วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

PP Explore Vietnam

PP Explore Vietnam

หากเราพูดถึงประเทศแถบอินโดจีน นั่นหมายถึง ประเทศเมียนมาร์ ลาว เวียดนาม กัมพูชา รวมทั้งประเทศไทย บรรดาเผ่าพันธุ์กลุ่มต่างๆที่อาศัยในประเทศไทยจะมีจำนวนหนึ่งที่มีอยู่ในประเทศแถบอินโดจีนด้วย ความจริงแล้วกลุ่มคนเหล่านี้อพยพย้ายมาจากประเทศจีนลงมาทางตอนใต้
ครั้งนี้เราจะลองมาค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับชาวเวียดนามและเผ่าพันธุ์ต่างๆกันบ้าง จะขอพูดถึง 2 กรณีด้วยกันคือคนในเวียดนามและคนไทยเชื้อสายเวียดนาม ซึ่งได้ย้ายมาจากประเทศเวียดนามอาศัยในเมืองไทยถึง 3 ชั่วอายุคนแล้ว โดยเฉพาะที่จังหวัดนครพนม "นครพนม" นับได้ว่าเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีชาวเวียดนามอพยพมาอยู่อาศัยเป็นจำนวนไม่น้อย พวกเขาเหล่านี้หลบหนีภัยสงครามข้ามลาวและมายังผืนแผ่นดินสยามอันร่มเย็นตั้งแต่คราวที่ฝรั่งเศสเข้ายึดครองในสมัยรัชกาลที่ 5 และตอนสงครามอินโดจีน

ในตอนเช้าตรู่และยามเย็นบริเวณตลาดเทศบาลและตลาดโต้รุ่งเราจะเห็นคนไทยเชื้อสายเวียดนามยังคงขายอาหารที่เป็นลักษณะเฉพาะของชาวเวียดนามอยู่ไม่ว่าจะเป็นข้าวต้มเส้น แบ๋งก๋วนขนมกินเล่นแบบเวียดนาม อีกทั้งขนมปังบาเก็ต และไข่กระทะให้ได้ลองลิ้มชิมรส
อย่างไรก็ตามที่นี่ยังมีโรงเรียนสอนภาษาเวียดนามให้กับคนนครพนมเพื่อให้ยังคงสามารถอ่านและเขียนภาษาเวียดนามได้อย่างคล่องแคล่วโดยตั้งชื่อว่า"โรงเรียนสอนภาษาเพื่อนบ้าน" ซึ่งมีทั้งเด็กๆและผู้ใหญ่ที่สนใจในภาษาดั้งเดิมของตนมาเรียนเป็นจำนวนมาก
สำหรับชาวไทยเชื้อสายเวียดนามที่นี่ไม่ได้มีการจัดตั้งเป็นสมาคมอย่างเช่นชาวไทยเชื้อสายจีนที่มีการตั้งสมาคมรวมตัวกันอย่างเหนียวแน่นตามแซ่และเชื้อสายในหลายจังหวัดของประเทศไทย "คนไทยเชื้อสายเวียดนามที่นี่จะรวมตัวกันบางโอกาสอย่างเช่นหากมีงานศพหรืองานแต่งงานก็จะมีการพบปะกันบ้างเป็นครั้งคราว"
คนไทยเชื้อสายเวียดนามรุ่นเก่าที่ย้ายเข้ามาในไทยในยุคแรกนั้นจะประกอบอาชีพเกษตรกรรม แต่ปัจจุบันนี้มีจำนวนไม่น้อยที่สามารถก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาได้ในระดับนักธุรกิจแนวหน้าของจังหวัด ซึ่งร้านค้าในตัวเทศบาลส่วนใหญ่นั้นจะเป็นของลูกหลานชาวเวียดนามทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามยังมีชาวไทยเชื้อสายเวียดนามที่ยังคงรักที่จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมปลูกผักทำไร่ ไถนาซึ่งส่วนใหญ่อยู่นอกเขตเทศบาลอย่างชุมชนที่บ้านนาจอก บ้านพลบก บ้านดอนโมง บ้านหนองแสง บ้านวัดป่า และบ้านนาราชควาย ในเขตอ.เมือง นครพนม
"บ้านนาจอก" บ้านแห่งนี้อยู่ในเขตอ.เมือง ซึ่งในกลุ่มนักปฏิวัติยุคคอมมิวนิสต์ฟูเฟื่องจะรู้จักกันว่าที่แห่งนี้เป็นจุดหนึ่งในไทยที่อดีตประธานาธิบดีโฮจิมินห์ของเวียดนามหรือที่เรียกกันสั้นๆว่าลุงโฮใช้เป็นที่พำนักและวางแผนเพื่อกลับไปกอบกู้เอกราช ในปัจจุบันหมู่บ้านแห่งนี้ได้ประกาศเป็นหมู่บ้านมิตรภาพไทย – เวียดนาม นับได้ว่าหมู่บ้านแห่งนี้เป็นคนไทยเชื้อสายเวียดนามทั้งหมู่บ้านที่มีบรรพบุรุษอพยพมาจากจังหวัดห่าติ๋งห์

