วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2554

โลกอนาคต : ทรัพยากรธรรมชาติ

 ุ     ครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายที่กล่าวถึงโลกของเราในอนาคตด้านทรัพยากรธรรมชาติครับ เราได้ดูเรื่องราวต่างๆที่จะเกิดขึ้น ผมได้รวบรวมเอาไว้ในหน้าเว็บเรื่อง  โลกอนาคต  พี่น้องสามารถกลับไปดูได้ครับว่ามีเรื่องอะไรบ้าง  สำหรับในคริสตจักรของเรา คาดว่าในเดือนหน้าจะมีบอร์ดนิทรรศการเกี่ยวกับเรื่องโลกอนาคตครับ จุดประสงค์เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้รู้ว่าจะมีสิ่งใดเกิดขึ้นกับโลกของเราบ้าง ท่านจะได้รับองค์ความรู้เหมือนกับที่ได้อ่านในเว็บบล็อกนี้ และเราสามารถเอาองค์ความรู้เหล่านี้ไปกล่าวเตือนใจคนทั่วไปให้ได้รับทราบเช่นกัน เพื่อคนที่รับรู้ข่าวสารนี้จะได้เตรียมตนเองไว้สำหรับอนาคต ไม่ตระหนกตกใจ อีกทั้งเรายังสามารถใช้โอกาสนี้นำเขาเหล่านั้นมาถึงความรอดในองค์พระคริสต์ได้ด้วย ซึ่งเรื่องราวต่างๆที่กำลังจะเกิดขึ้นนั้นได้มีกล่าวถึงไว้ในพระคัมภีร์ เมื่อสองวันก่อนผมได้ไปประชุมกับพี่น้องในภาคกลางและการแบ่งปันพระคัมภีร์ตอนหนึ่งของพี่น้องได้กล่าวถึงวิวรณ์บทที่ 6 ซึ่งเป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นกับแผ่นดินโลกนี้ เช่น

ในวิวรณ์ 6:4 และมีม้าอีกตัวหนึ่งออกไปเป็นม้าสีแดงสด ผู้ที่ขี่ม้าตัวนี้ได้รับอนุญาตให้นำสันติสุขไปจากแผ่นดินโลก เพื่อให้คนทั้งปวงรบราฆ่าฟันกัน และผู้นี้ได้รับดาบใหญ่เล่มหนึ่ง
  • กล่าวถึงการต่อสู้กัน การรบราฆ่าฟันกัน  สิ่งนี้ก็จะนำไปสู่ความอดอยาก ข้าวยากหมากแพง  น้ำ อาหาร มีปัญหา เศรษฐกิจโลก มีปัญหา
วิวรณ์ 6:6  แล้วข้าพเจ้าก็ได้ยินเสียงออกมาจากท่ามกลางสิ่งที่มีชีวิตอยู่ทั้งสี่นั้นว่า "ข้าวสาลีราคาทะนานละหนึ่งเดนาริอัน ข้าวบารลีสามทะนานต่อหนึ่งเดนาริอัน และเจ้าอย่าทำอันตรายแก่น้ำมันและน้ำองุ่น"
  • สิ่งนี้ก็บอกถึงอาหารราคาแพง
วิวรณ์ 6:8  แล้วข้าพเจ้าก็แลเห็น และดูเถิด มีม้าสีกะเลียวตัวหนึ่ง ผู้ที่นั่งบนหลังม้านั้นมีชื่อว่าความตาย และนรกก็ติดตามเขามาด้วย และได้ให้ทั้งสองนี้มีอำนาจล้างผลาญแผ่นดินโลกได้หนึ่งในสี่ส่วน ด้วยดาบ ด้วยความอดอยาก ด้วยความตาย และด้วยสัตว์ร้ายแห่งแผ่นดิน
  • พูดถึงความอดอยาก และโรคระบาด(พระคัมภีร์ฉบับ1971)
ดังนั้นในอนาคตเราคงต้องเตรียมตัวไว้ ไม่ตระหนก อธิษฐานและรู้ว่าพระวจนะกล่าวไ้ว้อย่างไร ยึดแนวทางในพระวจนะไว้ให้มั่น

สำหรับครั้งสุดท้ายนี้เราจะมาดูข้อเขียนวิชาการต่างๆที่เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ


ทรัพยากรธรรมชาติ
  
                                                                        ทรัพยากรดิน
ดินเป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เกิดจากการสลายตัวผุพังของหินชนิดต่าง ๆ โดยใช้เวลาที่นานมาก หินที่สลายตัวผุกร่อนนี้จะมีขนาดต่าง ๆ กัน เมื่อผสมรวมกับซากพืช ซากสัตว์ น้ำ อากาศ ก็กลายเป็นเนื้อดินซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้จะมากน้อยแตกต่างกันไปตามชนิดของดิน


ประโยชน์ของดิน





ดินมีประโยชน์มากมายมหาศาลต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ คือ
1. ประโยชน์ต่อการเกษตรกรรม เพราะดินเป็นต้นกำเนิดของการเกษตรกรรมเป็นแหล่งผลิตอาหารของมนุษย์ ในดินจะมีอินทรียวัตถุและธาตุอาหารรวมทั้งน้ำที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช อาหารที่คนเราบริโภคในทุกวันนี้มาจากการเกษตรกรรมถึง 90%
2. การเลี้ยงสัตว์ ดินเป็นแหล่งอาหารสัตว์ทั้งพวกพืชและหญ้าที่ขึ้นอยู่ ตลอดจนเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์บางชนิด เช่น งู แมลง นาก ฯล
3. เป็นแหล่งที่อยู่อาศัย แผ่นดินเป็นที่ตั้งของเมือง บ้านเรือน ทำให้เกิดวัฒนธรรมและอารยธรรมของชุมชนต่าง ๆ มากมาย
4. เป็นแหล่งเก็บกักน้ำ เนื้อดินจะมีส่วนประกอบสำคัญ ๆ คือ ส่วนที่เป็นของแข็ง ได้แก่ กรวด ทราย ตะกอน และส่วนที่เป็นของเหลว คือ น้ำซึ่งอยู่ในรูปของความชื้นในดินซึ่งถ้ามีอยู่มาก ๆ ก็จะกลายเป็นน้ำซึมอยู่คือน้ำใต้ดิน น้ำเหล่านี้จะค่อย ๆ ซึมลงที่ต่ำ เช่น แม่น้ำลำคลองทำให้เรามีน้ำใช้ได้ตลอดปี


ชนิดของดิน
อนุภาคของดินจะรวมตัวกันเข้าเกิดเป็นเม็ดดิน อนุภาคเหล่านี้จะมีขนาดไม่เท่ากัน ขนาดเล็กที่สุดคืออนุภาคดินเหนียว อนุภาคขนาดกลางเรียกอนุภาคทรายแป้ง อนุภาคขนาดใหญ่เรียกว่า อนุภาคทรายเนื้อดิน จะมีอนุภาคทั้ง 3 กลุ่มนี้ผสมกันอยู่ในสัดส่วนที่ไม่เท่ากันทำให้เกิดลักษณะของดิน 3 ชนิดใหญ่ ๆ คือ ดินเหนียว ดินทราย และดินร่วน


1. ดินเหนียว เป็นดินที่เมื่อเปียกแล้วมีความยืดหยุ่น อาจปั้นเป็นก้อนหรือคลึงเป็นเส้นยาวได้เหนียวเหนอะหนะติดมือ เป็นดินที่มีการระบายน้ำและอากาศไม่ดี มีความสามารถในการอุ้มน้ำได้ดี มีความสามารถในการจับยึดและแลกเปลี่ยนธาตุอาหารพืชได้สูง หรือค่อนข้างสูง เป็นดินที่มีก้อนเนื้อละเอียด เพราะมีปริมาณอนุภาคดินเหนียวอยู่มาก เหมาะที่จะใช้ทำนาปลูกข้าวเพราะเก็บน้ำได้นาน
2. ดินทราย เป็นดินที่มีการระบายน้ำและอากาศดีมาก มีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เพราะความสามารถในการจับยึดธาตุอาหารพืชมีน้อย พืชที่ชั้นบนดินทรายจึงมักขาดทั้งอาหารและน้ำเป็นดินที่มีเนื้อดินทรายเพราะมีปริมาณอนุภาคทรายมาก
3. ดินร่วน เป็นดินที่มีเนื้อดินค่อนข้างละเอียดนุ่มมือ ยืดหยุ่นได้บ้าง มีการระบายน้ำได้ดีปานกลาง จัดเป็นเนื้อดินที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกในธรรมชาติมักไม่ค่อยพบ แต่จะพบดินที่มีเนื้อดินใกล้เคียงกันมากกว่า





