วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554

สัญญาณเตือน "มหาพิบัติภัยธรรมชาติ" กำลังดังถี่ขึ้นเรื่อยๆ

(จากเว็บพันทิพ ห้องหว้ากอ)

vote  ติดต่อทีมงาน

นับตั้งแต่ก้าวเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 21 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน เวลาผ่านไปเพียง 10 ปีเท่านั้น แต่ชาวโลกต้องอกสั่นขวัญแขวนจากภัยธรรมชาติครั้งใหญ่หลายต่อหลายครั้ง ที่ยังคงอยู่ในความทรงจำของทุกคนเป็นอย่างดีก็คือ เหตุการณ์สึนามิถล่มหลายประเทศรวมทั้งไทยเมื่อปลายปี ค.ศ.2004 พายุไซโคลนนาร์กีสถล่มพม่าเมื่อปี ค.ศ.2008 แผ่นดินไหวที่เมืองหลวงของเฮติเมื่อต้นปีที่แล้ว และล่าสุดเหตุการณ์แผ่นดินไหวพ่วงสึนามิถล่มเมืองเซ็นไดของประเทศญี่ปุ่น ก็กำลังสร้างความตื่นตระหนกให้กับพวกเราอยู่ในขณะนี้

แต่ความน่าวิตกยังไม่จบลงเพียงเท่านั้น เมื่อเราได้ศึกษาสถิติการเกิดภัยธรรมชาติครั้งใหญ่ของโลกแล้วพบว่า ตั้งแต่ปี ค.ศ.1950 จนถึงปัจจุบัน เป็นช่วงเวลาที่เกิดภัยธรรมชาติครั้งใหญ่มากครั้งที่สุด และมีแนวโน้มที่จะเกิดถี่ขึ้นเรื่อยๆ คล้ายกับเป็นการส่งสัญญาณเตือนให้มนุษยชาติได้เตรียมพร้อมรับมือกับ "มหาพิบัติภัยธรรมชาติ" ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต


60 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่ปี ค.ศ.1950 หรือหลังยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นช่วงเวลาที่โลกถูกทำร้ายโดยน้ำมือของมนุษย์มากที่สุด ทั้งการตัดไม้ทำลายป่า ปล่อยแก๊สเรือนกระจก ปล่อยของเสียลงแหล่งน้ำ ถลุงใช้ทรัพยากรทั้งบนดินและใต้ดินอย่างไม่บันยะบันยัง ทั้งหมดเป็นไปเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ และรองรับการเติบโตของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ในช่วงเวลานี้ความเจริญทางด้านวัตถุเกิดขึ้นอย่างก้าวกระโดด แต่ความเสื่อมโทรมของธรรมชาติก็เกิดขึ้นอย่างก้าวกระโดดด้วยเช่นกัน

ย้อนกลับไปในยุคที่มนุษย์เริ่มนำเครื่องจักรและถ่านหินมาใช้แทนแรงคน หรือที่เรียกกันว่า "ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม" เมื่อราวปี ค.ศ.1757 นับตั้งแต่นั้นอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกก็เริ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะช่วง 100 ปีหลังนี้ อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกมีค่าสูงขึ้นประมาณ 0.74 องศาเซลเซียส และมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change : IPCC) ในองค์การสหประชาชาติ ระบุว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกจะสูงขึ้น 1.1 - 6.4 องศาเซลเซียส ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 21 ซึ่งเรียกสถานการณ์นี้ว่า "ภาวะโลกร้อน"

IPCC ยังระบุอีกว่า การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ตั้งแต่ ค.ศ.1950) เกิดจากการเพิ่มปริมาณของแก๊สเรือนกระจกที่มาจากกิจกรรมของมนุษย์

"แก๊สเรือนกระจก" ประกอบไปด้วย ไอน้ำ (Water vapor) คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon dioxide) มีเทน (Methane) ไนตรัสออกไซด์ โอโซน (Nitrous oxide) และคลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon : CFC) แก๊สเหล่านี้จะลอยขึ้นไปปกคลุมอยู่เหนือพื้นผิวโลก แล้วกักความร้อนไม่ให้สะท้อนกลับออกไปนอกโลก จึงทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกสูงขึ้น

แก๊สเรือนกระจกเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติและเกิดขึ้นได้จากการทำกิจกรรมของมนุษย์ แต่นับจากปี ค.ศ.1950 เป็นต้นมา กิจกรรมภาคอุตสาหกรรมและคมนาคมของมนุษย์ได้กลายเป็นตัวการหลักในการปล่อยแก๊สเรือนกระจก โดยเฉพาะคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งถูกปล่อยขึ้นสู่บรรยากาศในอัตรา 1.5 ล้านล้านกิโลกรัมต่อปี เมื่อปี ค.ศ.1950 ได้เพิ่มเป็นกว่า 8 ล้านล้านกิโลกรัมต่อปี ในปัจจุบัน

แม้ในปี ค.ศ.1997 รัฐบาลทั่วโลกกว่า 160 ประเทศ จะได้ทำข้อตกลงร่วมกันในการลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก หรือที่เรียกว่า "พิธีสารเกียวโต" แต่ประเทศที่ปล่อยแก๊สเรือนกระจกมากที่สุดของโลกอย่างสหรัฐอเมริกากลับไม่ยอมร่วมลงนามในข้อตกลงนี้ โดยประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช อ้างว่าพิธีสารเกียวโตไม่ยุติธรรม และวิธีที่ใช้นั้นไม่ได้ผลในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลก


กราฟการเกิดภัยธรรมชาติครั้งใหญ่ของโลก
การทำร้ายธรรมชาติดังที่ได้กล่าวมา ล้วนส่งผลเชื่อมโยงมาถึงการเกิดภัยธรรมชาติ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ ภาวะโลกร้อนส่งผลให้ภูเขาน้ำแข็งที่บริเวณขั้วโลกละลายตัวลง และหนุนระดับน้ำทะเลให้สูงขึ้นทั่วโลก จนกลืนกินผืนแผ่นดินชายฝั่งทะเลของหลายๆ ประเทศไปเป็นจำนวนมาก รวมทั้งพื้นที่ชายทะเลของเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ที่ร่นเข้ามาจากเดิมเป็นระยะทางนับกิโลเมตร

ศูนย์ข้อมูลน้ำแข็งและหิมะแห่งชาติ (National Snow and Ice Data Center : NSIDC) มหาวิทยาลัยโคโรลาโด ร่วมกับนักวิทยาศาสตร์ของนาซาและมหาวิทยาลัยวอชิงตัน เผยผลการศึกษาว่า แผ่นน้ำแข็งที่อาร์กติก ขั้วโลกเหนือ กำลังละลายอย่างรวดเร็วในช่วงเวลา 4 ปีที่ผ่านมา เป็นผลทำให้แผ่นน้ำแข็งขนาดเกือบ 7 ล้านตารางกิโลเมตร หดตัวเหลือเพียง 5.32 ล้านตารางกิโลเมตร ลดลงไปถึง 1.3 ล้านตารางกิโลเมตร หรือขนาดประมาณ 2 เท่าของรัฐเท็กซัส ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงมาก และหากอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกจะสูงขึ้นไปอีก 6.4 องศาเซลเซียส ดังที่คาดการณ์กันไว้ น้ำแข็งที่ขั้วโลกก็จะละลายจนหมด เมื่อนั้นแม้แต่ประเทศไทยทั้งประเทศก็อาจจะต้องจมอยู่ใต้น้ำ

นอกจากนั้นภาวะโลกร้อนยังทำให้การหมุนเวียนของกระแสน้ำอุ่นในทะเลเปลี่ยนแปลงไป จนส่งผลให้สภาพภูมิอากาศแปรปรวน ในบางพื้นที่เกิดอากาศร้อนและแห้งแล้งอย่างหนัก ที่เรียกกันว่า "เอลนินโญ" (El Niño) แต่บางพื้นที่เกิดพายุฝนตกหนักจนน้ำท่วม ที่เรียกกันว่า "ลานินญา" (La Niña)

การตัดไม้ทำลายป่านอกจากจะเป็นการทำลายแหล่งต้นน้ำลำธารและที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าโดยตรงแล้ว ยังเป็นการทำลายแนวป้องกันลมพายุ แนวป้องกันน้ำป่า และทำลายแหล่งดูดซับมลพิษในทางอ้อมด้วย ส่วนการเร่งสูบทรัพยากรใต้ดินและใต้ทะเลขึ้นมาใช้อย่างฟุ่มเฟือยก็ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของชั้นหินและของเหลวใต้พื้นผิวโลก จนบางพื้นที่เกิดแผ่นดินทรุดตัว และเกิดแผ่นดินไหวขึ้นได้