สำหรับประเทศเวียดนามเองมีประชากรถึง 84,238,000 คน (อันดับที่ 12) ในขณะที่มีพื้นที่ประเทศ 331,689 กม.² (อันดับที่ 65) การเมืองของเวียดนามมีเสถียรภาพ เนื่องจากมีพรรคคอมมิวนิสต์ เป็นองค์กรที่มีอำนาจ สูงสุดผูกขาดการชี้นำภายใต้ระบบผู้นำร่วม (collective leadership) ที่คานอำนาจระหว่างกลุ่มผู้นำ ประเทศเวียดนามแบ่งเป็น 59 จังหวัด (tỉnh: ติ้ญ) และ 5 เทศบาลนคร* มีภาษาที่ใช้ 103 ภาษา จากการสำรวจในปี พ.ศ. 2542 ประเทศเวียดนามมีประชากรถึง 80% ที่ถือว่าตนเองไม่มีศาสนา ที่เหลือนั้นนับถือ ลัทธิเต๋า พุทธมหายาน โรมันคาตอลิก โปรแตสเตนท์ และ อื่นๆ แต่ก็มีชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นชาวจาม
จากการศึกษาของธนาคารโลกพบว่าในช่วงทศวรรษที่ 1980 เวียดนามเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดประเทศหนึ่ง ประชากรประมาณร้อยละเจ็ดสิบมีชีวิตความเป็นอยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจน ภายหลังการปฏิรูป Doi Moi ในปี 1986 ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจของเวียดนาม ได้เปลี่ยนแปลงจากการวางแผนไปสู่การใช้กลไกตลาด มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยใช้การส่งออกเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ มีการให้สิทธิประโยชน์ แก่นักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศประกอบกับการที่เวียดนามเป็นประเทศที่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ ประชาชนมีการศึกษาดี พูดได้หลายภาษา มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล และมีค่าแรงต่ำ ทำให้สามารถดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศได้อย่างต่อเนื่อง
เวียดนามตั้งเป้าไว้ว่า จะต้องเป็นประเทศอุตสาหกรรมให้ได้ภายในปี 2020 โดยมีหลักการพัฒนาประเทศว่า “ผู้คนมั่งมี ประเทศชาติเข้มแข็ง มีความเสมอภาค เป็นประชาธิปไตย และมีสังคมที่ก้าวหน้า” (Prosperous people, strong nation, equal, democratic and civilized society)
เวียดนามถือได้ว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งในกลุ่มอินโดจีน ได้พัฒนาเรื่องการค้าและการท่องเที่ยวรวดเร็วมาก มีสถานที่และโบราณสถานที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นฮาลองเบย์ ฮอยอัน เว้ และมิเซิล ถือว่าเป็นมรดกโลกแห่งหนึ่งที่ได้รับจาก UNESCO เมืองนาธานเป็นเมืองที่ชายหาดสวยงามและมีชื่อเสียง ไม่แพ้ภูเก็ต เมืองดาลัดเป็นเมืองสวิสเซอร์แลนด์ในเอเชีย เมืองเดียนเบียนฟูใช้ภาษาแบบภาษาไทยอย่างชัดเจน ฮานอย ดานัง เว้ และโฮจิมินห์ เป็นเมืองที่คนไทยรู้จักดี
ถ้าเราจะนำความรักของพระเจ้าไปสู่พวกเขา เราอาจเริ่มต้นจากบ้านเราก่อน โดยเฉพาะที่จังหวัดนครพนม หากเรามีคนเชื้อสายเวียดนามสนใจเรื่องราวพระเจ้า ไม่ช้าเราคงได้เห็นคริสตจักรของคนเวียดนามถือกำเนิดขึ้นมาก็เป็นไปได้ โปรดอธิษฐานเผื่อ อย่าลืมว่า ถ้าท่านมีความคิดดีดี ข้อมูลดีดี ส่งมาได้ที่ผม ppexplore@gmail.com ครั้งต่อไป เราจะลองไปสำรวจดูประเทศเมียนมาร์บ้างว่าเป็นอย่างไร