 
ปัญหาทรัพยากรดิน





ดินส่วนใหญ่ถูกทำลายให้สูญเสียความอุดมสมบูรณ์ หรือตัวเนื้อดินไปเนื่องจากการกระทำของมนุษย์ และการสูญเสียตามธรรมชาติทำให้เราไม่อาจใช้ประโยชน์จากดินได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 


การสูญเสียดินเกิดได้จาก
1. การกัดเซาะและพังทลายโดยน้ำ น้ำจำนวนมากที่กระทบผิวดินโดยตรงจะกัดเซาะผิวดิน ให้หลุดลอยไปตามน้ำ การสูญเสียบริเวณผิวดินจะเป็นพื้นที่กว้าง หรือถูกกัดเซาะเป็นร่องเล็ก ๆ ก็ขึ้นอยู่กับความแรง และบริเวณของน้ำที่ไหลบ่าลงมาก
2. การตัดไม้ทำลายป่า การเผาป่า ถางป่าทำให้หน้าดินเปิด และถูกชะล้างได้ง่ายโดยน้ำและลมเมื่อฝนตกลงมา น้ำก็ชะล้างเอาหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์ไปกับน้ำ ทำให้ดินมีคุณภาพเสื่อมลง

                                                                     ทรัพยากรน้ำ
                                


       โลกของเราประกอบขึ้นด้วยพื้นดินและพื้นน้ำ โดยส่วนที่เป็นฝืนน้ำนั้น มีอยู่ประมาณ ส่วน (75%) และเป็นพื้นดิน ส่วน (25%) น้ำมีความสำคัญอย่างยิ่งกับชีวิตของพืชและสัตว์บนโลกรวมทั้งมนุษย์เราด้วย น้ำเป็นทรัพยากรที่สามารถเกิดหมุนเวียนได้เรื่อย ๆ ไม่มีวันหมดสิ้น เมื่อแสงแดดส่องมาบนพื้นโลก น้ำจากทะเลและมหาสมุทรก็จะระเหยเป็นไอน้ำลอยขึ้นสู่เบื้องบนเนื่องจากไอน้ำมีความเบากว่าอากาศ เมื่อไอน้ำลอยสู่เบื้องบนแล้ว จะได้รับความเย็นและกลั่นตัวกลายเป็นละอองน้ำเล็ก ๆ ลอยจับตัวกันเป็นกลุ่มเฆม เมื่อจับตัวกันมากขึ้นและกระทบความเย็นก็จะกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำตกลงสู่พื้นโลก น้ำบนพื้นโลกจะระเหยกลายเป็นไอน้ำอีกเมื่อได้รับความร้อนจากดวงทิตย์ ไอน้ำจะรวมตัวกันเป็นเมฆและกลั่นตัวเป็นหยดน้ำกระบวนการเช่นนี้ เกิดขึ้นเป็นวัฏจักรหมุนเวียนต่อเนื่องกันตลอดเวลา เรียกว่า วัฏจักรน้ำทำให้มีน้ำเกิดขึ้นบนผิวโลกอยู่
สม่ำเสมอ


ประโยชน์ของน้ำ


น้ำเป็นแหล่งกำเนิดชีวิตของสัตว์และพืชคนเรามีชีวิตอยู่โดยขาดน้ำได้ไม่เกิน 3 วัน และน้ำยังมีความจำเป็นทั้งในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศ ประโยชน์ของน้ำ ได้แก่
1    
น้ำเป็นสิ่งจำเป็นที่เราใช้สำหรับการดื่มกิน การประกอบอาหาร ชำระร่างกาย ฯลฯ

2   น้ำมีความจำเป็นสำหรับการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์ แหล่งน้ำเป็นที่อยู่อาศัยของปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ ซึ่งคนเราใช้เป็นอาหาร
 3    ในการอุตสาหกรรม ต้องใช้น้ำในขบวนการผลิตใช้ล้างของเสียใช้หล่อเครื่องจักรและระบายความร้อน ฯลฯ 
4   การทำนาเกลือโดยการระเหยน้ำเค็มจากทะเล 
5   น้ำเป็นแหล่งพลังงาน พลังงานจากน้ำใช้ทำระหัด ทำเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าได้
 6   แม่น้ำ ลำคลอง ทะเล มหาสมุทร เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งที่สำคัญ 
7    ทัศนียภาพของริมฝั่งทะเลและน้ำที่ใสสะอาดเป็นแหล่งท่องเที่ยวของมนุษย์