พญ.พรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์ ส.ว.สรรหา ประธานคณะอนุกรรมาธิการศึกษาปัญหาสาธารณสุข วุฒิสภา เคยแสดงสถิติการเกิดภัยธรรมชาติของโลกในช่วง 30 ปี (ค.ศ.1970 - 2000) ไว้ว่า ทั่วโลกได้เกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรงและมีความถี่เพิ่มขึ้น เช่น ในระหว่างปี ค.ศ.1970 - 1979 มีการเกิดพายุครั้งรุนแรงทั้งหมด 121 ครั้ง ไฟป่าครั้งรุนแรง 11 ครั้ง ดินถล่มครั้งรุนแรง 34 ครั้ง สึนามิครั้งรุนแรง 2 ครั้ง และคลื่นความร้อนครั้งรุนแรง 9 ครั้ง แต่ในระหว่างปี ค.ศ.1989 - 2000 การเกิดพายุครั้งรุนแรงได้เพิ่มขึ้นเป็น 300 ครั้ง ไฟป่า 54 ครั้ง ดินถล่ม 114 ครั้ง สึนามิ 12 ครั้ง และคลื่นความร้อน 70 ครั้ง


20 อันดับการเกิดภัยธรรมชาติที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด (ตารางที่ 1)

อันดับ ประเภท         วันที่เกิด                                            สถานที่เกิด                 ผู้เสียชีวิต (ประมาณ)

1     อุทกภัย      กรกฎาคม - พฤศจิกายน ค.ศ.1931    Yellow River, China         2,500,000 - 3,700,000
2     อุทกภัย      กันยายน ค.ศ.1887                             Yellow River, China           900,000 - 2,000,000
3     แผ่นดินไหว      23 มกราคม ค.ศ.1556                  Shaanxi, China                   830,000
4     แผ่นดินไหว      28 กรกฎาคม ค.ศ.1976                Tangshan, China                655,000
5     อุทกภัย      มิถุนายน ค.ศ.1938                             Yellow River, China           500,000 - 700,000
6     พายุหมุน   13 พฤศจิกายน ค.ศ.1970      Bhola Cyclone, East Pakistan (Bangladesh) 500,000
7     พายุหมุน   25 พฤศจิกายน ค.ศ.1839                    Indian Cyclone, India                    300,000
8     พายุหมุน   7 ตุลาคม ค.ศ.1737                            Calcutta Cyclone, India                  300,000
9     แผ่นดินไหว พฤษภาคม ค.ศ.526           Antioch, Byzantine Empire (Turkey)             250,000
10   แผ่นดินไหว 16 ธันวาคม ค.ศ.1920                      Haiyuan, China                              235,502
11   อุทกภัย     สิงหาคม ค.ศ.1975                             Banqiao Dam, China                      231,000
12   สึนามิ        26 ธันวาคม ค.ศ.2004                        Sumatra, Indonesia                         230,210
13   แผ่นดินไหว 11 ตุลาคม ค.ศ.1138                       Aleppo, Syria                                 230,000
14   แผ่นดินไหว 12 มกราคม ค.ศ.2010                      Port au Prince, Haiti                       222,570
15   พายุหมุน   7 สิงหาคม ค.ศ.1975                          Super Typhoon Nina, China           210,000
16   แผ่นดินไหว 22 ธันวาคม ค.ศ.856                        Damghan, Iran                               200,000
17   พายุหมุน   30 ตุลาคม ค.ศ.1876              Great Backerganj Cyclone, Bangladesh      200,000
18   แผ่นดินไหว 23 มีนาคม ค.ศ.893                          Ardabil, Iran                                  150,000
19   พายุหมุน   2 พฤษภาคม ค.ศ.2008                      Cyclone Nargis, Myanmar              146,000
20   อุทกภัย     ค.ศ.1935                                            Yangtze River, China                      145,000


และเมื่อดูจาก ตาราง 20 อันดับการเกิดภัยธรรมชาติที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด (ตารางที่ 1) จะพบว่า เพียงชั่วเวลาหนึ่งช่วงชีวิตคน นับจาก ค.ศ.1950 จนถึงปัจจุบัน เป็นช่วงเวลาที่เกิดภัยธรรมชาติครั้งรุนแรงจำนวนมากครั้งที่สุดในประวัติศาสตร์ คือ 7 ครั้ง (ครั้งที่เป็นตัวหนังสือสีส้ม) จากทั้งหมด 20 ครั้ง หรือคิดเป็นร้อยละ 35

หรือหากจะดูจาก ตารางอันดับการเกิดภัยธรรมชาติที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด แยกประเภทภัยธรรมชาติ (ตารางที่ 2) ก็จะพบว่า ภัยธรรมชาติครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ทั้งหมด 70 ครั้ง เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ.1950 จนถึงปัจจุบัน จำนวนมากถึง 30 ครั้ง หรือคิดเป็นร้อยละ 42.85


อันดับการเกิดภัยธรรมชาติที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด แยกประเภทภัยธรรมชาติ (ตารางที่ 2)

อันดับ     วันที่เกิด                                     สถานที่เกิด                            ผู้เสียชีวิต (ประมาณ)

อุทกภัย (น้ำท่วม)
1     กรกฎาคม - พฤศจิกายน ค.ศ.1931    Yellow River, China                2,500,000 - 3,700,000
2    กันยายน ค.ศ.1887                             Yellow River, China                   900,000 - 2,000,000
3    มิถุนายน ค.ศ.1938                             Yellow River, China                   500,000 - 700,000
4    สิงหาคม ค.ศ.1975                             Banqiao Dam, China                  231,000
5    ค.ศ.1935                                            Yangtze River, China                 145,000
6    5 พฤศจิกายน ค.ศ.1530                      Flanders, Netherlands               100,000
7    ค.ศ.1971                                            Hanoi, Vietnam                          100,000
8    ค.ศ.1911                                            Yangtze River, China                 100,000
9    14 ธันวาคม ค.ศ.1287                         Friesland, Netherlands                50,000 - 80,000
10  31 มกราคม ค.ศ.1953                         Netherlands, England, Belgium   2,400

แผ่นดินไหว
1    23 มกราคม ค.ศ.1556                         Shaanxi, China                          830,000
2    28 กรกฎาคม ค.ศ.1976                       Tangshan, China                       655,000
3    พฤษภาคม ค.ศ.526                  Antioch, Byzantine Empire (Turkey)    250,000
4   16 ธันวาคม ค.ศ.1920                         Haiyuan, China                          235,502
5   26 ธันวาคม ค.ศ.2004                         Sumatra, Indonesia                    230,210
6   11 ตุลาคม ค.ศ.1138                          Aleppo, Syria                             230,000
7   12 มกราคม ค.ศ.2010                         Port au Prince, Haiti                   222,570
8   22 ธันวาคม ค.ศ.856                           Damghan, Iran                           200,000
9   23 มีนาคม ค.ศ.893                             Ardabil, Iran                             150,000
10 1 กันยายน ค.ศ.1923                           Kanto, Japan                             142,000

วาตภัย (พายุ)
1   13 พฤศจิกายน ค.ศ.1970             Bhola Cyclone, East Pakistan (Bangladesh) 500,000
2   25 พฤศจิกายน ค.ศ.1839                    Indian Cyclone, India                 300,000
3   7 ตุลาคม ค.ศ.1737                            Calcutta Cyclone, India               300,000
4   7 สิงหาคม ค.ศ.1975                          Super Typhoon Nina, China        210,000
5   30 ตุลาคม ค.ศ.1876                Great Backerganj Cyclone, Bangladesh 200,000
6   2 พฤษภาคม ค.ศ.2008                      Cyclone Nargis, Myanmar           146,000
7   29 เมษายน ค.ศ.1991                        Bangladesh Cyclone, Bangladesh 138,866
8   ค.ศ.1882                                            Bombay Cyclone, India               100,000
9   1 สิงหาคม ค.ศ.1922                          Swatow Typhoon, China             60,000
10 5 ตุลาคม ค.ศ.1864                            Calcutta Cyclone, India               60,000

