombia 23,000
6 ค.ศ.1792 Mount Unzen, Japan 15,030
7 ค.ศ.1586 Mount Kelut, Indonesia 10,000
8 8 มิถุนายน ค.ศ.1783 Laki, Iceland 9,350
9 ค.ศ.1902 Santa Maria, Guatemala 6,000
10 19 พฤษภาคม ค.ศ.1919 Mount Kelut, Indonesia 5,115
คลื่นความร้อน (Heat wave)
1 มิถุนายน - สิงหาคม ค.ศ.2010 Russia 56,000
2 มิถุนายน - สิงหาคม ค.ศ.2003 France, Portugal, Netherlands, Spain, 40,000
Germany, Switzerland, United Kingdom
3 ค.ศ.1988 United States 5,000 - 10,000
4 ค.ศ.1980 United States 1,700
5 ค.ศ.2003 India 1,500
6 ค.ศ.1955 Los Angeles, United States 946
7 ค.ศ.1972 New York, United States 891
8 ค.ศ.1995 Chicago, United States 739
9 ค.ศ.1999 United States 502
10 ค.ศ.2009 Victoria, Australia 210
หิมะถล่ม
1 31 พฤษภาคม ค.ศ.1970 Huascarán, Peru 50,000
2 ค.ศ.1962 Huascarán, Peru 4,000
3 ค.ศ.1951 Alps, Austria-Switzerland 265
4 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2010 Salang, Afghanistan 172
5 20 กันยายน ค.ศ.2002 Kolka Glacier, Russia 125
6 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2010 Kohistan, Pakistan 102
7 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1910 Wellington, United States 96
8 29 เมษายน ค.ศ.1903 Rocky Mountains, Canada 90
9 4 มีนาคม ค.ศ.1910 Rogers Pass, Canada 62
10 18 มกราคม ค.ศ.1993 Bayburt Üzengili, Turkey 59
จากข้อมูลและสถิติดังกล่าว จึงพอจะทำให้เห็นได้ว่า การที่มนุษย์เร่งพัฒนาทางวัตถุจนหลงทำร้ายธรรมชาติอย่างไม่บันยะบันยัง จะส่งผลให้มนุษย์ในรุ่นต่อๆ ไปต้องตกเป็นผู้รับผลกรรมจากภัยธรรมชาติที่รุนแรงและถี่ขึ้นกว่าเดิม ซึ่งหากพวกเราที่เป็นมนุษย์ในรุ่นปัจจุบันยังไม่สนใจฟังเสียงสัญญาณเตือนจากธรรมชาติ ไม่เร่งหาหนทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ลดการเบียดเบียนธรรมชาติ และสร้างมาตรการป้องกันความเสียหายไว้ล่วงหน้า สักวันหนึ่งหากเกิดมหาพิบัติภัยธรรมชาติขึ้นในยุคลูกหลานของเรา มนุษยชาติก็อาจจะถึงกาลล่มสลายดั่งคำทำนายของหลายสำนักก็เป็นไปได้
นับตั้งแต่ก้าวเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 21 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน เวลาผ่านไปเพียง 10 ปีเท่านั้น แต่ชาวโลกต้องอกสั่นขวัญแขวนจากภัยธรรมชาติครั้งใหญ่หลายต่อหลายครั้ง ที่ยังคงอยู่ในความทรงจำของทุกคนเป็นอย่างดีก็คือ เหตุการณ์สึนามิถล่มหลายประเทศรวมทั้งไทยเมื่อปลายปี ค.ศ.2004 พายุไซโคลนนาร์กีสถล่มพม่าเมื่อปี ค.ศ.2008 แผ่นดินไหวที่เมืองหลวงของเฮติเมื่อต้นปีที่แล้ว และล่าสุดเหตุการณ์แผ่นดินไหวพ่วงสึนามิถล่มเมืองเซ็นไดของประเทศญี่ปุ่น ก็กำลังสร้างความตื่นตระหนกให้กับพวกเราอยู่ในขณะนี้