ปัญหาของทรัพยากรน้ำ


ปัญหาสำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้น คือ
1. ปัญหาการมีน้ำน้อยเกินไป เกิดการขาดแคลนอันเป็นผลเนื่องจากการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้ปริมาณน้ำฝนน้อยลง เกิดความแห้งแล้งเสียหายต่อพืชเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์
2. ปัญหาการมีน้ำมากเกินไป เป็นผลมาจากการตัดไม้มากเกินไป ทำให้เกิดน้ำท่วมไหลบ่าในฤดูฝน สร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน
3. ปัญหาน้ำเสีย เป็นปัญหาใหม่ในปัจจุบัน สาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำเสีย ได้แก่
             - น้ำทิ้งจากบ้านเรือน ขยะมูลฝอยและสิ่งปฎิกูลที่ถูกทิ้งสู่แม่น้ำลำคลอง
             - น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
             - น้ำฝนพัดพาเอาสารพิษที่ตกค้างจากแหล่งเกษตรกรรมลงสู่แม่น้ำลำคลอง

   - น้ำเสียที่เกิดขึ้นนี้ส่งผลเสียหายทั้งต่อสุขภาพอนามัย เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ และ        มนุษย์ ส่งกลิ่นเหม็น รบกวน ทำให้ไม่สามารถนำแหล่งน้ำนั้นมาใช้ประโยชน์ได้ทั้ง      การอุปโภค บริโภค เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม


 


ทรัพยากรป่าไม้




"ป่าไม้"  หมายถึง ถิ่นที่อยู่อาศัยร่วมกันของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์นานาชนิดรวมทังจุลชีพทั้งมวลต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ส่วนใหญ่ประกอบด้วยต้นไม้อันขึ้นอยู่บนพื้นดิน และมีรากยึดเหนี่ยวอยู่ใต้ดิน 


ป่าไม้เป็นสิ่งที่ปลูกทดแทนขึ้นมาใหม่ได้ และสามารถเอื้ออำนวยประโยชน์ให้แก่มวลมนุษย์


ประโยชน์ของป่าไม้
1.มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เช่นที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค อาหาร เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น
2.มีประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ เป็นแหล่งประกอบอาชีพ และหารายได้ของมนุษย์
3.มีประโยชน์ในการท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจ
4.มีประโยชน์ด้านนิเวศน์วิทยา เช่น ช่วยป้องกันการพังทลายของดิน ช่วยรักษาต้นน้ำลำธาร ป้องกันน้ำท่วม เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า


