Matt 24:7 เพราะประชาชาติจะลุกขึ้นต่อสู้ประชาชาติ ราชอาณาจักรต่อสู้ราชอาณาจักร ทั้งจะเกิดกันดารอาหารและโรคระบาดอย่างร้ายแรงและแผ่นดินไหวในที่ต่างๆ
สวัสดีครับ ผมได้เขียน ได้รวบรวมเรื่องราวที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในโลกของเราใบนี้มาสองครั้งแล้ว ได้แก่ เรื่องพลังงาน โดยเฉพาะด้านน้ำมันที่คาดว่าจะมาถึงจุดที่ไม่คุ้มทุนภายในปี 2020 เมื่อมาถึงจุดนั้นโลกก็คงต้องเบนเข็มมาสู่การเอาพลังงานมาจากพืชที่ใช้ทำอาหารอย่างเต็มตัว ปัญหาต่างๆก็คงเกิดขึ้นตามมาอีกจากที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน ซึ่งท่านหาอ่านได้จากครั้งแรกที่เขียนเรื่องโลกในอนาคต พี่น้องลองคิดดูครับว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร ถ้าหากว่าในขณะปัจจุบันประเทศบางประเทศในโลกก็เดือดร้อนพออยู่แล้ว ด้วยเรื่องอาหารที่ไม่เพียงพอ ประจวบเหมาะกับต้องไปเผชิญกับการถูกแย่งพื้นที่เกษตรเพื่อไปปลูกพืชเพื่อใช้ทำน้ำมันเชื้อเพลิงแทนการปลูกเพื่อทำเป็นอาหารเลี้ยงดูประชากรในโลก แล้วยังมีเรื่องประชากรในโลกที่เพิ่มขึ้นก็ทำให้อาหารถูกแจกจ่ายเอาไปใช้ด้านต่างๆด้วยสัดส่วนที่น้อยลงไปเรื่อยๆอีก เดี๋ยวครั้งนี้เราจะมาดูเรื่องอาหารด้วยกันครับว่า อนาคตอาหารในโลกจะเป็นอย่างไร จะมีส่วนที่กระทบต่อประเทศไทยมากน้อยแค่ไหน และประเทศของเราสามารถมีส่วนช่วยประชากรในโลกนี้ได้อย่างไรบ้าง
เรื่องที่สองที่ได้นำมาลงไว้คือเรื่อง น้ำ สภาพความแปรปรวนของภูมิอากาศในโลกก็ส่งผลต่อเรื่องน้ำเช่นกัน ดังที่เราได้เห็นจากประเทศไทยของเรามาเมื่อปีที่แล้ว ในช่วงตอนต้นปีน้ำยังแทบจะไม่พอใช้ในประเทศอยู่เลย น้ำในเขื่อนเก็บน้ำแห้งขอด พอผ่านมากลายเป็นหน้าน้ำท่วมแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน น้ำสามารถท่วมได้บนที่ราบสูงเช่นโคราช สร้างความเดือนร้อนและเสียหายให้กับคนจำนวนมาก และน้ำนั้นก็ได้ไหลไปท่วมตามที่ต่างๆในจังหวัดทางภาคอีสานด้วย ไม่เพียงในภาคอีสาน แต่ภาคกลาง และใต้ก็ประสบกับปัญหาภาวะน้ำท่วมเช่นกัน ทั้งหมดเหล่านี้เราจะเห็นสภาพความผิดปกติของภูมิอากาศในโลกใบนี้ได้ โลกจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป คำพูดที่ว่า ในน้ำมีปลาในนามีข้าว จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ในโอกาสต่อๆไป ผมคงจะได้นำเรื่อง สภาพภูมิอากาศในโลกของเรา และเรื่องประชากรในโลกมาพูดกันต่อไปครับ
สำหรับครั้งนี้จะให้ดูเรื่อง อาหาร ก่อนครับ
มนุษย์เผชิญวิกฤตการณ์ อาหารและน้ำภายในปี 2030
จำนวนประชากรโลกที่เพิ่มมากขึ้นจะเป็นสาเหตุก่อเกิดภาวะขาดแคลนอาหาร พลังงาน และน้ำ ถึงขั้นวิกฤตทั่วโลกก่อนถึงปี 2030
นี่คือคำเตือนของศาสตราจารย์ จอห์น เบดดิงตัน หัวหน้าคณะนักวิทยาศาสตร์ของรัฐบาลสหราชอาณาจักร
จอห์น เบดดิงตัน กล่าวว่า ในที่ประชุม Sustainable Development UK 09 conference ว่าก่อนถึงปี 2030 ความต้องการทรัพยากรของมนุษย์จะก่อให้เกิดภาวะวิกฤตจากผลเลวร้ายที่ตามมา
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า ความต้องการอาหารและพลังงานจะกระโดดขึ้นไปถึง 50% และความต้องการน้ำจืดจะสูงขึ้น 30% ขณะที่ประชากรโลกเพิ่มขึ้นเป็น 8,300 ล้านคน นอกจากนั้นการเปลี่ยนแปลงของอากาศจะทำให้เหตุการณ์เลวร้ายยิ่งขึ้นไปอีกจนกระทั่งไม่อาจจะพยากรณ์ได้เลยทีเดียว