ข้อมูลจาก wikipedia บทความจากนสพ.ผู้จัดการ และ เว็บไซค์ของกระทรวงการต่างประเทศ thaiindochina.com หน้าต่างความคิด : เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว คณะเศรษฐศาสตร์ กรุงเทพธุรกิจ

ตอน “ท่านรู้หรือไม่ว่าประเทศไทยของเรามีกี่เผ่าพันธุ์ 2”

PP Explore (2)

ครั้งที่ผ่านมาเราได้เริ่มเห็นภาษาต่างๆที่ใช้ในประเทศที่เราอาศัยอยู่ ทำให้ผมนึกถึงพระคัมภีร์ วิวรณ์ 7:9 อีกครั้งหนึ่ง ต่อจากนั้นมา ข้าพเจ้าก็มองดู และ ดูเถิด คนมากมายเหลือคณนามาจากทุกเผ่าพันธุ์ ทุกชาติทุกภาษา คนเหล่านั้นสวมเสื้อสีขาว ถือใบตาลยืนอยู่หน้าพระที่นั่ง และต่อพระพักตร์พระเมษโปดก
พระคัมภีร์ได้บรรยายให้เราเห็นว่า ทุกชาติ ทุกเผ่าพันธุ์ ทุกคน ทุกภาษา จะมาถึงพระเจ้า ดังนั้นไม่เพียงเราจะนำทุกชนชาติมาหาพระองค์ แต่เผ่าพันธุ์ต่างๆที่แม้ไม่ได้ดำรงสภาพความเป็นประเทศก็ต้องมาหาพระเจ้าด้วยเช่นกัน เราจะเห็นว่าในประเทศที่เราอยู่จะมีบางกลุ่มบางเผ่าพันธุ์แม้มีจำนวนประชากรมากเมื่อรวมกับเผ่าพันธุ์นั้นๆในประเทศอื่นๆด้วยแต่ไม่ได้มีสภาพความเป็นประเทศ เขาก็ต้องมาหาพระเจ้าด้วย และในท่ามกลางเผ่าต่างๆนั้น ยังแยกย่อยลงไปถึงภาษาที่ใช้อาจไม่เหมือนกันด้วยแม้เป็นเผ่าเดียวกันดังเราได้เห็นมาบ้างแล้วในครั้งที่ผ่านมา ครั้งนี้เราจะดูต่อ 74 ภาษาที่มีใช้กันในบ้านเรานั้นมีอะไรบ้าง
Lahu 32,000 คนในประเทศไทย ที่จังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำปาง ตาก 119 หมู่บ้าน และยังมีบ้างที่ย้ายถิ่นที่อยู่มาจากประเทศเมียนมาร์และลาว 411,476 คนอยู่ในประเทศจีน 8,702 คนในประเทศลาว 125,000 คนในประเทศเมียนมาร์ 6,874 คนในประเทศเวียดนาม
Lahu Shi 20,000 คนในประเทศไทยในค่ายผู้อพยพใกล้พรมแดนประเทศลาว สมัยก่อนอยู่ในค่ายที่อ.เชียงคำ เดี๋ยวนี้อยู่ในค่ายใกล้อ.ปัว จ.น่าน 3,240 คนในประเทศลาว 5,000 คนในประเทศจีน 10,000 คนในประเทศเมียนมาร์ 6,874 คนในประเทศเวียดนาม
Lamet 100 คนในประเทศไทย ที่จังหวัดลำปาง เชียงราย 16,740 คนในประเทศลาว
Lawa, Eastern 7,000 คนทางภาคเหนือ ที่จังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย 1 หมู่บ้านที่อำเภอเวียงป่าเป้า
Lawa, Western 7,000 คนในประเทศไทย หมู่บ้านหลายแห่งในจังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน 75,000 คนในประเทศจีน
Lisu 16,000 คนในประเทศไทย ที่จังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ตาก สุโขทัย กำแพงเพชร มีบ้างที่อพยพไปทางตะวันตกเฉียงเหนือจากประเทศเมียนมาร์ 580,000 คนในประเทศจีน 1,000 คนในประเทศอินเดีย 126,000 คนในประเทศเมียนมาร์