แต่ความน่าวิตกยังไม่จบลงเพียงเท่านั้น เมื่อเราได้ศึกษาสถิติการเกิดภัยธรรมชาติครั้งใหญ่ของโลกแล้วพบว่า ตั้งแต่ปี ค.ศ.1950 จนถึงปัจจุบัน เป็นช่วงเวลาที่เกิดภัยธรรมชาติครั้งใหญ่มากครั้งที่สุด และมีแนวโน้มที่จะเกิดถี่ขึ้นเรื่อยๆ คล้ายกับเป็นการส่งสัญญาณเตือนให้มนุษยชาติได้เตรียมพร้อมรับมือกับ "มหาพิบัติภัยธรรมชาติ" ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
60 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่ปี ค.ศ.1950 หรือหลังยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นช่วงเวลาที่โลกถูกทำร้ายโดยน้ำมือของมนุษย์มากที่สุด ทั้งการตัดไม้ทำลายป่า ปล่อยแก๊สเรือนกระจก ปล่อยของเสียลงแหล่งน้ำ ถลุงใช้ทรัพยากรทั้งบนดินและใต้ดินอย่างไม่บันยะบันยัง ทั้งหมดเป็นไปเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ และรองรับการเติบโตของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ในช่วงเวลานี้ความเจริญทางด้านวัตถุเกิดขึ้นอย่างก้าวกระโดด แต่ความเสื่อมโทรมของธรรมชาติก็เกิดขึ้นอย่างก้าวกระโดดด้วยเช่นกัน
ย้อนกลับไปในยุคที่มนุษย์เริ่มนำเครื่องจักรและถ่านหินมาใช้แทนแรงคน หรือที่เรียกกันว่า "ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม" เมื่อราวปี ค.ศ.1757 นับตั้งแต่นั้นอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกก็เริ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะช่วง 100 ปีหลังนี้ อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกมีค่าสูงขึ้นประมาณ 0.74 องศาเซลเซียส และมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change : IPCC) ในองค์การสหประชาชาติ ระบุว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกจะสูงขึ้น 1.1 - 6.4 องศาเซลเซียส ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 21 ซึ่งเรียกสถานการณ์นี้ว่า "ภาวะโลกร้อน"
IPCC ยังระบุอีกว่า การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ตั้งแต่ ค.ศ.1950) เกิดจากการเพิ่มปริมาณของแก๊สเรือนกระจกที่มาจากกิจกรรมของมนุษย์
"แก๊สเรือนกระจก" ประกอบไปด้วย ไอน้ำ (Water vapor) คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide) มีเทน (Methane) ไนตรัสออกไซด์ โอโซน (Nitrous oxide) และคลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon : CFC) แก๊สเหล่านี้จะลอยขึ้นไปปกคลุมอยู่เหนือพื้นผิวโลก แล้วกักความร้อนไม่ให้สะท้อนกลับออกไปนอกโลก จึงทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกสูงขึ้น
แก๊สเรือนกระจกเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติและเกิดขึ้นได้จากการทำกิจกรรมของมนุษย์ แต่นับจากปี ค.ศ.1950 เป็นต้นมา กิจกรรมภาคอุตสาหกรรมและคมนาคมของมนุษย์ได้กลายเป็นตัวการหลักในการปล่อยแก๊สเรือนกระจก โดยเฉพาะคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งถูกปล่อยขึ้นสู่บรรยากาศในอัตรา 1.5 ล้านล้านกิโลกรัมต่อปี เมื่อปี ค.ศ.1950 ได้เพิ่มเป็นกว่า 8 ล้านล้านกิโลกรัมต่อปี ในปัจจุบัน