เบดดิงตันบอกว่า มันเป็นพายุมหาประลัยต่อพลังงาน อาหารและน้ำที่คุกคามทั่วทั้งโลก และว่า ขณะนี้มันยังไม่ได้กำลังดำเนินไปสู่การพังพินาศอย่างสมบูรณ์แบบ ทว่าสิ่งต่างๆ จะเริ่มต้นไปสู่ความน่าเป็นห่วงอย่างแท้จริง หากเราไม่จัดการแก้ปัญหานี้
วิกฤตการณ์ที่เห็นรางๆ อยู่ข้างหน้านี้จะคล้ายกันกับสิ่งที่เกิดในภาคการเงินในปัจจุบัน "ความกังวลใจใหญ่หลวงของผมก็คือ สิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศ นั่นคือจะเกิดการขาดแคลนน้ำและอาหาร"
เมื่อปีที่แล้วในระหว่างที่ราคาน้ำมันและสินค้าเพิ่มสูงขึ้นนั้น ประเด็นความมั่นคงทางด้านอาหารและพลังงานได้กลายมามีความสำคัญต่อวาระทางการเมืองเป็นอย่างยิ่ง
เบดดิงตันกล่าวถึงประเด็นนี้ด้วยความห่วงใยว่า เมื่อราคาสินค้าลดลงอีกครั้งหนึ่ง มันจะทำให้วาระนี้ไม่ได้รับความสนใจทั้งระดับภายในประเทศและนานาชาติอีกเลย และว่าเราไม่สามารถจะหาความพึงพอใจกับมัน เพียงแค่ราคาสินค้าที่ลดลงซึ่งไม่ได้หมายความว่าเราจะสามารถรู้สึกผ่อนคลายลงได้จริงๆ
เขาเสนอหนทางแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหารด้วยการปรับปรุงผลิตผลการเกษตรทั่วโลกโดยการพัฒนาพันธุ์พืชให้ทนต่อโรคและแมลง รวมทั้งวิธีปฏิบัติที่ดีกว่าเดิมและการเก็บเกี่ยวที่ดีกว่าเดิม
"ปัจจุบันจำนวน 30-40% ของพืชทั้งหมดเสียหายไปเพราะแมลงและโรคพืชก่อนการเก็บเกี่ยว อาหารดัดแปลงทางพันธุกรรมอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหานี้ด้วย เราต้องการพืชที่ทนทานต่อความแห้งแล้งและความเค็ม การผสมผสานกันระหว่างการตัดแต่งทางพันธุกรรมกับวิธีการปรับปรุงพันธุ์พืชที่ใช้วิธีมาตรฐาน" เบดดิงตันกล่าว
อย่างไรก็ตาม เขาเชื่อว่าปัญหานี้ไม่สามารถจะแก้ได้ตามลำพัง และต้องการให้ผู้กำหนดนโยบายในคณะกรรมาธิการยุโรปได้รับคำแนะนำทางวิทยาศาสตร์ระดับสูงเช่นเดียวกับที่ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ของสหรัฐอเมริกาได้รับ
ปัจจุบันปริมาณน้ำจืดของโลกจำนวน 70% ถูกนำไปใช้ในการเกษตร 20% ใช้ในอุตสาหกรรม และ 10% ใช้ในเมืองและที่อยู่อาศัย
แผนงานสหประชาชาติเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อม หรือยูเนป (United Nations Environment Programme-UNEP) พยากรณ์ว่าจะเกิดภาวะขาดแคลนน้ำในวงกว้างทั่วทั้งแอฟริกา ยุโรปและเอเชีย ก่อนปี 2025 โดยปริมาณน้ำจืดที่ใช้ต่อหัวของประชากรจะลดลงอย่างรุนแรง
ขณะเดียวกัน องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co operation and Development -OECD) ก็พยากรณ์ความเป็นไปได้เกี่ยวกับวิกฤตการณ์การขาดแคลนน้ำไว้ในรายงานที่ชื่อว่า Environmental Outlook to 2030 ว่าประชากรโลกมากกว่า 3,900 ล้านคนทั่วโลก จะได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรง
รายงานฉบับนี้เตือนว่า เหตุการณ์ที่น่ากลัวที่สุดนี้อาจเกิดขึ้นจริงในอนาคตอันใกล้นี้ถ้าโลกล้มเหลวในการลงมือจัดการแก้ไขปัญหาน้ำอย่างทันท่วงที
นักวิทยาศาสตร์บางคนบอกว่า ภาวะโลกร้อนคือตัวการใหญ่ที่สุดที่ทำให้โลกขาดแคลนน้ำ อุณหภูมิที่สูงขึ้นบริเวณภูเขาจะสามารถเปลี่ยนแปลงปริมาณฝนและหิมะ ผลที่ตามมาก็คือ ปริมาณฝนจะมากขึ้นส่วนปริมาณหิมะจะน้อยลง