Lü 83,000 คนในประเทศไทย ที่จังหวัด เชียงราย พะเยา ลำพูน น่าน อำเภอเชียงคำ และทั่วภาคเหนือ 250,000 คนในประเทศจีน 134,100 คนในประเทศลาว 200,000 คนในประเทศเมียนมาร์ 4,964 คนในประเทศเวียดนาม
Lua' 6,281 คนทางซีกตะวันออก อ.ปัว จ.น่าน และบนพรมแดนไทย-ลาว
Mal 3,000 ถึง 4,000 คนในประเทศไทย ทางตะวันออกของอ.ปัวและอ.เชียงคำ หมู่บ้านใกล้พรมแดนลาวตอนเหนือ จ.น่าน 23,193 คนในประเทศลาว
Malay มีบางหมู่บ้านในจังหวัดระนอง 7,181,000 คนในประเทศมาเลเซีย 10,000,000 คนในประเทศอินโดนีเซีย 396,000 คนในประเทศสิงคโปร์ และประเทศบรูไน
Malay, Pattani มีทั้งหมด 3,100,000 คน แบ่งเป็น 2,600,000 คนทางภาคใต้ อ.จะนะ จ.สงขลาตอนเหนือข้ามไปตอนใต้ ปัตตานี นราธิวาส ยะลา สายบุรี ตากใบ และ 500,000 คนในกรุงเทพฯ และที่อื่นๆ
Malay, Satun มีบางหมู่บ้านใกล้จังหวัดสตูล และไม่สามารถประมาณการจำนวนได้ที่รัฐเคดาร์ ประเทศมาเลเซีย
Mlabri 300 คนในประเทศไทย พื้นที่พรมแดนลาว จังหวัดพะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เลย และบางทีมีในจังหวัดอื่นๆ พูดภาษาลาว 24 คนในประเทศลาว
Mok 7 คน ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ ของจังหวัดเชียงใหม่ บนแม่น้ำวัง
Moken ชายฝั่งตะวันตก ภาคใต้ของไทย ภูเก็ต พังงา กระบี่ ระนอง 7,000 คนในประเทศเมียนมาร์
Moklen 1,500 คนทางชายฝั่งตะวันตก ภาคใต้ของไทย ภูเก็ต พังงา
Mon 107,630 คนในประเทศไทย บนพรมแดนประเทศเมียนมาร์ กาญจนบุรี ปทุมธานี ราชบุรี สุราษฎร์ธานี ลพบุรี โคราช ตอนเหนือและใต้ของกรุงเทพฯ 742,900 คนในประเทศเมียนมาร์
Mpi 900 คนที่จังหวัด แพร่ พะเยา 2 หมู่บ้าน
Nyahkur 10,000 คนในประเทศไทย ภาคกลางของไทย โคราช เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ
Nyaw 50,000 คนในประเทศไทย ที่จังหวัด สกลนคร หนองคาย นครพนม
Nyeu 200 คนที่จังหวัดศรีสะเกษ
Palaung, Pale 5,000 คนในประเทศไทย 257,539 คนในประเทศเมียนมาร์ 5,000 คนในประเทศจีน
Phai 31,000 คนในประเทศไทย อ.ทุ่งช้าง จังหวัดน่าน พูดภาษาลาว 15,000 คนในประเทศลาว
Phu Thai 156,000 คนในประเทศไทย ที่จังหวัด นครพนม อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ สกลนคร 154,400 คนในประเทศลาว 209,000 คนในประเทศเวียดนาม
Phuan 98,605 คนในประเทศไทย ที่จังหวัด อุทัยธานี พิจิตร เพชรบูรณ์ ลพบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี นครนายก ปราจีนบุรี อุดรธานี เลย และ 1 หมู่บ้านทางตอนใต้ของกรุงเทพฯ พูดภาษาลาว 106,099 คนในประเทศลาว
Phunoi มีอยู่บ้างที่จังหวัดเชียงราย 35,635 คนในประเทศลาว