แม้ในปี ค.ศ.1997 รัฐบาลทั่วโลกกว่า 160 ประเทศ จะได้ทำข้อตกลงร่วมกันในการลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก หรือที่เรียกว่า "พิธีสารเกียวโต" แต่ประเทศที่ปล่อยแก๊สเรือนกระจกมากที่สุดของโลกอย่างสหรัฐอเมริกากลับไม่ยอมร่วมลงนามในข้อตกลงนี้ โดยประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช อ้างว่าพิธีสารเกียวโตไม่ยุติธรรม และวิธีที่ใช้นั้นไม่ได้ผลในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก
กราฟการเกิดภัยธรรมชาติครั้งใหญ่ของโลก
การทำร้ายธรรมชาติดังที่ได้กล่าวมา ล้วนส่งผลเชื่อมโยงมาถึงการเกิดภัยธรรมชาติ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ ภาวะโลกร้อนส่งผลให้ภูเขาน้ำแข็งที่บริเวณขั้วโลกละลายตัวลง และหนุนระดับน้ำทะเลให้สูงขึ้นทั่วโลก จนกลืนกินผืนแผ่นดินชายฝั่งทะเลของหลายๆ ประเทศไปเป็นจำนวนมาก รวมทั้งพื้นที่ชายทะเลของเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ที่ร่นเข้ามาจากเดิมเป็นระยะทางนับกิโลเมตร
ศูนย์ข้อมูลน้ำแข็งและหิมะแห่งชาติ (National Snow and Ice Data Center : NSIDC) มหาวิทยาลัยโคโรลาโด ร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ของนาซาและมหาวิทยาลัยวอชิงตัน เผยผลการศึกษาว่า แผ่นน้ำแข็งที่อาร์กติก ขั้วโลกเหนือ กำลังละลายอย่างรวดเร็วในช่วงเวลา 4 ปีที่ผ่านมา เป็นผลทำให้แผ่นน้ำแข็งขนาดเกือบ 7 ล้านตารางกิโลเมตร หดตัวเหลือเพียง 5.32 ล้านตารางกิโลเมตร ลดลงไปถึง 1.3 ล้านตารางกิโลเมตร หรือขนาดประมาณ 2 เท่าของรัฐเท็กซัส ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงมาก และหากอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกจะสูงขึ้นไปอีก 6.4 องศาเซลเซียส ดังที่คาดการณ์กันไว้ น้ำแข็งที่ขั้วโลกก็จะละลายจนหมด เมื่อนั้นแม้แต่ประเทศไทยทั้งประเทศก็อาจจะต้องจมอยู่ใต้น้ำ
นอกจากนั้นภาวะโลกร้อนยังทำให้การหมุนเวียนของกระแสน้ำอุ่นในทะเลเปลี่ยนแปลงไป จนส่งผลให้สภาพภูมิอากาศแปรปรวน ในบางพื้นที่เกิดอากาศร้อนและแห้งแล้งอย่างหนัก ที่เรียกกันว่า "เอลนินโญ" (El Niño) แต่บางพื้นที่เกิดพายุฝนตกหนักจนน้ำท่วม ที่เรียกกันว่า "ลานินญา" (La Niña)
การตัดไม้ทำลายป่านอกจากจะเป็นการทำลายแหล่งต้นน้ำลำธารและที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าโดยตรงแล้ว ยังเป็นการทำลายแนวป้องกันลมพายุ แนวป้องกันน้ำป่า และทำลายแหล่งดูดซับมลพิษในทางอ้อมด้วย ส่วนการเร่งสูบทรัพยากรใต้ดินและใต้ทะเลขึ้นมาใช้อย่างฟุ่มเฟือยก็ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของชั้นหินและของเหลวใต้พื้นผิวโลก จนบางพื้นที่เกิดแผ่นดินทรุดตัว และเกิดแผ่นดินไหวขึ้นได้