ประเภทของป่า   ป่ามีลักษณะแตกต่างกันตามสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศ
ป่าไม้แบ่งออกได้ 2 ประเภทใหญ่ๆคือ
1.ป่าไม้ไม่ผลัดใบ เป็นป่าที่มีต้นไม้เขียวชอุ่มตลอดปีที่เรียกว่า Evergreen tree ป่าไม้ที่จัดเป็นป่าผลัดใบได้แก่
1.1.ป่าดงดิบ เป็นป่าทึบในเขตร้อนมีพันธุ์ไม้มากมายหนาแน่น ทำให้แดดส่องถึงพื้นน้อยมาก ต้นไม่ส่วนใหญ่เป็นต้นไม้ใหญ่ใบกว้าง ไม้ที่สำคัญได้แก่ ไม้ยาง ตะเคียน ตะบาก เป็นต้น และมีไม้เล็ก เช่น ไผ่ ระกำ หวาย เป็นต้น
1.2.ป่าดิบเขา เป็นป่าที่มีสภาพคล้ายป่าดงดิบ แต่มีความรกน้อยกว่า ซึ่งพบตามบริเวณภูเขามีระดับสูง 1000 เมตร ไม้ที่สำคัญได้แก่ ต้นก่อ มะขามป้อม ดงหว้า จำปีป่า เป็นต้น
1.3.ป่าสนเขา จัดเป็นป่าผลัดใบ มีต้นไม้ขนาดใหญ่ แต่มีใบเล็กเรียว พันธุ์ไม้สนพื้นเมืองของไทย ได้แก่สนสองใบและสนสามใบ เป็นป่าอยู่บนภูเขาสูงตั้งแต่ 700 เมตรขึ้นไป
1.4.ป่าชายเลน เป็นป่าตามชายฝั่งทะเลที่เป็นหาดเลน ต้นไม้ที่ขึ้นบริเวณนี้มักมีลักษณะพิเศษ เช่นมีรากอากาศโผล่พ้นขึ้นมาบนดินเลน หรือมีรากงอกจากส่วนของลำต้นมาช่วยพยุงลำต้น ต้นไม้เขตนี้ชอบน้ำเค็ม เช่น โกงกาง แสมทะเล ปาง ตะบูน ลำพู เป็นต้น
2.ป่าไม้ผลัดใบ ต้นไม้ในป่าชนิดนี้จะสลัดใบในฤดูแล้ง ป่าไม้ที่จัดอยู่ในกลุ่มพวกนี้ได้แก่
 2.1.ป่าเบญจพรรณ เป็นป่าโปร่ง มีต้นไม้หลายขนาดรวมกันขึ้นอยู่ห่างๆไม่รกทึบ บางแห่งมีทุ่งหญ้าและไม้ไผ่ขึ้นอยู่ด้วย ต้นไม้สำคัญได้แก่ สัก ประดู่ แดง ตะแบก เสลา มะค่าโมง เป็นป่าที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจสูงมาก
2.2.ป่าแดง ( ป่าโคก ป่าแพะ ป่าเต็งรัง ) เป็นป่าโปร่งต้นไม้ไม่หนาแน่น มีทุ่งหญ้าสลับ ป่าชนิดนี้ไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์ ต้นไม้มีขนาดไม่ใหญ่นัก เพราะเป็นป่าในเขตอากาศแห้งแล้ง พันธุ์ไม้ที่สำคัญ คือ เต็ง รัง เทียง พลวง พะยอม มะค่า ฯลฯ
3.ป่าชนิดอื่นๆ เป็นป่าที่มีความสำคัญน้อย เช่น
3.1.ป่าพรุ เป็นปาที่พบตามบริเวณพื้นที่ลุ่มที่มีน้ำขัง ป่าพรุน้ำจืดอยู่ตามขอบแอ่งหนองบึง และที่ราบชายฝั่งทะเลจะพบป่าพรุน้ำกร่อย ป่าพรุน้ำจืดมีต้นสนุ่น จิก หวายน้ำ อ้อ และแขม ส่วนป่าพรุน้ำกร่อยมีไม้สำคัญได้แก่ เสม็ด และกก
3.2.ป่าชายหาด คือ ป่าตามบริเวณหาดชายทะเลที่น้ำท่วมไม่ถึง ไม้ที่สำคัญได้แก่ สนทะเล หูกวาง โพทะเล กระทิง ตีนเป็ดทะเล เป็นต้น


ปัญหาที่เกี่ยวกับป่าไม้  ป่าไม้ที่ถูกทำลายจำนวนมากโดยวิธีต่างๆ เช่น การตัดไม้จำนวนมาก การเผาป่า ฯลฯ เพื่อนำไม้มาใช้ในอุตสาหกรรม เพื่อพื้นที่ทำการเกษตร เป็นต้น


การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
1.ออกกฏหมายคุ้มครองป่าไม้
2.ควบคุมดูแลการตัดไม้ เพื่อป้องกันการสูญเสียป่า
3.การปลูกป่าเพื่อทดแทนป่าไม้ธรรมชาติ
4.ป้องกันไฟไหม้ป่า และแมลงทำลายต้นไม้
5.ใช้ไม้อย่างประหยัด และทำวัสดุอื่นมาใช้ทดแทนไม้

ที่มา 
http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/5-5/no42-43-47/suppamai.html
                                                      ทรัพยากรแร่ธาตุ