Pray 3 38,808 คนในประเทศไทย กระจายไปทั่วอ.ทุ่งช้างและอ.ปัว
Saek 11,000 คนในประเทศไทย ทางภาคอีสาน ที่จังหวัดนครพนม 14,000 คนในประเทศลาว
Shan 60,000 คนในประเทศไทย ที่จังหวัด แม่ฮ่องสอน อ.เวียงแหง จ.เชียงราย เชียงใหม่ แม่สาย ตาก ตามพรมแดนตะวันตกเฉียงเหนือ 3,200,000 คนในประเทศเมียนมาร์
Sô 58,000 คนในประเทศไทย ที่จังหวัด นครพนม สกลนคร หนองคาย กาฬสินธุ์ 2 ฝั่งแม่น้ำโขง 53 หมู่บ้านในไทย 102,000 คนในประเทศลาว
Tai Dam 700 คนในประเทศไทย จังหวัดเลย 699,000 คนในประเทศเวียดนาม 50,000 คนในประเทศลาว
Tai Nüa มีอยู่เช่นกันในภาคเหนือของประเทศเวียดนาม 250,000 คนในประเทศจีน 35,000 คนในประเทศลาว 72,400 คนในประเทศเมียนมาร์
Thai 20,182,571 คนในประเทศไทย และมีในประเทศสิงคโปร์ ยูเออี สหรัฐอเมริกา
Thai Sign Language 51,000 คนในประเทศไทย
Thai Song 32,307 คนในประเทศไทย ที่จังหวัด กาญจนบุรี เพชรบุรี พิษณุโลก นครสวรรค์ นครปฐม สุพรรณบุรี
Thai, Northeastern 15,000,000 คน อีสาน 17 จังหวัด อย่างน้อย 1,000,000 คนในกรุงเทพฯ
Thai, Northern 6,000,000 คนในประเทศไทย ที่จังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน ฮอด น่าน พะเยา แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก 9,396 คนในประเทศลาว
Thai, Southern 5,000,000 คนในประเทศไทย ชุมพร นครศรีธรรมราช รวมทั้งหมด 14 จังหวัด
Tonga 300 คน 2 พื้นที่ในภาคใต้ และประเทศมาเลเซีย
Ugong 80 คน ที่จังหวัดกาญจนบุรี อุทัยธานี สุพรรณบุรี
Urak Lawoi' 3,000 คน จังหวัดภูเก็ต ชายฝั่งภาคใต้ของไทย
Yong 12,561 คน ที่จังหวัด เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน และมีในตอนเหนือของประเทศเมียนมาร์ ที่เมืองยอง
Yoy 5,000 คนในประเทศไทย ที่จังหวัดสกลนคร 1,000 คนในประเทศลาว
นี่คือทั้งหมด 74 ภาษาที่มีใช้กันในประเทศไทยของเรา หากเราถามว่าเขาเหล่านี้ได้มาถึงพระคุณความรักของพระเจ้าบ้างหรือยัง สามารถตอบได้ว่ายังต้องเผยแผ่ความรักของพระเจ้าไปอีกมาก ถ้าเราอยากรู้มากขึ้นกว่านี้ว่าสภาพมารู้จักพระเจ้าของพวกเขาเป็นอย่างไร รูปร่างหน้าตาของเขาเป็นแบบไหน ฯลฯ ท่านสามารถไปดูในรายละเอียดได้ที่ http://www.joshuaproject.net/peopctry.php อย่าลืมว่า ถ้าท่านมีข้อมูลดีดี หรือมีข้อคิดสิ่งใดที่เป็นประโยชน์กับงานพระเจ้า สามารถส่งมาได้ที่ ppexplore@gmail.com
ครั้งหน้าเราจะเริ่มออกไปสำรวจกลุ่มคนที่อยู่ไกลตัวของเราออกไปบ้าง ได้แก่กลุ่มคนที่อยู่ในประเทศแถบอินโดจีน สภาพของเขาเหล่านั้นเป็นอย่างไรกันบ้าง มาสำรวจโลกร่วมกับผมได้ที่นี่ PP Explore