พญ.พรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ ส.ว.สรรหา ประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษาปัญหาสาธารณสุข วุฒิสภา เคยแสดงสถิติการเกิดภัยธรรมชาติของโลกในช่วง 30 ปี (ค.ศ.1970 - 2000) ไว้ว่า ทั่วโลกได้เกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรงและมีความถี่เพิ่มขึ้น เช่น ในระหว่างปี ค.ศ.1970 - 1979 มีการเกิดพายุครั้งรุนแรงทั้งหมด 121 ครั้ง ไฟป่าครั้งรุนแรง 11 ครั้ง ดินถล่มครั้งรุนแรง 34 ครั้ง สึนามิครั้งรุนแรง 2 ครั้ง และคลื่นความร้อนครั้งรุนแรง 9 ครั้ง แต่ในระหว่างปี ค.ศ.1989 - 2000 การเกิดพายุครั้งรุนแรงได้เพิ่มขึ้นเป็น 300 ครั้ง ไฟป่า 54 ครั้ง ดินถล่ม 114 ครั้ง สึนามิ 12 ครั้ง และคลื่นความร้อน 70 ครั้ง
20 อันดับการเกิดภัยธรรมชาติที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด (ตารางที่ 1)
อันดับ ประเภท วันที่เกิด สถานที่เกิด ผู้เสียชีวิต (ประมาณ)
1 อุทกภัย กรกฎาคม - พฤศจิกายน ค.ศ.1931 Yellow River, China 2,500,000 - 3,700,000
2 อุทกภัย กันยายน ค.ศ.1887 Yellow River, China 900,000 - 2,000,000
3 แผ่นดินไหว 23 มกราคม ค.ศ.1556 Shaanxi, China 830,000
4 แผ่นดินไหว 28 กรกฎาคม ค.ศ.1976 Tangshan, China 655,000
5 อุทกภัย มิถุนายน ค.ศ.1938 Yellow River, China 500,000 - 700,000
6 พายุหมุน 13 พฤศจิกายน ค.ศ.1970 Bhola Cyclone, East Pakistan (Bangladesh) 500,000
7 พายุหมุน 25 พฤศจิกายน ค.ศ.1839 Indian Cyclone, India 300,000
8 พายุหมุน 7 ตุลาคม ค.ศ.1737 Calcutta Cyclone, India 300,000
9 แผ่นดินไหว พฤษภาคม ค.ศ.526 Antioch, Byzantine Empire (Turkey) 250,000
10 แผ่นดินไหว 16 ธันวาคม ค.ศ.1920 Haiyuan, China 235,502
11 อุทกภัย สิงหาคม ค.ศ.1975 Banqiao Dam, China 231,000
12 สึนามิ 26 ธันวาคม ค.ศ.2004 Sumatra, Indonesia 230,210
13 แผ่นดินไหว 11 ตุลาคม ค.ศ.1138 Aleppo, Syria 230,000
14 แผ่นดินไหว 12 มกราคม ค.ศ.2010 Port au Prince, Haiti 222,570
15 พายุหมุน 7 สิงหาคม ค.ศ.1975 Super Typhoon Nina, China 210,000
16 แผ่นดินไหว 22 ธันวาคม ค.ศ.856 Damghan, Iran 200,000
17 พายุหมุน 30 ตุลาคม ค.ศ.1876 Great Backerganj Cyclone, Bangladesh 200,000
18 แผ่นดินไหว 23 มีนาคม ค.ศ.893 Ardabil, Iran 150,000
19 พายุหมุน 2 พฤษภาคม ค.ศ.2008 Cyclone Nargis, Myanmar 146,000
20 อุทกภัย ค.ศ.1935 Yangtze River, China 145,000
และเมื่อดูจาก ตาราง 20 อันดับการเกิดภัยธรรมชาติที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด (ตารางที่ 1) จะพบว่า เพียงชั่วเวลาหนึ่งช่วงชีวิตคน นับจาก ค.ศ.1950 จนถึงปัจจุบัน เป็นช่วงเวลาที่เกิดภัยธรรมชาติครั้งรุนแรงจำนวนมากครั้งที่สุดในประวัติศาสตร์ คือ 7 ครั้ง (ครั้งที่เป็นตัวหนังสือสีส้ม) จากทั้งหมด 20 ครั้ง หรือคิดเป็นร้อยละ 35