สึนามิ
1   26 ธันวาคม ค.ศ.2004 Sri Lanka, India, Maldives, Malaysia, Somalia, Bangladesh, Thailand 230,210
2   28 ธันวาคม ค.ศ.1908                        Messina, Italy                              123,000
3   1 พฤศจิกายน ค.ศ.1755  Portugal, Spain, Morocco, Ireland, United Kingdom 100,000
4   26 พฤษภาคม ค.ศ.1883                    Krakatoa, Indonesia                    36,000
5   28 ตุลาคม ค.ศ.1707                         Nankaido, Japan                          30,000
6   ค.ศ.1826                                           Japan                                           27,000
7   13 สิงหาคม ค.ศ.1868                       Arica, Chile                                  25,674
8   15 มิถุนายน ค.ศ.1896                       Sanriku, Japan                              22,070
9   11 มีนาคม ค.ศ.2011                         Sendai, Japan                               18,400
10 ค.ศ.1792                                           Kyūshū, Japan                              15,030

ภูเขาไฟระเบิด
1    10 เมษายน ค.ศ.1815                      Mount Tambora, Indonesia            92,000
2    26 พฤษภาคม ค.ศ.1883                  Krakatoa, Indonesia                      36,000
3    24 สิงหาคม ค.ศ.79                         Mount Vesuvius, Italy                     33,000
4    7 พฤษภาคม ค.ศ.1902                    Mount Pelée, Martinique                29,000
5    13 พฤศจิกายน ค.ศ.1985                Nevado del Ruiz, Colombia            23,000
6    ค.ศ.1792                                         Mount Unzen, Japan                      15,030
7    ค.ศ.1586                                         Mount Kelut, Indonesia                  10,000
8    8 มิถุนายน ค.ศ.1783                       Laki, Iceland                                  9,350
9    ค.ศ.1902                                         Santa Maria, Guatemala                 6,000
10 19 พฤษภาคม ค.ศ.1919                  Mount Kelut, Indonesia                  5,115

คลื่นความร้อน (Heat wave)
1   มิถุนายน - สิงหาคม ค.ศ.2010         Russia                                            56,000
2   มิถุนายน - สิงหาคม ค.ศ.2003    France, Portugal, Netherlands, Spain,  40,000
                                                      Germany, Switzerland, United Kingdom
3   ค.ศ.1988                                         United States                                  5,000 - 10,000
4   ค.ศ.1980                                         United States                                  1,700
5   ค.ศ.2003                                         India                                               1,500
6   ค.ศ.1955                                         Los Angeles, United States              946
7   ค.ศ.1972                                         New York, United States                891
8   ค.ศ.1995                                         Chicago, United States                    739
9   ค.ศ.1999                                         United States                                   502
10 ค.ศ.2009                                         Victoria, Australia                            210

หิมะถล่ม
1   31 พฤษภาคม ค.ศ.1970                  Huascarán, Peru                              50,000
2   ค.ศ.1962                                         Huascarán, Peru                               4,000
3   ค.ศ.1951                                         Alps, Austria-Switzerland                 265
4   9 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2010                     Salang, Afghanistan                         172
5   20 กันยายน ค.ศ.2002                      Kolka Glacier, Russia                      125
6   17 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2010                   Kohistan, Pakistan                           102
7   กุมภาพันธ์ ค.ศ.1910                       Wellington, United States                  96
8   29 เมษายน ค.ศ.1903                      Rocky Mountains, Canada               90
9   4 มีนาคม ค.ศ.1910                          Rogers Pass, Canada                       62
10 18 มกราคม ค.ศ.1993                      Bayburt Üzengili, Turkey                  59


จากข้อมูลและสถิติดังกล่าว จึงพอจะทำให้เห็นได้ว่า การที่มนุษย์เร่งพัฒนาทางวัตถุจนหลงทำร้ายธรรมชาติอย่างไม่บันยะบันยัง จะส่งผลให้มนุษย์ในรุ่นต่อๆ ไปต้องตกเป็นผู้รับผลกรรมจากภัยธรรมชาติที่รุนแรงและถี่ขึ้นกว่าเดิม ซึ่งหากพวกเราที่เป็นมนุษย์ในรุ่นปัจจุบันยังไม่สนใจฟังเสียงสัญญาณเตือนจากธรรมชาติ ไม่เร่งหาหนทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ลดการเบียดเบียนธรรมชาติ และสร้างมาตรการป้องกันความเสียหายไว้ล่วงหน้า สักวันหนึ่งหากเกิดมหาพิบัติภัยธรรมชาติขึ้นในยุคลูกหลานของเรา มนุษยชาติก็อาจจะถึงกาลล่มสลายดั่งคำทำนายของหลายสำนักก็เป็นไปได้

วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2554

ชีวิตพระเยซูคริสต์ : เปรียบเทียบบุคคล 2 ประเภท ก่อนพระเยซูคริสต์ถือกำเนิด

       หลังจากคิดใคร่ครวญดูแล้ว ก็คิดว่าจะแบ่งปันความประทับใจจากชีวิตของพระเยซู มาดูจากพระคัมภีร์ว่าพระองค์พบใคร ปฏิบัติต่อผู้คนอย่างไร น่าประทับใจสิ่งใดบ้าง และการขอให้สิ่งนั้นเข้ามากลายเป็นชีวิตของเราทั้งหลาย จุดประสงค์ของการแบ่งปันพระธรรมตอนนี้เพื่อเราทั้งหลายจะเป็นเหมือนอย่างพระเยซูมากขึ้นๆ

จะขอสำรวจจากพระธรรมลูกา ซึ่งมีเบื้องหลังดังนี้

ใจความสำคัญ


ลูกาเปิดฉากและจบลงในเยรูซาเล็มและเรื่องที่รู้จักกันทั่วไป ส่วนใหญ่เกิดขึ้นขณะพระเยซูเสด็จจากกาลิลีไปเยรูซาเล็มเป็นครั้งสุดท้ายส่วนกิจการเริ่มที่เยรูซาเล็มและจบลงที่โรม ซึ่งทำให้เห็นถึงใจความสำคัญของลูกาเด่นชัดคือพระเยซูมาปรากฎกับชาวยิวเป็นพวกแรก ซึ่งเป็นทายาทที่จะได้รับความรอดตามพระสัญญาแต่ชาวยิวปฏิเสธพระองค์ ความรอดจึงแพร่ไปทั่วโลก

เล่มนี้ได้บันทึกเรื่องพระเยซูสมบูรณ์ที่สุด ทั้งยังมีใจความสำคัญอื่น ๆ ด้วย เช่น ความรอดมีไว้สำหรับคนที่ทุกข์ใจคนเจ็บป่วย คนที่ถูกสังคมทอดทิ้ง คนที่หลงเจิ่น พระเยซูเป็นคนกันเองกับคนทุกประเภท และเป็นนักอธิษฐานที่เปี่ยมด้วยพระวิญญาณ

ลูกากล่าวถึงหลายเรื่องที่เล่มอื่นไม่ได้บันทึกเช่น บุตรน้อยหลงหาย คนสะมาเรียใจดี ฟาริสีกับคนเก็บภาษี ศักเคียส…

ผู้เขียนและวัตถุประสงค์


ตั้งแต่สมัยคริสตจักรยุคแรก เขาเป็นหมอชาวต่างชาติที่ร่วมเดินทางประกาศกับเปาโล เล่มนี้เขียนถึงเธโอฟีลัส (1:1) กิจการจบที่เปาโลถูกจำคุกที่โรม บางคนคิดว่าลูกาเขียนสองเล่มนี้เพื่อแก้คดีให้เปาโล จึงน่าจะเป็น ค.ศ. 64 แต่เราไม่รู้แน่ชัดอาจราว ค.ศ. 60-85  

แท้จริงลูกากับกิจการเป็นสองภาคของเล่มเดียวกัน  ลูกาบันทึก ‘ ความจริงทั้งหมด เกี่ยวกับชีวิตพระเยซู  และเหตุการณ์ที่ตามมาโดยสัมภาษณ์สักขีพยาน  เขียนขึ้นเพื่อผู้อ่านที่มิใช่ยิวโดยเฉพาะ

ความประทับใจเรื่องราวก่อนพระเยซูถือกำเนิด

       จากลูกาบทที่ 1 ได้พบเรื่องราวของมารดาบุคคล 2 คน คือ เอลีซาเบธ มารดาของยอห์น บัพติศโต และมารีย์ มารดาของพระเยซู ทั้งสองคนนั้นเป็นญาติกัน ลูกา 1:36  แต่สิ่งที่แตกต่างกัน คือ การตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนเองนั้นไม่เหมือนกัน