ตอน “ท่านรู้หรือไม่ว่าประเทศไทยของเรามีกี่เผ่าพันธุ์”

ชื่อคอลัมน์ : PP Explore
ผู้เขียน : ประภพ ภูมิวิทยา
สาระสำคัญ : สำรวจข้อมูลนานาประเทศ นานาอารยธรรม นานาเผ่าพันธุ์
กลุ่มเป้าหมาย : คริสตชน
จุดมุ่งหมาย : ให้ข้อมูลเชิงพันธกิจ เพื่อนำไปสู่การมีภาระใจและมีส่วนร่วมในพระมหาบัญชาของพระเยซู


โดย… ประภพ ภูมิวิทยา
PP Explore

ตอน “ท่านรู้หรือไม่ว่าประเทศไทยของเรามีกี่เผ่าพันธุ์”

ตัวของผมสนใจการทำพันธกิจ เพราะรู้ว่าพระเจ้าทรงสนพระทัยมนุษย์ทุกคนที่อาศัยรวมกันอยู่บนโลกใบนี้ และพระเจ้าสนพระทัยแบบเป็นปัจเจกบุคคล นั่นเพราะเหตุที่พระเจ้าห่วงใยสิ่งใด ผมจึงห่วงใยในสิ่งที่พระเจ้าทรงห่วงใยด้วย
พระเจ้าทรงสนพระทัยและห่วงใยมนุษย์มากยิ่งนัก ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นใครมาจากไหน มีผิวสีอะไร พูดภาษาอะไร หรือแม้แต่กลุ่มคนที่ไม่มีภาษาเขียนเป็นของตนหรือถูกตราว่าเป็นมนุษย์กลุ่มที่ไร้ความศิวิไล พระธรรมวิวรณ์บอกชัดเจนว่าในที่สุดต่อหน้าบัลลังก์ของพระคริสต์จะมีมวลมนุษย์เหลือคณานับทั่วทุกเผ่าพันธุ์ นั่นคือไม่เว้นสักเผ่าพันธุ์เดียว แม้จะเป็นกลุ่มเผ่าพันธุ์เล็ก ๆ ที่มีปริมาณคนไม่มากนักที่ยังคงมีชีวิตและหลงเหลืออยู่ในโลกนี้
วิวรณ์ 7:9 ต่อจากนั้นมา ข้าพเจ้าก็มองดู และ ดูเถิด คนมากมายเหลือคณนามาจากทุกเผ่าพันธุ์ ทุกชาติทุกภาษา คนเหล่านั้นสวมเสื้อสีขาว ถือใบตาลยืนอยู่หน้าพระที่นั่ง และต่อพระพักตร์พระเมษโปดก


บทความนี้ผมจึงตั้งใจรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับคนซึ่งพระเจ้าทรงสนพระทัย เพื่อเราจะมี ความเข้าใจในวิถีชีวิตของคนเหล่านั้น เพื่อจะได้สามารถทำงานร่วมกับพวกเขาอย่างมีความเข้าใจ

และนี่คือตัวอย่างคำถามที่เราจะค้นหาคำตอบด้วยกัน
ท่านรู้หรือไม่ว่าในประเทศไทยของเรา มีกี่เผ่าพันธุ์
แล้ว 238 ประเทศทั่วโลก ยังมีความแตกต่างด้านการใช้ภาษาอีกหรือไม่
เผ่าพันธุ์เริ่มแรกน่าจะมีผิวสีอะไร
อะไรที่น่าเป็นห่วงสำหรับงานพระเจ้าในโลกนี้
เราจะมีส่วนร่วมกันปิดจุดโหว่ต่าง ๆ เหล่านี้ได้อย่างไร
ฯลฯ
ให้เรามาช่วยกันค้นหาคำตอบเหล่านี้ได้ในบทความ ทั้งนี้หากท่านมีข้อมูลหรือความคิดดี ๆ
สามารถส่งมาร่วมกันแบ่งปันประสบการณ์และสาระได้ที่ ppexplore@gmail.com


เผ่าพันธุ์ในประเทศไทย
สำหรับตอนแรกของคอลัมน์นี้… ผมขอเริ่มการเขียนบทความจากกลุ่มเผ่าพันธุ์ต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ใน ภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย นั่นคือขอเริ่มเขียนจากกลุ่มคนใกล้ที่สุดจนไกลออกไป และชนชาติต่าง ๆ ในโลกนี้ ตามหลักการที่พระเยซูคริสต์ได้ให้แก่สาวกในการประกาศข่าวประเสริฐใน พระธรรมกิจการ 1:8 ว่า ให้ เริ่มต้นที่กรุงเยรูซาเล็ม ทั่วแคว้นยูเดีย แคว้นสะมาเรีย และไปจนถึงสุดปลายแผ่นดินโลก

ท่านผู้อ่านครับ เผ่าพันธุ์ต่างๆที่อาศัยรวมกันอยู่บนพื้นแผ่นดินไทยของเรานี้ นับว่ามีมากมายเลยครับ ซึ่งเราอาจนึกไม่ถึงเลยว่าจะมีมากมายเพียงนี้! แล้วคนเหล่านั้นได้รู้จักพระเจ้าและมีคริสตจักรรองรับหรือยัง ใครคือผู้ที่จะอาสาตัวทำพันธกิจกับคนเหล่านี้