หรือหากจะดูจาก ตารางอันดับการเกิดภัยธรรมชาติที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด แยกประเภทภัยธรรมชาติ (ตารางที่ 2) ก็จะพบว่า ภัยธรรมชาติครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ทั้งหมด 70 ครั้ง เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ.1950 จนถึงปัจจุบัน จำนวนมากถึง 30 ครั้ง หรือคิดเป็นร้อยละ 42.85
อันดับการเกิดภัยธรรมชาติที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด แยกประเภทภัยธรรมชาติ (ตารางที่ 2)
อันดับ วันที่เกิด สถานที่เกิด ผู้เสียชีวิต (ประมาณ)
อุทกภัย (น้ำท่วม)
1 กรกฎาคม - พฤศจิกายน ค.ศ.1931 Yellow River, China 2,500,000 - 3,700,000
2 กันยายน ค.ศ.1887 Yellow River, China 900,000 - 2,000,000
3 มิถุนายน ค.ศ.1938 Yellow River, China 500,000 - 700,000
4 สิงหาคม ค.ศ.1975 Banqiao Dam, China 231,000
5 ค.ศ.1935 Yangtze River, China 145,000
6 5 พฤศจิกายน ค.ศ.1530 Flanders, Netherlands 100,000
7 ค.ศ.1971 Hanoi, Vietnam 100,000
8 ค.ศ.1911 Yangtze River, China 100,000
9 14 ธันวาคม ค.ศ.1287 Friesland, Netherlands 50,000 - 80,000
10 31 มกราคม ค.ศ.1953 Netherlands, England, Belgium 2,400
แผ่นดินไหว
1 23 มกราคม ค.ศ.1556 Shaanxi, China 830,000
2 28 กรกฎาคม ค.ศ.1976 Tangshan, China 655,000
3 พฤษภาคม ค.ศ.526 Antioch, Byzantine Empire (Turkey) 250,000
4 16 ธันวาคม ค.ศ.1920 Haiyuan, China 235,502
5 26 ธันวาคม ค.ศ.2004 Sumatra, Indonesia 230,210
6 11 ตุลาคม ค.ศ.1138 Aleppo, Syria 230,000
7 12 มกราคม ค.ศ.2010 Port au Prince, Haiti 222,570
8 22 ธันวาคม ค.ศ.856 Damghan, Iran 200,000
9 23 มีนาคม ค.ศ.893 Ardabil, Iran 150,000
10 1 กันยายน ค.ศ.1923 Kanto, Japan 142,000
วาตภัย (พายุ)
1 13 พฤศจิกายน ค.ศ.1970 Bhola Cyclone, East Pakistan (Bangladesh) 500,000
2 25 พฤศจิกายน ค.ศ.1839 Indian Cyclone, India 300,000
3 7 ตุลาคม ค.ศ.1737 Calcutta Cyclone, India 300,000
4 7 สิงหาคม ค.ศ.1975 Super Typhoon Nina, China 210,000
5 30 ตุลาคม ค.ศ.1876 Great Backerganj Cyclone, Bangladesh 200,000
6 2 พฤษภาคม ค.ศ.2008 Cyclone Nargis, Myanmar 146,000
7 29 เมษายน ค.ศ.1991 Bangladesh Cyclone, Bangladesh 138,866
8 ค.ศ.1882 Bombay Cyclone, India 100,000
9 1 สิงหาคม ค.ศ.1922 Swatow Typhoon, China 60,000
10 5 ตุลาคม ค.ศ.1864 Calcutta Cyclone, India 60,000
สึนามิ
1 26 ธันวาคม ค.ศ.2004 Sri Lanka, India, Maldives, Malaysia, Somalia, Bangladesh, Thailand 230,210
2 28 ธันวาคม ค.ศ.1908 Messina, Italy 123,000
3 1 พฤศจิกายน ค.ศ.1755 Portugal, Spain, Morocco, Ireland, United Kingdom 100,000