  • ทูตสวรรค์มาแจ้งข่าวเหมือนกัน

ปรากฏแก่เศคาริยาห์
1:11 ทูตสวรรค์องค์หนึ่งขององค์พระผู้เป็นเจ้ามาปรากฏแก่เศคาริยาห์ ยืนอยู่ที่ข้างขวาแท่นเผาเครื่องหอมบูชา

1:12 เมื่อเศคาริยาห์เห็นก็ตกใจกลัว

1:13 แต่ทูตสวรรค์องค์นั้นกล่าวแก่ท่านว่า "เศคาริยาห์เอ๋ย อย่ากลัวเลย ด้วยได้ทรงฟังคำอธิษฐานของท่านแล้ว นางเอลีซาเบธภรรยาของท่านจะมีบุตรเป็นผู้ชาย และท่านจะตั้งชื่อบุตรนั้นว่า ยอห์น


ปรากฏแก่มารีย์
1:26 เมื่อถึงเดือนที่หก พระเจ้าทรงใช้ทูตสวรรค์กาเบรียลนั้น ให้มายังเมืองหนึ่งในแคว้นกาลิลี ชื่อนาซาเร็ธ

1:27 มาถึงหญิงพรหมจารีคนหนึ่งที่ได้หมั้นกันไว้กับชายคนหนึ่งชื่อโยเซฟ เป็นคนในวงศ์วานดาวิด หญิงพรหมจารีนั้นชื่อมารีย์

1:28 ทูตสวรรค์มาถึงหญิงพรหมจารีนั้นแล้วว่า "เธอผู้ซึ่งเป็นที่ทรงโปรดปรานมาก จงจำเริญเถิด องค์พระผู้เป็นเจ้าทรงสถิตอยู่กับเธอ เธอได้รับพระพรท่ามกลางสตรีทั้งปวง"

  • คนหนึ่งเป็นหมันและอายุมากแล้ว อีกคนหนึ่งยังไม่ได้แต่งงาน
นางเอลีซาเบธ
1:5 ในรัชกาลเฮโรด กษัตริย์ของยูเดีย มีปุโรหิตคนหนึ่งชื่อเศคาริยาห์ อยู่ในเวรอาบียาห์ ภรรยาของเศคาริยาห์ชื่อเอลีซาเบธ อยู่ในตระกูลอาโรน

1:6 เขาทั้งสองเป็นคนชอบธรรมจำเพาะพระพักตร์พระเจ้า และดำเนินตามพระบัญญัติและกฎทั้งปวงขององค์พระผู้เป็นเจ้าไม่มีที่ติเลย

1:7 แต่เขาไม่มีบุตร เพราะว่านางเอลีซาเบธเป็นหมัน และเขาทั้งสองก็ชราแล้ว

มารีย์
1:34 ฝ่ายมารีย์ทูลทูตสวรรค์นั้นว่า "เหตุการณ์นั้นจะเป็นไปอย่างไรได้ เพราะข้าพเจ้ายังหาได้ร่วมกับชายใดไม่"

  • เมื่อพระดำรัสของพระเจ้ามาถึงฝ่ายหนึ่งสงสัย อีกฝ่ายหนึ่งเชื่อ
เศคารียาห์
1:18 เศคาริยาห์จึงทูลทูตสวรรค์ว่า "ข้าพเจ้าจะรู้แน่ได้อย่างไร เพราะข้าพเจ้าก็ชราและภรรยาก็อายุมากแล้ว"

1:19 ฝ่ายทูตสวรรค์นั้นจึงตอบท่านว่า "เราคือกาเบรียลซึ่งยืนอยู่เฉพาะพระพักตร์พระเจ้า และทรงใช้ให้มาพูดและนำข่าวดีนี้มาแจ้งกับท่าน

1:20 ดูเถิด เพราะท่านมิได้เชื่อถ้อยคำของเรา ถึงเรื่องที่จะสำเร็จตามกำหนด ท่านก็จะเป็นใบ้ แล้วไม่สามารถพูดได้ จนถึงวันที่การณ์เหล่านี้จะบังเกิดขึ้น"

       พระประสงค์ของพระเจ้าที่จะให้มีผู้นำหน้าพระเยซูคือยอห์นไม่เปลี่ยนแปลง "เรื่องที่จะสำเร็จตามกำหนด"  แม้ผู้ที่พระเจ้านำข่าวมาแจ้งจะไม่เืชื่อ  สิ่งที่เป็นบทเรียนสอนเขาเพราะเขาไม่เชื่อ คือ อาการทางฝ่ายกายภาพเป็นใบ้

       เมื่อพระเจ้าต้องการทำสิ่งใดกับเรา สิ่งที่เราควรตอบสนองคือรับไว้ด้วยความเชื่อ

มารีย์
1:30 แล้วทูตสวรรค์จึงกล่าวแก่เธอว่า "มารีย์เอ๋ย อย่ากลัวเลย เพราะเธอเป็นที่พระเจ้าทรงโปรดปรานแล้ว

1:31 ดูเถิด เธอจะตั้งครรภ์และคลอดบุตรชายคนหนึ่ง จงตั้งชื่อบุตรนั้นว่า เยซู

1:38 ส่วนมารีย์จึงทูลว่า "ดูเถิด ข้าพเจ้าเป็นหญิงคนใช้ขององค์พระผู้เป็นเจ้า ขอให้บังเกิดแก่ข้าพเจ้าตามคำของท่านเถิด" แล้วทูตสวรรค์นั้นจึงจากเธอไป

     เราควรตอบสนองเหมือนมารีย์ "ข้าพเจ้าพร้อมที่จะเป็นไปตามคำของท่าน" (ฉบับ1971)  กุญแจสำคัญในชีวิตคริสเตียนของเรา คือ เชื่อ

  • เมื่อมารีย์มาหาเอลีซาเบธ เอลีซาเบธรู้ได้อย่างไรว่าเป็นมารดาขององค์พระผู้เป็นเจ้า
1:43 เป็นไฉนข้าพเจ้าจึงได้ความโปรดปรานเช่นนี้ คือมารดาขององค์พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้าได้มาหาข้าพเจ้า

  • รู้โดยเดชพระวิญญาณบริสุทธิ์
1:41 ต่อมาเมื่อนางเอลีซาเบธได้ยินคำปราศรัยของมารีย์ ทารกในครรภ์ของเขาก็ดิ้น และนางเอลีซาเบธก็ประกอบไปด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์

  • เศคาริยาห์ก็เช่นกัน ประกอบด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์และพยากรณ์
1:67 ฝ่ายเศคาริยาห์ผู้เป็นบิดาประกอบไปด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์แล้วได้พยากรณ์ว่า


     ชีวิตของเราทั้งหลายก็เช่นกัน ต้องประกอบด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์


  • ชีวิตพระเยซูก็เจริญขึ้นทั้งฝ่ายกายภาพและฝ่ายวิญญาณจิต  ในขณะที่มีเวลาที่พระองค์จะปรากฏตัวเพื่อทำพระราชกิจ
1:80 ฝ่ายทารกนั้นก็ได้เจริญวัยขึ้น และจิตวิญญาณก็มีกำลังทวีขึ้น และไปอาศัยในถิ่นทุรกันดารจนถึงวันที่ท่านจะได้มาปรากฏแก่ชนชาติอิสราเอล


     ขอพระเจ้าอวยพระพรท่านทั้งหลายด้วยเช่นกันครับ ให้ร่างกายฝ่ายกายภาพแข็งแรงพร้อมไปกับฝ่ายจิตวิญญาณเจริญเติบโตขึ้น

     ครั้งหน้าจะมาดูต่อด้วยชีวิตพระเยซู และท่านสามารถไปอ่านเรื่องราวพระราชกิจของพระเยซูคริสต์ในปัจจุบันที่ผมประสบมาได้ที่นี่ ppmission.blogspot.com





วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2554

โลกอนาคต : ทรัพยากรธรรมชาติ

 ุ     ครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายที่กล่าวถึงโลกของเราในอนาคตด้านทรัพยากรธรรมชาติครับ เราได้ดูเรื่องราวต่างๆที่จะเกิดขึ้น ผมได้รวบรวมเอาไว้ในหน้าเว็บเรื่อง  โลกอนาคต  พี่น้องสามารถกลับไปดูได้ครับว่ามีเรื่องอะไรบ้าง  สำหรับในคริสตจักรของเรา คาดว่าในเดือนหน้าจะมีบอร์ดนิทรรศการเกี่ยวกับเรื่องโลกอนาคตครับ จุดประสงค์เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้รู้ว่าจะมีสิ่งใดเกิดขึ้นกับโลกของเราบ้าง ท่านจะได้รับองค์ความรู้เหมือนกับที่ได้อ่านในเว็บบล็อกนี้ และเราสามารถเอาองค์ความรู้เหล่านี้ไปกล่าวเตือนใจคนทั่วไปให้ได้รับทราบเช่นกัน เพื่อคนที่รับรู้ข่าวสารนี้จะได้เตรียมตนเองไว้สำหรับอนาคต ไม่ตระหนกตกใจ อีกทั้งเรายังสามารถใช้โอกาสนี้นำเขาเหล่านั้นมาถึงความรอดในองค์พระคริสต์ได้ด้วย ซึ่งเรื่องราวต่างๆที่กำลังจะเกิดขึ้นนั้นได้มีกล่าวถึงไว้ในพระคัมภีร์ เมื่อสองวันก่อนผมได้ไปประชุมกับพี่น้องในภาคกลางและการแบ่งปันพระคัมภีร์ตอนหนึ่งของพี่น้องได้กล่าวถึงวิวรณ์บทที่ 6 ซึ่งเป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นกับแผ่นดินโลกนี้ เช่น

ในวิวรณ์ 6:4 และมีม้าอีกตัวหนึ่งออกไปเป็นม้าสีแดงสด ผู้ที่ขี่ม้าตัวนี้ได้รับอนุญาตให้นำสันติสุขไปจากแผ่นดินโลก เพื่อให้คนทั้งปวงรบราฆ่าฟันกัน และผู้นี้ได้รับดาบใหญ่เล่มหนึ่ง
  • กล่าวถึงการต่อสู้กัน การรบราฆ่าฟันกัน  สิ่งนี้ก็จะนำไปสู่ความอดอยาก ข้าวยากหมากแพง  น้ำ อาหาร มีปัญหา เศรษฐกิจโลก มีปัญหา
วิวรณ์ 6:6  แล้วข้าพเจ้าก็ได้ยินเสียงออกมาจากท่ามกลางสิ่งที่มีชีวิตอยู่ทั้งสี่นั้นว่า "ข้าวสาลีราคาทะนานละหนึ่งเดนาริอัน ข้าวบารลีสามทะนานต่อหนึ่งเดนาริอัน และเจ้าอย่าทำอันตรายแก่น้ำมันและน้ำองุ่น"
  • สิ่งนี้ก็บอกถึงอาหารราคาแพง
วิวรณ์ 6:8  แล้วข้าพเจ้าก็แลเห็น และดูเถิด มีม้าสีกะเลียวตัวหนึ่ง ผู้ที่นั่งบนหลังม้านั้นมีชื่อว่าความตาย และนรกก็ติดตามเขามาด้วย และได้ให้ทั้งสองนี้มีอำนาจล้างผลาญแผ่นดินโลกได้หนึ่งในสี่ส่วน ด้วยดาบ ด้วยความอดอยาก ด้วยความตาย และด้วยสัตว์ร้ายแห่งแผ่นดิน
  • พูดถึงความอดอยาก และโรคระบาด(พระคัมภีร์ฉบับ1971)
ดังนั้นในอนาคตเราคงต้องเตรียมตัวไว้ ไม่ตระหนก อธิษฐานและรู้ว่าพระวจนะกล่าวไ้ว้อย่างไร ยึดแนวทางในพระวจนะไว้ให้มั่น

สำหรับครั้งสุดท้ายนี้เราจะมาดูข้อเขียนวิชาการต่างๆที่เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ


ทรัพยากรธรรมชาติ
  
                                                                        ทรัพยากรดิน
ดินเป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เกิดจากการสลายตัวผุพังของหินชนิดต่าง ๆ โดยใช้เวลาที่นานมาก หินที่สลายตัวผุกร่อนนี้จะมีขนาดต่าง ๆ กัน เมื่อผสมรวมกับซากพืช ซากสัตว์ น้ำ อากาศ ก็กลายเป็นเนื้อดินซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้จะมากน้อยแตกต่างกันไปตามชนิดของดิน


ประโยชน์ของดิน





ดินมีประโยชน์มากมายมหาศาลต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ คือ
1. ประโยชน์ต่อการเกษตรกรรม เพราะดินเป็นต้นกำเนิดของการเกษตรกรรมเป็นแหล่งผลิตอาหารของมนุษย์ ในดินจะมีอินทรียวัตถุและธาตุอาหารรวมทั้งน้ำที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช อาหารที่คนเราบริโภคในทุกวันนี้มาจากการเกษตรกรรมถึง 90%
2. การเลี้ยงสัตว์ ดินเป็นแหล่งอาหารสัตว์ทั้งพวกพืชและหญ้าที่ขึ้นอยู่ ตลอดจนเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์บางชนิด เช่น งู แมลง นาก ฯล
3. เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย แผ่นดินเป็นที่ตั้งของเมือง บ้านเรือน ทำให้เกิดวัฒนธรรมและอารยธรรมของชุมชนต่าง ๆ มากมาย
4. เป็นแหล่งเก็บกักน้ำ เนื้อดินจะมีส่วนประกอบสำคัญ ๆ คือ ส่วนที่เป็นของแข็ง ได้แก่ กรวด ทราย ตะกอน และส่วนที่เป็นของเหลว คือ น้ำซึ่งอยู่ในรูปของความชื้นในดินซึ่งถ้ามีอยู่มาก ๆ ก็จะกลายเป็นน้ำซึมอยู่คือน้ำใต้ดิน น้ำเหล่านี้จะค่อย ๆ ซึมลงที่ต่ำ เช่น แม่น้ำลำคลองทำให้เรามีน้ำใช้ได้ตลอดปี


ชนิดของดิน
อนุภาคของดินจะรวมตัวกันเข้าเกิดเป็นเม็ดดิน อนุภาคเหล่านี้จะมีขนาดไม่เท่ากัน ขนาดเล็กที่สุดคืออนุภาคดินเหนียว อนุภาคขนาดกลางเรียกอนุภาคทรายแป้ง อนุภาคขนาดใหญ่เรียกว่า อนุภาคทรายเนื้อดิน จะมีอนุภาคทั้ง 3 กลุ่มนี้ผสมกันอยู่ในสัดส่วนที่ไม่เท่ากันทำให้เกิดลักษณะของดิน 3 ชนิดใหญ่ ๆ คือ ดินเหนียว ดินทราย และดินร่วน


1. ดินเหนียว เป็นดินที่เมื่อเปียกแล้วมีความยืดหยุ่น อาจปั้นเป็นก้อนหรือคลึงเป็นเส้นยาวได้เหนียวเหนอะหนะติดมือ เป็นดินที่มีการระบายน้ำและอากาศไม่ดี มีความสามารถในการอุ้มน้ำได้ดี มีความสามารถในการจับยึดและแลกเปลี่ยนธาตุอาหารพืชได้สูง หรือค่อนข้างสูง เป็นดินที่มีก้อนเนื้อละเอียด เพราะมีปริมาณอนุภาคดินเหนียวอยู่มาก เหมาะที่จะใช้ทำนาปลูกข้าวเพราะเก็บน้ำได้นาน
2. ดินทราย เป็นดินที่มีการระบายน้ำและอากาศดีมาก มีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เพราะความสามารถในการจับยึดธาตุอาหารพืชมีน้อย พืชที่ชั้นบนดินทรายจึงมักขาดทั้งอาหารและน้ำเป็นดินที่มีเนื้อดินทรายเพราะมีปริมาณอนุภาคทรายมาก
3. ดินร่วน เป็นดินที่มีเนื้อดินค่อนข้างละเอียดนุ่มมือ ยืดหยุ่นได้บ้าง มีการระบายน้ำได้ดีปานกลาง จัดเป็นเนื้อดินที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกในธรรมชาติมักไม่ค่อยพบ แต่จะพบดินที่มีเนื้อดินใกล้เคียงกันมากกว่า





 
ปัญหาทรัพยากรดิน





ดินส่วนใหญ่ถูกทำลายให้สูญเสียความอุดมสมบูรณ์ หรือตัวเนื้อดินไปเนื่องจากการกระทำของมนุษย์ และการสูญเสียตามธรรมชาติทำให้เราไม่อาจใช้ประโยชน์จากดินได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 