ต่อไปนี้ คือเผ่าพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในแผ่นดินไทย
· Aheu 700 คน ในประเทศไทย อาศัยอยู่ในจังหวัดสกลนคร พูดภาษาลาว โดยมีประชากรทั้งหมด 2,520 คนในโลก
· Akha 60,000 คน อาศัยอยู่ใน จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน รวมทั้งสิ้น 250 หมู่บ้าน นอกจากนั้นยังพบว่ามีประชากรอาศัยอยู่ในประเทศเมียนมาร์ 200,000 คน ในประเทศจีน 130,000 คน ในประเทศลาว 58,000 คน และในประเทศเวียตนาม 1,261 คน
· Ban Khor Sign Language อาศัยอยู่ในประเทศไทย 2-3 หมู่บ้าน แต่ไม่สามารถประมาณการจำนวนคนได้
· Bisu อาศัยอยู่ในแถบตะวันตกเฉียงใต้ของ จังหวัดเชียงราย และตอนเหนือของจังหวัดลำปาง รวมทั้งสิ้น 1,000 คน และพบว่ามีประชากรอาศัยอยู่ในประเทศจีน 2,000 คน
· Blang อาศัยอยู่ที่ จังหวัดเชียงราย 1,200 คน โดยอยู่แถวบริเวณเขตพรมแดนอำเภอแม่สาย ทางตอนเหนือ 1,000 คน และอยู่ที่อำเภอแม่จัน 200-300 คน นอกจากนั้นมีอีกประมาณ 200 คนที่อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของกรุงเทพฯ ทำงานในสวน นอกจากนั้นพบว่ามีประชากรอาศัยอยู่ในประเทศจีน 24,000 คน และอาศัยอยู่ในประเทศเมียนมาร์ 12,000 คน
· Bru, Eastern อาศัยอยู่ในประเทศไทยจำนวน 5,000 คน ที่จังหวัดสกลนคร ประมาณ 12 หมู่บ้าน และที่จังหวัดอำนาจเจริญ 1 หมู่บ้าน และยังมีที่อาศัยอยู่ในประเทศลาว 69,000 คน และในประเทศ เวียตนาม 55,559 คน
· Bru, Western อาศัยอยู่ที่จังหวัดมุกดาหาร 20,000 คน
· Cham, Western อาศัยอยู่ในประเทศไทยที่ กรุงเทพฯ จำนวน 4,000 คน และในอดีตอาจมีในค่ายผู้อพยพ โดยมีประชากรอาศัยอยู่ในประเทศกัมพูชา 220,000 คน และในประเทศเวียตนาม 25,000 คน
· Chiangmai Sign Language ไม่สามารถประมาณการจำนวนที่แน่นอนได้
· Chinese, Hakka อาศัยอยู่ในประเทศไทย 58,000 คน ประเทศจีน 25,725,000 คน นอกจากนั้นมีในประเทศ Brunei French Guiana French Polynesia Indonesia (Java and Bali) Malaysia (Peninsular) Panama Singapore Suriname Taiwan
· Chinese, Mandarin อาศัยในประเทศไทย 5,880 คน ในประเทศจีน 867,200,000 คน นอกจากนั้นพบในประเทศ Brunei Indonesia (Java and Bali) Malaysia (Peninsular) Mongolia Philippines Singapore Taiwan
· Chinese, Min Dong ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยนั้นไม่สามารถระบุจำนวนได้ แต่ที่อาศัยอยู่ในประเทศจีนนั้นมีจำนวน 8,820,250 คน (นอกจากนั้นมีในประเทศ Brunei Indonesia (Java and Bali) Malaysia (Peninsular) Singapore)
· Chinese, Min Nan อาศัยในประเทศไทยจำนวน 1,081,920 คน และในประเทศจีนมีจำนวน 25,725,000 คน นอกจากนั้นมีในประเทศ Brunei Indonesia (Java and Bali) Malaysia (Peninsular) Philippines Singapore Taiwan
· Chinese, Yue อาศัยอยู่ในประเทศไทย 29,400 คน และในประเทศจีน 52,000,000 คน นอกจากนั้นมีในประเทศ Brunei Indonesia (Java and Bali) Malaysia (Peninsular) Panama Philippines Singapore)
· Chong อาศัยในประเทศไทย 500 คน จำนวนทั้งหมด 4 หมู่บ้านที่จังหวัดจันทบุรี และ จังหวัดตราด นอกจากนั้นพบว่ามีประชากร 5,000 คนในประเทศกัมพูชา
· Hmong Daw อาศัยในประเทศไทย 32,395 คน ที่จังหวัด เพชรบูรณ์ ตาก แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พิษณุโลก เลย สุโขทัย กำแพงเพชร แพร่ พะเยา อุตรดิตถ์ และลำปาง และมีประชากรอาศัยในประเทศจีนจำนวน 232,700 คน ในประเทศลาวจำนวน 169,800 คน และในประเทศเวียตนาม จำนวน 787,604 คน