4 26 พฤษภาคม ค.ศ.1883 Krakatoa, Indonesia 36,000
5 28 ตุลาคม ค.ศ.1707 Nankaido, Japan 30,000
6 ค.ศ.1826 Japan 27,000
7 13 สิงหาคม ค.ศ.1868 Arica, Chile 25,674
8 15 มิถุนายน ค.ศ.1896 Sanriku, Japan 22,070
9 11 มีนาคม ค.ศ.2011 Sendai, Japan 18,400
10 ค.ศ.1792 Kyūshū, Japan 15,030
ภูเขาไฟระเบิด
1 10 เมษายน ค.ศ.1815 Mount Tambora, Indonesia 92,000
2 26 พฤษภาคม ค.ศ.1883 Krakatoa, Indonesia 36,000
3 24 สิงหาคม ค.ศ.79 Mount Vesuvius, Italy 33,000
4 7 พฤษภาคม ค.ศ.1902 Mount Pelée, Martinique 29,000
5 13 พฤศจิกายน ค.ศ.1985 Nevado del Ruiz, Colombia 23,000
6 ค.ศ.1792 Mount Unzen, Japan 15,030
7 ค.ศ.1586 Mount Kelut, Indonesia 10,000
8 8 มิถุนายน ค.ศ.1783 Laki, Iceland 9,350
9 ค.ศ.1902 Santa Maria, Guatemala 6,000
10 19 พฤษภาคม ค.ศ.1919 Mount Kelut, Indonesia 5,115
คลื่นความร้อน (Heat wave)
1 มิถุนายน - สิงหาคม ค.ศ.2010 Russia 56,000
2 มิถุนายน - สิงหาคม ค.ศ.2003 France, Portugal, Netherlands, Spain, 40,000
Germany, Switzerland, United Kingdom
3 ค.ศ.1988 United States 5,000 - 10,000
4 ค.ศ.1980 United States 1,700
5 ค.ศ.2003 India 1,500
6 ค.ศ.1955 Los Angeles, United States 946
7 ค.ศ.1972 New York, United States 891
8 ค.ศ.1995 Chicago, United States 739
9 ค.ศ.1999 United States 502
10 ค.ศ.2009 Victoria, Australia 210
หิมะถล่ม
1 31 พฤษภาคม ค.ศ.1970 Huascarán, Peru 50,000
2 ค.ศ.1962 Huascarán, Peru 4,000
3 ค.ศ.1951 Alps, Austria-Switzerland 265
4 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2010 Salang, Afghanistan 172
5 20 กันยายน ค.ศ.2002 Kolka Glacier, Russia 125
6 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2010 Kohistan, Pakistan 102
7 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1910 Wellington, United States 96
8 29 เมษายน ค.ศ.1903 Rocky Mountains, Canada 90
9 4 มีนาคม ค.ศ.1910 Rogers Pass, Canada 62
10 18 มกราคม ค.ศ.1993 Bayburt Üzengili, Turkey 59
จากข้อมูลและสถิติดังกล่าว จึงพอจะทำให้เห็นได้ว่า การที่มนุษย์เร่งพัฒนาทางวัตถุจนหลงทำร้ายธรรมชาติอย่างไม่บันยะบันยัง จะส่งผลให้มนุษย์ในรุ่นต่อๆ ไปต้องตกเป็นผู้รับผลกรรมจากภัยธรรมชาติที่รุนแรงและถี่ขึ้นกว่าเดิม ซึ่งหากพวกเราที่เป็นมนุษย์ในรุ่นปัจจุบันยังไม่สนใจฟังเสียงสัญญาณเตือนจากธรรมชาติ ไม่เร่งหาหนทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ลดการเบียดเบียนธรรมชาติ และสร้างมาตรการป้องกันความเสียหายไว้ล่วงหน้า สักวันหนึ่งหากเกิดมหาพิบัติภัยธรรมชาติขึ้นในยุคลูกหลานของเรา มนุษยชาติก็อาจจะถึงกาลล่มสลายดั่งคำทำนายของหลายสำนักก็เป็นไปได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น