การสูญเสียดินเกิดได้จาก
1. การกัดเซาะและพังทลายโดยน้ำ น้ำจำนวนมากที่กระทบผิวดินโดยตรงจะกัดเซาะผิวดิน ให้หลุดลอยไปตามน้ำ การสูญเสียบริเวณผิวดินจะเป็นพื้นที่กว้าง หรือถูกกัดเซาะเป็นร่องเล็ก ๆ ก็ขึ้นอยู่กับความแรง และบริเวณของน้ำที่ไหลบ่าลงมาก
2. การตัดไม้ทำลายป่า การเผาป่า ถางป่าทำให้หน้าดินเปิด และถูกชะล้างได้ง่ายโดยน้ำและลมเมื่อฝนตกลงมา น้ำก็ชะล้างเอาหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ไปกับน้ำ ทำให้ดินมีคุณภาพเสื่อมลง

                                                                     ทรัพยากรน้ำ
                                


       โลกของเราประกอบขึ้นด้วยพื้นดินและพื้นน้ำ โดยส่วนที่เป็นฝืนน้ำนั้น มีอยู่ประมาณ ส่วน (75%) และเป็นพื้นดิน ส่วน (25%) น้ำมีความสำคัญอย่างยิ่งกับชีวิตของพืชและสัตว์บนโลกรวมทั้งมนุษย์เราด้วย น้ำเป็นทรัพยากรที่สามารถเกิดหมุนเวียนได้เรื่อย ๆ ไม่มีวันหมดสิ้น เมื่อแสงแดดส่องมาบนพื้นโลก น้ำจากทะเลและมหาสมุทรก็จะระเหยเป็นไอน้ำลอยขึ้นสู่เบื้องบนเนื่องจากไอน้ำมีความเบากว่าอากาศ เมื่อไอน้ำลอยสู่เบื้องบนแล้ว จะได้รับความเย็นและกลั่นตัวกลายเป็นละอองน้ำเล็ก ๆ ลอยจับตัวกันเป็นกลุ่มเฆม เมื่อจับตัวกันมากขึ้นและกระทบความเย็นก็จะกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำตกลงสู่พื้นโลก น้ำบนพื้นโลกจะระเหยกลายเป็นไอน้ำอีกเมื่อได้รับความร้อนจากดวงทิตย์ ไอน้ำจะรวมตัวกันเป็นเมฆและกลั่นตัวเป็นหยดน้ำกระบวนการเช่นนี้ เกิดขึ้นเป็นวัฏจักรหมุนเวียนต่อเนื่องกันตลอดเวลา เรียกว่า วัฏจักรน้ำทำให้มีน้ำเกิดขึ้นบนผิวโลกอยู่
สม่ำเสมอ


ประโยชน์ของน้ำ


น้ำเป็นแหล่งกำเนิดชีวิตของสัตว์และพืชคนเรามีชีวิตอยู่โดยขาดน้ำได้ไม่เกิน 3 วัน และน้ำยังมีความจำเป็นทั้งในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศ ประโยชน์ของน้ำ ได้แก่
1    
น้ำเป็นสิ่งจำเป็นที่เราใช้สำหรับการดื่มกิน การประกอบอาหาร ชำระร่างกาย ฯลฯ

2   น้ำมีความจำเป็นสำหรับการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์ แหล่งน้ำเป็นที่อยู่อาศัยของปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ ซึ่งคนเราใช้เป็นอาหาร
 3    ในการอุตสาหกรรม ต้องใช้น้ำในขบวนการผลิตใช้ล้างของเสียใช้หล่อเครื่องจักรและระบายความร้อน ฯลฯ 
4   การทำนาเกลือโดยการระเหยน้ำเค็มจากทะเล 
5   น้ำเป็นแหล่งพลังงาน พลังงานจากน้ำใช้ทำระหัด ทำเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าได้
 6   แม่น้ำ ลำคลอง ทะเล มหาสมุทร เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งที่สำคัญ 
7    ทัศนียภาพของริมฝั่งทะเลและน้ำที่ใสสะอาดเป็นแหล่งท่องเที่ยวของมนุษย์


ปัญหาของทรัพยากรน้ำ


ปัญหาสำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้น คือ
1. ปัญหาการมีน้ำน้อยเกินไป เกิดการขาดแคลนอันเป็นผลเนื่องจากการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้ปริมาณน้ำฝนน้อยลง เกิดความแห้งแล้งเสียหายต่อพืชเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์
2. ปัญหาการมีน้ำมากเกินไป เป็นผลมาจากการตัดไม้มากเกินไป ทำให้เกิดน้ำท่วมไหลบ่าในฤดูฝน สร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน
3. ปัญหาน้ำเสีย เป็นปัญหาใหม่ในปัจจุบัน สาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำเสีย ได้แก่
             - น้ำทิ้งจากบ้านเรือน ขยะมูลฝอยและสิ่งปฎิกูลที่ถูกทิ้งสู่แม่น้ำลำคลอง
             - น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
             - น้ำฝนพัดพาเอาสารพิษที่ตกค้างจากแหล่งเกษตรกรรมลงสู่แม่น้ำลำคลอง

   - น้ำเสียที่เกิดขึ้นนี้ส่งผลเสียหายทั้งต่อสุขภาพอนามัย เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ และ        มนุษย์ ส่งกลิ่นเหม็น รบกวน ทำให้ไม่สามารถนำแหล่งน้ำนั้นมาใช้ประโยชน์ได้ทั้ง      การอุปโภค บริโภค เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม


 


ทรัพยากรป่าไม้




"ป่าไม้"  หมายถึง ถิ่นที่อยู่อาศัยร่วมกันของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์นานาชนิดรวมทังจุลชีพทั้งมวลต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ส่วนใหญ่ประกอบด้วยต้นไม้อันขึ้นอยู่บนพื้นดิน และมีรากยึดเหนี่ยวอยู่ใต้ดิน 


ป่าไม้เป็นสิ่งที่ปลูกทดแทนขึ้นมาใหม่ได้ และสามารถเอื้ออำนวยประโยชน์ให้แก่มวลมนุษย์


ประโยชน์ของป่าไม้
1.มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เช่นที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค อาหาร เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น
2.มีประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ เป็นแหล่งประกอบอาชีพ และหารายได้ของมนุษย์
3.มีประโยชน์ในการท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจ
4.มีประโยชน์ด้านนิเวศน์วิทยา เช่น ช่วยป้องกันการพังทลายของดิน ช่วยรักษาต้นน้ำลำธาร ป้องกันน้ำท่วม เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า