ปรากฏการณ์เช่นนี้จะทำให้เกิดน้ำท่วมและการไหลของกระแสน้ำมากขึ้นในช่วงฤดูฝน ขณะที่ฤดูแล้งน้ำบนพื้นผิว หิมะ และน้ำแข็งจะเหลือน้อยลง
ปัจจุบันน้ำแข็งและหิมะในธารน้ำแข็งภูเขาทั่วโลกกำลังละลายเร็วกว่าในอดีต ในเอเชีย ธารน้ำแข็งบนเทือกเขาหิมาลัยต้นกำเนิดแม่น้ำสำคัญหลายสายในเอเชียกำลังละลายในอัตราเร่ง ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นอนาคตรางๆ แล้ว
ที่มา หนังสือพิมพ์มติชน
มาอ่านความคิดเห็นเรื่องอาหารจากนักวิชาการในไทยบ้างครับ
วิกฤติอาหาร
ส่องกล้องเศรษฐกิจ : ดร.อาภรณ์ ชีวะเกรียงไกร กรุงเทพธุรกิจ วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ปัจจัยท้าทายที่สำคัญประการหนึ่งของโลกในอนาคต นอกเหนือจากวิกฤติด้านพลังงานแล้ว คือ เรื่องของวิกฤติอาหาร อันเนื่องมาจากอัตราการเพิ่มขึ้นของความต้องการอาหารมีอยู่สูงกว่าปริมาณการผลิต การเพิ่มขึ้นของความต้องการของสินค้าเกษตรมาจากปัจจัยหลักดังต่อไปนี้
หนึ่ง การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรโลก ที่แม้ว่าอัตราการเพิ่มของประชากรโลก จะเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลงเหลือประมาณร้อยละ 1.15% ต่อปีในปัจจุบัน หรือคิดเป็นประชากรเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 77 ล้านคน และมีการคาดการณ์ว่าอัตราการเพิ่มของประชากรจะลงมาอยู่ประมาณ 1% ต่อปีในปี ค.ศ. 2020 และจะลดลงเหลือ ประมาณ 0.5% ต่อปีภายใน ค.ศ. 2050 หรือจะมีประชากรโลกประมาณ 9.2 ล้านคน คิดเป็นจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น 2,400 ล้านคน ภายในระยะเวลาอีกประมาณ 40 ปีข้างหน้า ในขณะที่พื้นที่สำหรับการเพาะปลูก หรือการผลิตสินค้าเกษตรกรรมนั้น จะมีจำนวนลดลง เนื่องจากพื้นที่ดินมีอยู่คงที่ แต่จะมีการนำเอาไปใช้เพื่อการผลิตทางอุตสาหกรรมในการก่อสร้างโรงงาน การนำไปก่อสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยตามการขยายตัวของเมือง
สอง การเพิ่มขึ้นของกลุ่มชนชั้นกลาง แม้ว่าประชากรส่วนใหญ่ในทวีปเอเชีย ยังคงอยู่ในชนบทและยากจน แต่การเติบโตของกลุ่มชนชั้นกลางนั้น กลับเพิ่มขึ้นอย่างมากตามการเติบโตอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจ และมีการคาดการณ์ว่าแนวโน้มนี้จะคงอยู่ต่อไป ทั้งนี้ ใน พ.ศ. 2533 ชนชั้นกลางในอินเดียเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 และในจีนร้อยละ 8.6 แต่ในปี 2550 อัตราการเติบโตนั้นเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 30 และ 70 ตามลำดับ รายได้ที่ดีขึ้นของชนชั้นกลางทำให้คนเหล่านี้เปลี่ยนวิถีชีวิตและวิถีการบริโภคอาหารการกิน โดยเฉพาะความต้องการบริโภคที่หลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะการกินเนื้อสัตว์มากขึ้น ซึ่งทำให้อุปสงค์ในทรัพยากรทางการเกษตรเพิ่มตามไปด้วย ทั้งนี้ หัวหน้าของสถาบันวิจัยนโยบายอาหารนานาชาติได้กล่าวไว้ในปี 2551 ว่า การเปลี่ยนแปลงการบริโภคอาหารในกลุ่มประชากรที่มีรายได้สูงขึ้นเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ที่ส่งเสริมให้ราคาอาหารสูงขึ้นทั่วโลก