 แร่ คือ ธาตุแท้ หรือสารบริสุทธิ์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยมีส่วนประกอบทางเคมีและมีรูปผลึกที่แน่นอน จัดเป็นทรัพยากรธรรมชาติประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญต่อมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณชนิดของแร่ เราสามารถแบ่งแร่ออกเป็น 3 ชนิด คือ แร่โลหะ แร่อโลหะ และแร่เชื้อเพลิง
          1)  แร่โลหะคือ แร่ที่นำมาถลุงก่อน แล้วจึงนำไปใช้ประโยชน์ แร่โลหะที่สำคัญ ได้แก่
(1) ดีบุก เป็นแร่ที่อยู่ในหินแข็งจำพวกหินแกรนิต มีลักษณะเป็นผลึกแต่อาจเป็นก้อนผิวเป็น เส้นๆ คล้ายไม้ ถ้าบริสุทธิ์จะมีสีคล้ายน้ำผึ้ง ถ้าไม่บริสุทธิ์จะมีสีน้ำตาลหรือดำ นิยมนำมาทำโลหะผสม ทำภาชนะจำพวกปีบ กระป๋อง นำมาใช้เคลือบหรือชุบแผ่นเหล็ก ทำโลหะบัดกรี ทำเป็นแผ่นสำหรับห่ออาหาร บุหรี่
(2) วุลแฟรม มีลักษณะเป็นแผ่นหรือแท่งมีสีน้ำตาลแก่หรือดำ เมื่อถลุงแล้วเรียกว่า “ทังสเตน”มีคุณสมบัติทนความร้อนได้ดีจึงนิยมนำมาทำไส้หลอดไฟฟ้า ทำเครื่องเจาะ ตัดและกลึงโลหะ                         (3) เหล็ก มีสีน้ำตาลปนแดงหรือสีดำ มีความมันวาวแบบโลหะ เป็นแร่ที่มีความสำคัญมากที่สุด นิยมใช้ในการก่อสร้าง ทำเครื่องมือ เครื่องจักรกลต่างๆ และอาวุธ
(4) ตะกั่ว มีลักษณะเป็นเกล็ด เม็ด บางทีเป็นผลึกรูปลูกเต๋า มีสีเทาแก่ออกดำ นิยมนำมาทำลูกกระสุนปืน ทำตัวพิมพ์ ทำโลหะบัดกรี แบตเตอรี่รถยนต์ เป็นต้น
(5) ทองแดง  มีลักษณะเป็นของแข็งสีแดง เนื้ออ่อนบุให้เป็นแผ่นยางและรีดเป็นเส้นลวดได้ง่ายเราใช้ทองแดงมากเป็นอันดับสองรองจากเหล็ก โดยใช้ทำอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องมือเครื่องใช้ ต่างๆ
         2) แร่อโลหะ คือ แร่ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ต้องถลุงแร่อโลหะที่สำคัญได้แก่
(1) ยิปซัม เป็นแร่ที่เกิดขึ้นเป็นชั้นหนา ลักษณะคล้ายหินปูน มีสีขาว ใช้ทำปูนซีเมนต์ ปูนปลาสเตอร์ ชอล์ก
(2) เกลือแกง มี 2 ชนิด คือเกลือสินเธาว์ หรือเกลือหิน ซึ่งเป็นเกลือที่ได้จากดินเค็มและเกลือสมุทรซึ่งได้จากน้ำทะเล
(3) แร่รัตนชาติ ได้แก่ พวกพลอยต่างๆ ส่วนมากจะพบในลานดินที่เกิดจากการผุพังของหินบะซอลต์
แร่เชื้อเพลิง  คือ แร่ที่ใช้เป็นพลังงานเชื้อเพลิง แร่เชื้อเพลิงที่สำคัญ ได้แก่ ลิกไนต์ น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ


ประโยชน์ของแร่
1)  ใช้ในกิจการอุตสาหกรรม
2)  ใช้ทำเครื่องใช้ เครื่องประดับต่างๆ
3)  ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน                                      
4)  ใช้เป็นเชื้อเพลิงให้ความร้อนและพลังงานตลอดจนนำมาสร้างเป็นเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ


ทีมา http://www.sema.go.th/node/1759

นี่ก็เป็นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติที่มีในโลกของเรา ที่นี่มาอ่านดูการแบ่งประเภททรัพยากรธรรมชาติในโลกของเราบ้าง


ทรัพยากรธรรมชาติ (natural resources)


     ทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการดำรงชีวิตได้ โดยอาศัการดัดแปลง แปรรูป หรือการเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมตามความต้องการของมนุษ์ เช่น พืช ดิน น้ำ แร่ธาตุต่าง ๆ เป็นต้น ทรัพยากรธรรมชาติแบ่งได้ 2 ประเภท คือ ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป และทรัพยากรที่ใช้ไม่หมดหรือมีตลอดไป ดังนี้