ประเภทของป่า   ป่ามีลักษณะแตกต่างกันตามสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศ
ป่าไม้แบ่งออกได้ 2 ประเภทใหญ่ๆคือ
1.ป่าไม้ไม่ผลัดใบ เป็นป่าที่มีต้นไม้เขียวชอุ่มตลอดปีที่เรียกว่า Evergreen tree ป่าไม้ที่จัดเป็นป่าผลัดใบได้แก่
1.1.ป่าดงดิบ เป็นป่าทึบในเขตร้อนมีพันธุ์ไม้มากมายหนาแน่น ทำให้แดดส่องถึงพื้นน้อยมาก ต้นไม่ส่วนใหญ่เป็นต้นไม้ใหญ่ใบกว้าง ไม้ที่สำคัญได้แก่ ไม้ยาง ตะเคียน ตะบาก เป็นต้น และมีไม้เล็ก เช่น ไผ่ ระกำ หวาย เป็นต้น
1.2.ป่าดิบเขา เป็นป่าที่มีสภาพคล้ายป่าดงดิบ แต่มีความรกน้อยกว่า ซึ่งพบตามบริเวณภูเขามีระดับสูง 1000 เมตร ไม้ที่สำคัญได้แก่ ต้นก่อ มะขามป้อม ดงหว้า จำปีป่า เป็นต้น
1.3.ป่าสนเขา จัดเป็นป่าผลัดใบ มีต้นไม้ขนาดใหญ่ แต่มีใบเล็กเรียว พันธุ์ไม้สนพื้นเมืองของไทย ได้แก่สนสองใบและสนสามใบ เป็นป่าอยู่บนภูเขาสูงตั้งแต่ 700 เมตรขึ้นไป
1.4.ป่าชายเลน เป็นป่าตามชายฝั่งทะเลที่เป็นหาดเลน ต้นไม้ที่ขึ้นบริเวณนี้มักมีลักษณะพิเศษ เช่นมีรากอากาศโผล่พ้นขึ้นมาบนดินเลน หรือมีรากงอกจากส่วนของลำต้นมาช่วยพยุงลำต้น ต้นไม้เขตนี้ชอบน้ำเค็ม เช่น โกงกาง แสมทะเล ปาง ตะบูน ลำพู เป็นต้น
2.ป่าไม้ผลัดใบ ต้นไม้ในป่าชนิดนี้จะสลัดใบในฤดูแล้ง ป่าไม้ที่จัดอยู่ในกลุ่มพวกนี้ได้แก่
 2.1.ป่าเบญจพรรณ เป็นป่าโปร่ง มีต้นไม้หลายขนาดรวมกันขึ้นอยู่ห่างๆไม่รกทึบ บางแห่งมีทุ่งหญ้าและไม้ไผ่ขึ้นอยู่ด้วย ต้นไม้สำคัญได้แก่ สัก ประดู่ แดง ตะแบก เสลา มะค่าโมง เป็นป่าที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจสูงมาก
2.2.ป่าแดง ( ป่าโคก ป่าแพะ ป่าเต็งรัง ) เป็นป่าโปร่งต้นไม้ไม่หนาแน่น มีทุ่งหญ้าสลับ ป่าชนิดนี้ไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์ ต้นไม้มีขนาดไม่ใหญ่นัก เพราะเป็นป่าในเขตอากาศแห้งแล้ง พันธุ์ไม้ที่สำคัญ คือ เต็ง รัง เทียง พลวง พะยอม มะค่า ฯลฯ
3.ป่าชนิดอื่นๆ เป็นป่าที่มีความสำคัญน้อย เช่น
3.1.ป่าพรุ เป็นปาที่พบตามบริเวณพื้นที่ลุ่มที่มีน้ำขัง ป่าพรุน้ำจืดอยู่ตามขอบแอ่งหนองบึง และที่ราบชายฝั่งทะเลจะพบป่าพรุน้ำกร่อย ป่าพรุน้ำจืดมีต้นสนุ่น จิก หวายน้ำ อ้อ และแขม ส่วนป่าพรุน้ำกร่อยมีไม้สำคัญได้แก่ เสม็ด และกก
3.2.ป่าชายหาด คือ ป่าตามบริเวณหาดชายทะเลที่น้ำท่วมไม่ถึง ไม้ที่สำคัญได้แก่ สนทะเล หูกวาง โพทะเล กระทิง ตีนเป็ดทะเล เป็นต้น


ปัญหาที่เกี่ยวกับป่าไม้  ป่าไม้ที่ถูกทำลายจำนวนมากโดยวิธีต่างๆ เช่น การตัดไม้จำนวนมาก การเผาป่า ฯลฯ เพื่อนำไม้มาใช้ในอุตสาหกรรม เพื่อพื้นที่ทำการเกษตร เป็นต้น


การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
1.ออกกฏหมายคุ้มครองป่าไม้
2.ควบคุมดูแลการตัดไม้ เพื่อป้องกันการสูญเสียป่า
3.การปลูกป่าเพื่อทดแทนป่าไม้ธรรมชาติ
4.ป้องกันไฟไหม้ป่า และแมลงทำลายต้นไม้
5.ใช้ไม้อย่างประหยัด และทำวัสดุอื่นมาใช้ทดแทนไม้

ที่มา 
http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/5-5/no42-43-47/suppamai.html
                                                      ทรัพยากรแร่ธาตุ


 แร่ คือ ธาตุแท้ หรือสารบริสุทธิ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยมีส่วนประกอบทางเคมีและมีรูปผลึกที่แน่นอน จัดเป็นทรัพยากรธรรมชาติประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญต่อมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณชนิดของแร่ เราสามารถแบ่งแร่ออกเป็น 3 ชนิด คือ แร่โลหะ แร่อโลหะ และแร่เชื้อเพลิง
          1)  แร่โลหะคือ แร่ที่นำมาถลุงก่อน แล้วจึงนำไปใช้ประโยชน์ แร่โลหะที่สำคัญ ได้แก่
(1) ดีบุก เป็นแร่ที่อยู่ในหินแข็งจำพวกหินแกรนิต มีลักษณะเป็นผลึกแต่อาจเป็นก้อนผิวเป็น เส้นๆ คล้ายไม้ ถ้าบริสุทธิ์จะมีสีคล้ายน้ำผึ้ง ถ้าไม่บริสุทธิ์จะมีสีน้ำตาลหรือดำ นิยมนำมาทำโลหะผสม ทำภาชนะจำพวกปีบ กระป๋อง นำมาใช้เคลือบหรือชุบแผ่นเหล็ก ทำโลหะบัดกรี ทำเป็นแผ่นสำหรับห่ออาหาร บุหรี่
(2) วุลแฟรม มีลักษณะเป็นแผ่นหรือแท่งมีสีน้ำตาลแก่หรือดำ เมื่อถลุงแล้วเรียกว่า “ทังสเตน”มีคุณสมบัติทนความร้อนได้ดีจึงนิยมนำมาทำไส้หลอดไฟฟ้า ทำเครื่องเจาะ ตัดและกลึงโลหะ                         (3) เหล็ก มีสีน้ำตาลปนแดงหรือสีดำ มีความมันวาวแบบโลหะ เป็นแร่ที่มีความสำคัญมากที่สุด นิยมใช้ในการก่อสร้าง ทำเครื่องมือ เครื่องจักรกลต่างๆ และอาวุธ
(4) ตะกั่ว มีลักษณะเป็นเกล็ด เม็ด บางทีเป็นผลึกรูปลูกเต๋า มีสีเทาแก่ออกดำ นิยมนำมาทำลูกกระสุนปืน ทำตัวพิมพ์ ทำโลหะบัดกรี แบตเตอรี่รถยนต์ เป็นต้น
(5) ทองแดง  มีลักษณะเป็นของแข็งสีแดง เนื้ออ่อนบุให้เป็นแผ่นยางและรีดเป็นเส้นลวดได้ง่ายเราใช้ทองแดงมากเป็นอันดับสองรองจากเหล็ก โดยใช้ทำอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องมือเครื่องใช้ ต่างๆ
         2) แร่อโลหะ คือ แร่ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ต้องถลุงแร่อโลหะที่สำคัญได้แก่
(1) ยิปซัม เป็นแร่ที่เกิดขึ้นเป็นชั้นหนา ลักษณะคล้ายหินปูน มีสีขาว ใช้ทำปูนซีเมนต์ ปูนปลาสเตอร์ ชอล์ก
(2) เกลือแกง มี 2 ชนิด คือเกลือสินเธาว์ หรือเกลือหิน ซึ่งเป็นเกลือที่ได้จากดินเค็มและเกลือสมุทรซึ่งได้จากน้ำทะเล
(3) แร่รัตนชาติ ได้แก่ พวกพลอยต่างๆ ส่วนมากจะพบในลานดินที่เกิดจากการผุพังของหินบะซอลต์
แร่เชื้อเพลิง  คือ แร่ที่ใช้เป็นพลังงานเชื้อเพลิง แร่เชื้อเพลิงที่สำคัญ ได้แก่ ลิกไนต์ น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ


ประโยชน์ของแร่
1)  ใช้ในกิจการอุตสาหกรรม
2)  ใช้ทำเครื่องใช้ เครื่องประดับต่างๆ
3)  ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน                                      
4)  ใช้เป็นเชื้อเพลิงให้ความร้อนและพลังงานตลอดจนนำมาสร้างเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ


ทีมา http://www.sema.go.th/node/1759

นี่ก็เป็นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติที่มีในโลกของเรา ที่นี่มาอ่านดูการแบ่งประเภททรัพยากรธรรมชาติในโลกของเราบ้าง


ทรัพยากรธรรมชาติ (natural resources)


     ทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการดำรงชีวิตได้ โดยอาศัการดัดแปลง แปรรูป หรือการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมตามความต้องการของมนุษ์ เช่น พืช ดิน น้ำ แร่ธาตุต่าง ๆ เป็นต้น ทรัพยากรธรรมชาติแบ่งได้ 2 ประเภท คือ ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป และทรัพยากรที่ใช้ไม่หมดหรือมีตลอดไป ดังนี้