สาม การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลก ภูมิอากาศทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ผิดปกติที่เกิดขึ้นทั่วโลก ที่นำไปสู่การเกิดภัยพิบัติ ซึ่งทำให้กระทบต่อการผลิตอาหารทั่วโลก และทำให้สำรองของสินค้าเกษตรทั่วโลกลดลง ตัวอย่างเช่น การผลิตข้าวทั่วโลกมีอยู่สูงถึงประมาณปีละประมาณ 400 ล้านตัน แต่ข้าวที่มีการส่งออกขายทั่วโลกมีอยู่ประมาณเพียงปีละ 30 ล้านตัน หรือคิดเป็นเพียงประมาณร้อยละ 10 ของผลผลิตทั่วโลกเท่านั้น สะท้อนว่าประเทศต่างๆ จะสร้างสำรองของสินค้าเกษตร และเน้นการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น
สี่ ความต้องการสินค้าเกษตรสำหรับการผลิตพลังงานชีวะมวลประเภทไบโอดีเซลมากขึ้น ทำให้มีการแปลงพื้นที่เพาะปลูกพืชอาหารไปสู่พืชพลังงานมากขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะน้ำมันปาล์ม มันสำปะหลัง และอ้อย เป็นต้น
จากความต้องการอาหารที่เพิ่ม จึงเป็นปัญหาหนึ่งที่ทั่วโลกกำลังจะเผชิญในอนาคต เพราะการขาดแคลนอาหารจะเป็นเรื่องใหญ่ของโลก ที่จะก่อให้เกิดความอดอยากอาหารประการหนึ่ง และการปรับตัวสูงขึ้นของราคาอาหารดังที่กำลังประสบอยู่ในปัจจุบัน แต่ประเทศไทยนั้นกล่าวได้ว่าเป็นประเทศที่โชคดีที่มีฐานเศรษฐกิจของภาคเกษตรมั่นคง และเป็นวิถีชีวิตของคนไทยมาเป็นเวลายาวนาน มีผลผลิตภาคอาหารเพียงพอสำหรับการบริโภคภายในประเทศแล้ว ยังเหลือส่งออกอาหารไปสู่ตลาดโลก ที่คาดว่าจะยังไม่ประสบปัญหาการขาดแคลนอาหารแต่สิ่งที่ต้องเผชิญ ก็คือ การปรับตัวสูงขึ้นของราคาอาหารโดยรวม
ประเทศไทยมีข้อได้เปรียบที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ทั้งป่าไม้ น้ำ ที่ดินทำกิน และภูมิอากาศ ควบคู่ไปกับความหลากหลายของทรัพยากร แต่ต้องยอมรับว่าการพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติจะทำได้น้อยลง เพราะทรัพยากรเสื่อมโทรมและการลดลงอย่างต่อเนื่อง การจะลดผลกระทบของวิกฤติอาหารที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั้นมีความจำเป็นต้องนำเอาเทคโนโลยีและวิทยาการที่ทันสมัยมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพื่อให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้นพอเพียงกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น และเพื่อที่จะสร้างให้ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารหลัก
ข้อเขียนของดร.อาภรณ์ ตอนสุดท้ายที่เขียนนี้ ยังสร้างความสงสัยให้กับผมว่า ประเทศไทยจะเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารหลัก ได้จริงหรือ ถ้่าภูมิอากาศในโลกเปลี่ยนไปและทำให้น้ำในทะเลสูงขึ้นท่วมพื้นที่เพาะปลูกในแถบภาคกลางในอนาคต ดังที่ท่านได้ฟังดร.อาจอง ได้พูดไปแล้ว ซึ่งผมได้นำมาลงไว้ในบล็อกก่อนหน้านี้ พื้นที่เพาะปลูกในภาคกลาง เป็นพื้นที่การเกษตรที่ส่งออกข้าว ฯลฯ ไปเลี้ยงดูประชากรในโลกได้จริง แต่.. ถ้าหากว่า สิ่งที่ดร.อาจอง ได้เตือนเราไว้เป็นจริง อะไรจะเกิดขึ้นต่อไป
ทั้งหมดที่นำบทความต่างๆมาลงไว้ให้ท่านได้ดู พินิจพิจารณา เพื่อให้ท่านได้ทราบสถานการณ์ความเป็นไปต่างๆในโลกของเรา เพื่อท่านจะได้เตรียมตัวเตรียมใจของท่านไว้ให้พร้อม หาทางออก หาทางรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น
นี่เป็นสิ่งที่พระเจ้าได้เตือนเราไว้ให้ทราบสิ่งที่จะเกิดขึ้นซึ่งได้กล่าวถึงไว้แล้วในพระคัมภีร์มิใช่หรือ...