· Hmong Njua อาศัยในประเทศไทย 33,000 คน ที่จังหวัดตาก น่าน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เพชรบูรณ์ เชียงราย พะเยา แพร่ เลย สุโขทัย กำแพงเพชร อุทัยธานี โดยมีประชากรอาศัยอยู่ในประเทศจีน 1,000,000 คน ในประเทศลาว 145,600 คน ในประเทศเมียนมาร์ 10,000 คน นอกจากนี้ยังมีที่อาศัยอยู่หลายเมืองในประเทศเวียดนาม
· Iu Mien อาศัยในประเทศไทยจนำวน 40,000 คน ที่จังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำปาง กำแพงเพชร น่าน สุโขทัย จำนวน 159 หมู่บ้าน (มีประชากรอาศัยอยู่ในประเทศจีน 383,000 คน ประเทศลาว 20,250 คน และในประเทศเวียตนาม 350,000 คน)
· Karen, Pa'o อาศัยในประเทศไทย 743 คน ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน และอาศัยอยู่ในประเทศ เมียนมาร์จำนวน560,000 คน
· Karen, Phrae Pwo อาศัยอยู่ที่ภาคเหนือของประเทศไทยด้านตะวันออกรวมจังหวัดแพร่ โดย ไม่สามารถระบุจำนวนได้
· Karen, Pwo Northern อาศัยในประเทศไทย 60,000 คน จากอ.ฮอด ถึง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ตามเส้นทางสาย 1099 ลงไปทางใต้ถึง อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่
· Karen, Pwo Western อาศัยในประเทศไทยจำนวน 50,000 คน ที่จังหวัดตาก อุทัยธานี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และที่อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ นอกจากนั้นยังมีประชากรอาศัยอยู่ 1,000,000 คน ในประเทศเมียนมาร์
· Karen, S'gaw อาศัยในประเทศไทยจำนวน 300,000 คน ที่จังหวัดตาก แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และจังหวัดเชียงรายใกล้พรมแทนประเทศเมียนมาร์ และอาศัยในประเทศเมียนมาร์จำนวน 1,284,700 คน
· Kayah, Eastern อาศัยในประเทศไทยจำนวน 98,642 คน ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน และมี ประชากรอาศัยในประเทศเมียนมาร์จำนวน 261,578 คน
· Kensiu อาศัยในประเทศไทย 300 คน ทางตอนใต้ของจังหวัดยะลา พัทลุง สตูล นราธิวาส โดยมีประชากรอาศัยในประเทศมาเลเซียจำนวน 3,000 คน
· Khmer, Northern อาศัยในประเทศไทยจำนวน 1,117,588 คน ที่จังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ โคราช
· Khmu อาศัยในประเทศไทยจำนวน 31,403 คน โดยกระจัดกระจายทั่วประเทศไทยที่ จังหวัดเชียงราย น่าน พะเยา นอกจากนั้น มีประชากรอาศัยในประเทศลาว 389,694 คน ในประเทศจีนจำนวน 1,600 คน ในประเทศเวียตนามจำนวน 56,542 คน และไม่สามารถระบุจำนวนได้ในประเทศเมียนมาร์
· Khün อาศัยในประเทศไทยจำนวน 6,281 คน ที่จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และที่อาศัยในประเทศเมียนมาร์ มีจำนวน 114,574 คน
· Kintaq บริเวณพรมแดนทางภาคใต้ของประเทศไทยแถบจังหวัดยะลา จำนวน 220 คนในประเทศ มาเลเซีย
· Korean มักอาศัยในกรุงเทพฯ (อาศัยในประเทศจีน 1,920,597 คน และอาศัยในประเทศญี่ปุ่น 670,000 คน
· Kuy อาศัยในประเทศไทยจำนวน 300,000 คน ที่จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี และร้อยเอ็ด และที่อาศัยในประเทศกัมพูชา มีจำนวน 15,495 คน ในประเทศลาว 51,180 คน
(อ้างอิงจาก http://www.ethnologue.com)

จากข้อมูลนี้ซึ่งเพียงแค่ส่วนหนึ่งยังไม่ถึงครึ่งของจำนวนเผ่าพันธุ์ที่พบในประเทศไทย ที่มีความแตกต่างหลากหลายของกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในแผ่นดินไทยทั้งทางด้านวัฒนธรรมและภาษาที่ใช้
ท่านผู้อ่านครับ ให้เราคาดหวังว่าเขาเหล่านี้ทั้งหมดจะสามารถมาถึงพระคุณความรักของพระเจ้าได้ เช่นเดียวกับเรา กรุณาอธิษฐานเผื่อเขาเหล่านี้ด้วย แล้วในตอนหน้าเราจะมาดูกันต่อว่าในประเทศของเรานี้ยังมี เผ่าพันธุ์อะไรอยู่อีกบ้าง และเราจะมีส่วนในพันธกิจที่พระเจ้าปรารถนาให้เราทั้งหลายมีส่วนร่วมกันรับผิดชอบในฐานะเป็นคนของพระองค์ได้อย่างไร