     1.  ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไป (exhausting natural resources) เป็นทรัพยากรที่นำไปใช้แล้วจะสิ้นเปลืองและหมดไปในที่สุด ทรัพยากรประเภทนี้มีอยู่อย่างจำกัด การเกิดขึ้นทดแทนได้เพียงพอกับความต้องการใช้งาน ดังนั้นจึงพบว่าทรัพยากรประเภทนี้บางชนิดอาจหมดไปจากโลก ในช่วงเวลาอีกไม่นานนัก ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมดไปนี้ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
         1.  ทรัพยากรธรรมชาติที่เกิดขึ้นใหม่ทดแทนหรือรักษาให้คงอยู่ได้ (renewable natural resources หรือ replaceable natural resources) เป็นทรัพยากรที่นำไปใช้ประโยชน์แล้ว สามารถรักษาเกิดขึ้นทดแทนได้ หากมีการจัดการแนวทาง การใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม จะทำให้ทรัพยากรมีเพียงพอใช้ได้ตลอดไป เช่น ดิน ป่าไม้ และสัตว์ป่าชนิดต่าง ๆ เป็นต้น
         2.  ทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่สามารถสร้างเสริมหรือทดแทนได้ (irreplaceable natural resources) เป็นทรัพยากรที่นำไปใช้ประโยชน์แล้วหมดสิ้นไปโดยไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ทดแทนให้เหมือนเดิมได้ เช่น แร่ธาตุต่าง ๆ ปิโตรเลียม เป็นต้น


     2.  ทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้ไม่หมดหรือมีใช้ตลอดไป (non-exhausting natural resources) เป็นทรัพยากรที่สามารถเกิดขึ้นมาใหม่ทดแทนได้โดยไม่หมดสิ้นไป สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ตลอดทรัพยากรเหล่านี้มีอยุ่อย่างมากมายทั่วทุกหนแห่งในโลกและมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น น้ำ อากาศ แสงแดด เป็นต้น แต่ทรัพยากรธรรมชาติบางชนิดในกลุ่มนี้ หากไม่มีการจัดการที่เหมาะสมแล้ว จะทำให้เกิดความเป็นพิษ ซึ่งก่อให้เกิดโทษหรือส่งผลเสียต่อสิ่งมีชีวิตได้ เช่น การปนเปื้อนสารพิษในแหล่งน้ำ การเกิดแก๊สและฝุ่นละอองในอากาศต่าง ๆ เป็นต้น


     หากกล่าวโดยรวมแล้วทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะมีความสัมพันธ์กันทั้งในทางตรงและทางอ้อม โดยทรัพยากรธรรมชาติจะเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของสิ่งแวดล้อม หรือเป็นสิ่งแวดล้อมที่สามารถเกิดขึ้นเองได้ตามธรรมชาติ ซึ่งหากมีการใช้งานอย่างไม่ถูกต้องเหมาะสมแล้ว ทรัพยากรธรรมชาติเหล่านั้นก็ย่อมหมดสิ้นสูญหายไปได้ และจะส่งผลกระทบทำให้สิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะนำไปสู่ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับความเป็นอยู่ของมนุษย์ในที่สุด

ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
ดร.ฤทธิ์ วัฒนชัยยิ่งเจริญ . ชีวิตกับสิ่งแวดล้อมสิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต 

มาดูกันต่อว่าวิกฤติด้านทรัพยากรธรรมชาติมีอะไรบ้าง



วิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโลก

1. ปัญหาวิกฤตด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโลก                 ปัญหาวิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโลกในปัจจุบัน แบ่งได้เป็น 3 ปัญหาใหญ่  ดังนี้                
1.1 ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติลดความอุดมสมบูรณ์ ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ได้แก่ ดิน น้ำ ป่าไม้ สัตว์ป่า และแร่ธาตุต่าง            
1.2 ปัญหาการเกิดมลภาวะหรือมลพิษต่าง  ของสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำเน่าเสีย อากาศเป็นพิษ มลพิษของเสียง และมลพิษจากขยะมูลฝอย เป็นต้น            
1.3 ปัญหาที่เกิดจากการทำลายระบบนิเวศทางธรรมชาติ เช่น ฝนทิ้งช่วง ภัยจากความแห้งแล้ง อุทกภัย วาตภัย และภาวะโลกร้อนมีอุณหภูมิสูง เป็นต้น