     1.  ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป (exhausting natural resources) เป็นทรัพยากรที่นำไปใช้แล้วจะสิ้นเปลืองและหมดไปในที่สุด ทรัพยากรประเภทนี้มีอยู่อย่างจำกัด การเกิดขึ้นทดแทนได้เพียงพอกับความต้องการใช้งาน ดังนั้นจึงพบว่าทรัพยากรประเภทนี้บางชนิดอาจหมดไปจากโลก ในช่วงเวลาอีกไม่นานนัก ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไปนี้ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
         1.  ทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดขึ้นใหม่ทดแทนหรือรักษาให้คงอยู่ได้ (renewable natural resources หรือ replaceable natural resources) เป็นทรัพยากรที่นำไปใช้ประโยชน์แล้ว สามารถรักษาเกิดขึ้นทดแทนได้ หากมีการจัดการแนวทาง การใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม จะทำให้ทรัพยากรมีเพียงพอใช้ได้ตลอดไป เช่น ดิน ป่าไม้ และสัตว์ป่าชนิดต่าง ๆ เป็นต้น
         2.  ทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่สามารถสร้างเสริมหรือทดแทนได้ (irreplaceable natural resources) เป็นทรัพยากรที่นำไปใช้ประโยชน์แล้วหมดสิ้นไปโดยไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ทดแทนให้เหมือนเดิมได้ เช่น แร่ธาตุต่าง ๆ ปิโตรเลียม เป็นต้น


     2.  ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ไม่หมดหรือมีใช้ตลอดไป (non-exhausting natural resources) เป็นทรัพยากรที่สามารถเกิดขึ้นมาใหม่ทดแทนได้โดยไม่หมดสิ้นไป สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ตลอดทรัพยากรเหล่านี้มีอยุ่อย่างมากมายทั่วทุกหนแห่งในโลกและมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น น้ำ อากาศ แสงแดด เป็นต้น แต่ทรัพยากรธรรมชาติบางชนิดในกลุ่มนี้ หากไม่มีการจัดการที่เหมาะสมแล้ว จะทำให้เกิดความเป็นพิษ ซึ่งก่อให้เกิดโทษหรือส่งผลเสียต่อสิ่งมีชีวิตได้ เช่น การปนเปื้อนสารพิษในแหล่งน้ำ การเกิดแก๊สและฝุ่นละอองในอากาศต่าง ๆ เป็นต้น


     หากกล่าวโดยรวมแล้วทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะมีความสัมพันธ์กันทั้งในทางตรงและทางอ้อม โดยทรัพยากรธรรมชาติจะเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อม หรือเป็นสิ่งแวดล้อมที่สามารถเกิดขึ้นเองได้ตามธรรมชาติ ซึ่งหากมีการใช้งานอย่างไม่ถูกต้องเหมาะสมแล้ว ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านั้นก็ย่อมหมดสิ้นสูญหายไปได้ และจะส่งผลกระทบทำให้สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะนำไปสู่ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับความเป็นอยู่ของมนุษย์ในที่สุด

ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
ดร.ฤทธิ์ วัฒนชัยยิ่งเจริญ . ชีวิตกับสิ่งแวดล้อมสิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต 

มาดูกันต่อว่าวิกฤติด้านทรัพยากรธรรมชาติมีอะไรบ้าง



วิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโลก

1. ปัญหาวิกฤตด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโลก                 ปัญหาวิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโลกในปัจจุบัน แบ่งได้เป็น 3 ปัญหาใหญ่  ดังนี้                
1.1 ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติลดความอุดมสมบูรณ์ ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ได้แก่ ดิน น้ำ ป่าไม้ สัตว์ป่า และแร่ธาตุต่าง            
1.2 ปัญหาการเกิดมลภาวะหรือมลพิษต่าง  ของสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำเน่าเสีย อากาศเป็นพิษ มลพิษของเสียง และมลพิษจากขยะมูลฝอย เป็นต้น            
1.3 ปัญหาที่เกิดจากการทำลายระบบนิเวศทางธรรมชาติ เช่น ฝนทิ้งช่วง ภัยจากความแห้งแล้ง อุทกภัย วาตภัย และภาวะโลกร้อนมีอุณหภูมิสูง เป็นต้น

2. สาเหตุที่ทำให้โลกเกิดวิกฤตด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม                 สาเหตุพื้นฐานของปัญหาวิกฤติการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโลกในปัจจุบัน คือ                 
2.1 การเพิ่มของจำนวนประชากรโลก                 ในปัจจุบัน ประชากรโลกมีประมาณ 6,314 ล้านคน (.. 2546)จึงเป็นสาเหตุโดยตรงทำให้เกิดการสูญเสียในทรัพยากรธรรมชาติอย่างรวดเร็ว และเกิดมลพิษของสิ่งแวดล้อมต่าง  ตามมา สรุปได้ดังนี้                 
(1) อัตราการเพิ่มของประชากร ประเทศที่พัฒนาแล่วมีอัตราการเพิ่มของประชากรค่อนข้างต่ำเฉลี่ยร้อยละ 0.1 ต่อปี ส่วนประเทศที่กำลังพัฒนามีอัตราการเพิ่มของประชากรอยู่ในเกณฑ์สูงเฉลี่ยร้อนละ 1.5 ต่อปี                
(2) การเพิ่มของจำนวนประชากรในชนบท ทำให้ผู้คนในชนบทอพยพเข้ามาหางานทำในเมืองเกิดการขยายตัวของชุมชนเมืองอย่างรวดเร็ว และยิ่งมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตภาคอุตสาหกรรมมากขึ้นก็ยิ่งส่งผลให้เกิดปัญหามลพิษของสิ่งแวดล้อมต่าง  ตามมา                 
(3) การเพิ่มของจำนวนประชากรส่งผลให้เกิดการแปรรูปทรัพยากรธรรมชาติเพื่อนำมาใช้ประโยชน์สนองความต้องการของประชาชนมากยิ่งขึ้น มีการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพื่อนำมาใช้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม เช่น พื้นที่ป่าลุ่มแม่น้ำอะเมซอน (Amazon) ในทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งทำให้ทั่วโลกหวั่นวิตกว่าจะเป็นการสูญเสียพื้นที่ปอดของโลก
2.2 ผลกระทบจากการใช้วิทยาการและเทคโนโลยี ในปัจจุบัน มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการผลิตด้านต่าง  อย่างกว้างขวางทั้งในภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรมและบริการ แต่ถ้านำเทคโนโลยีไปใช้อย่างไม่เหมาะสม อาจส่งผลกระทบทำให้เกิดการสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ดังเช่น 
(1) การสำรวจ ขุดเจาะ หรือขนส่งน้ำทันดิบจากแหล่งขุดเจาะในทะเลโดยทางเรือบรรทุกน้ำทัน อาจเกิดอุบัติเหตุทำให้น้ำมันรั่วไหลมีคราบน้ำมันปนเปื้อนบริเวณพื้นผิวน้ำ เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล และทำให้ระบบนิเวศของท้องทะเลต้องเสียความสมดุลไป
(2) การสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ทำให้สูญเสียพื้นที่ป่าไม้จำนวนมาก
(3) การตั้งโรงงานอุตสาหกรรมอย่างหนาแน่น ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ เสียง และแหล่งน้ำตามธรรมชาติ เป็นต้น 

3. สรุปวิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโลก                
3.1 วิกฤตการด้านทรัพยากรธรรมชาติของโลก มีดังนี้
(1)   การตัดไม้ทำลายป่า และการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ 
(2)   ความเสื่อมโทรมของดิน และการชะล้างพังทลายของดิน 
(3)   การขาดแคลนทรัพยากรน้ำจืด
3.2 วิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมของโลก 
(1)   การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (ภาวะโลกร้อน และชั้นโอโซนถูกทำลาย
(2)   มลพิษทางอากาศ 
(3)  หมอกควัน และฝนกรด 
(4)   ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Green house effect) 
(5)   ปรากฏการณ์เอลนิโญ (El Nino) 
(6)   การละลายของธารน้ำแข็งและภาวะน้ำท่วม
(7)   การเพิ่มขึ้นของขยะเทคโนโลยี

การอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคต่างๆของโลก
(1) ปลูกต้นไม้เพื่อทดแทนของเดิมที่ถูกทำลายไป
(2) อนุรักษ์ป่าไม้ไว้ไม่ให้บุกรุกไปสร้างบ้านเรือนจนกินเนื้อที่ป่ามาก
(3) ควบคุมดูแลการใช้น้ำ ไฟ อย่างประหยัด