2. สาเหตุที่ทำให้โลกเกิดวิกฤตด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม                 สาเหตุพื้นฐานของปัญหาวิกฤติการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโลกในปัจจุบัน คือ                 
2.1 การเพิ่มของจำนวนประชากรโลก                 ในปัจจุบัน ประชากรโลกมีประมาณ 6,314 ล้านคน (.. 2546)จึงเป็นสาเหตุโดยตรงทำให้เกิดการสูญเสียในทรัพยากรธรรมชาติอย่างรวดเร็ว และเกิดมลพิษของสิ่งแวดล้อมต่าง  ตามมา สรุปได้ดังนี้                 
(1) อัตราการเพิ่มของประชากร ประเทศที่พัฒนาแล่วมีอัตราการเพิ่มของประชากรค่อนข้างต่ำเฉลี่ยร้อยละ 0.1 ต่อปี ส่วนประเทศที่กำลังพัฒนามีอัตราการเพิ่มของประชากรอยู่ในเกณฑ์สูงเฉลี่ยร้อนละ 1.5 ต่อปี                
(2) การเพิ่มของจำนวนประชากรในชนบท ทำให้ผู้คนในชนบทอพยพเข้ามาหางานทำในเมืองเกิดการขยายตัวของชุมชนเมืองอย่างรวดเร็ว และยิ่งมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตภาคอุตสาหกรรมมากขึ้นก็ยิ่งส่งผลให้เกิดปัญหามลพิษของสิ่งแวดล้อมต่าง  ตามมา                 
(3) การเพิ่มของจำนวนประชากรส่งผลให้เกิดการแปรรูปทรัพยากรธรรมชาติเพื่อนำมาใช้ประโยชน์สนองความต้องการของประชาชนมากยิ่งขึ้น มีการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้เพื่อนำมาใช้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม เช่น พื้นที่ป่าลุ่มแม่น้ำอะเมซอน (Amazon) ในทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งทำให้ทั่วโลกหวั่นวิตกว่าจะเป็นการสูญเสียพื้นที่ปอดของโลก
2.2 ผลกระทบจากการใช้วิทยาการและเทคโนโลยี ในปัจจุบัน มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการผลิตด้านต่าง  อย่างกว้างขวางทั้งในภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรมและบริการ แต่ถ้านำเทคโนโลยีไปใช้อย่างไม่เหมาะสม อาจส่งผลกระทบทำให้เกิดการสูญเสียความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ดังเช่น 
(1) การสำรวจ ขุดเจาะ หรือขนส่งน้ำทันดิบจากแหล่งขุดเจาะในทะเลโดยทางเรือบรรทุกน้ำทัน อาจเกิดอุบัติเหตุทำให้น้ำมันรั่วไหลมีคราบน้ำมันปนเปื้อนบริเวณพื้นผิวน้ำ เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล และทำให้ระบบนิเวศของท้องทะเลต้องเสียความสมดุลไป
(2) การสร้างเขื่อนและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ทำให้สูญเสียพื้นที่ป่าไม้จำนวนมาก
(3) การตั้งโรงงานอุตสาหกรรมอย่างหนาแน่น ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ เสียง และแหล่งน้ำตามธรรมชาติ เป็นต้น 

3. สรุปวิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโลก                
3.1 วิกฤตการด้านทรัพยากรธรรมชาติของโลก มีดังนี้
(1)   การตัดไม้ทำลายป่า และการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ 
(2)   ความเสื่อมโทรมของดิน และการชะล้างพังทลายของดิน 
(3)   การขาดแคลนทรัพยากรน้ำจืด
3.2 วิกฤตการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมของโลก 
(1)   การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (ภาวะโลกร้อน และชั้นโอโซนถูกทำลาย
(2)   มลพิษทางอากาศ 
(3)  หมอกควัน และฝนกรด 
(4)   ปรากฏการณ์เรือนกระจก (Green house effect) 
(5)   ปรากฏการณ์เอลนิโญ (El Nino) 
(6)   การละลายของธารน้ำแข็งและภาวะน้ำท่วม
(7)   การเพิ่มขึ้นของขยะเทคโนโลยี

การอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคต่างๆของโลก
(1) ปลูกต้นไม้เพื่อทดแทนของเดิมที่ถูกทำลายไป
(2) อนุรักษ์ป่าไม้ไว้ไม่ให้บุกรุกไปสร้างบ้านเรือนจนกินเนื้อที่ป่ามาก
(3) ควบคุมดูแลการใช้น้ำ ไฟ อย่างประหยัด

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอพระเจ้าเปิดเผยและสำแดงกับอ.ตามที่อ.ร้องทูลคะ
    เพื่อทุกครั้งที่อ.แบ่งปันจะนำมาซึ่งประโยชน์สูงสุดตามน้ำพระทัยของพระองค์

    พิมพ์ๆอยู่ ก็นึกถึงเพลงๆ นี้(จำชื่อเพลงไม่ได้คะแต่เนื้อประมาณนี้)

    ตาของผู้รับใช้..จ้องมองนายของเขา สายตาของข้าจ้องดูเช่นกัน
    ขอบูชาพระเจ้าผู้ทรงเมตตา ดวงตาข้าจะมองจ้องจับที่พระองค์

    ตอบลบ