ท่านสามารถไปชมหัวข้อเดิมได้ คำพยากรณ์ในพระคัมภีร์
สวัสดีครับ ผมได้เขียน ได้รวบรวมเรื่องราวที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในโลกของเราใบนี้มาสองครั้งแล้ว ได้แก่ เรื่องพลังงาน โดยเฉพาะด้านน้ำมันที่คาดว่าจะมาถึงจุดที่ไม่คุ้มทุนภายในปี 2020 เมื่อมาถึงจุดนั้นโลกก็คงต้องเบนเข็มมาสู่การเอาพลังงานมาจากพืชที่ใช้ทำอาหารอย่างเต็มตัว ปัญหาต่างๆก็คงเกิดขึ้นตามมาอีกจากที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน ซึ่งท่านหาอ่านได้จากครั้งแรกที่เขียนเรื่องโลกในอนาคต พี่น้องลองคิดดูครับว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร ถ้าหากว่าในขณะปัจจุบันประเทศบางประเทศในโลกก็เดือดร้อนพออยู่แล้ว ด้วยเรื่องอาหารที่ไม่เพียงพอ ประจวบเหมาะกับต้องไปเผชิญกับการถูกแย่งพื้นที่เกษตรเพื่อไปปลูกพืชเพื่อใช้ทำน้ำมันเชื้อเพลิงแทนการปลูกเพื่อทำเป็นอาหารเลี้ยงดูประชากรในโลก แล้วยังมีเรื่องประชากรในโลกที่เพิ่มขึ้นก็ทำให้อาหารถูกแจกจ่ายเอาไปใช้ด้านต่างๆด้วยสัดส่วนที่น้อยลงไปเรื่อยๆอีก เดี๋ยวครั้งนี้เราจะมาดูเรื่องอาหารด้วยกันครับว่า อนาคตอาหารในโลกจะเป็นอย่างไร จะมีส่วนที่กระทบต่อประเทศไทยมากน้อยแค่ไหน และประเทศของเราสามารถมีส่วนช่วยประชากรในโลกนี้ได้อย่างไรบ้าง
เรื่องที่สองที่ได้นำมาลงไว้คือเรื่อง น้ำ สภาพความแปรปรวนของภูมิอากาศในโลกก็ส่งผลต่อเรื่องน้ำเช่นกัน ดังที่เราได้เห็นจากประเทศไทยของเรามาเมื่อปีที่แล้ว ในช่วงตอนต้นปีน้ำยังแทบจะไม่พอใช้ในประเทศอยู่เลย น้ำในเขื่อนเก็บน้ำแห้งขอด พอผ่านมากลายเป็นหน้าน้ำท่วมแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน น้ำสามารถท่วมได้บนที่ราบสูงเช่นโคราช สร้างความเดือนร้อนและเสียหายให้กับคนจำนวนมาก และน้ำนั้นก็ได้ไหลไปท่วมตามที่ต่างๆในจังหวัดทางภาคอีสานด้วย ไม่เพียงในภาคอีสาน แต่ภาคกลาง และใต้ก็ประสบกับปัญหาภาวะน้ำท่วมเช่นกัน ทั้งหมดเหล่านี้เราจะเห็นสภาพความผิดปกติของภูมิอากาศในโลกใบนี้ได้ โลกจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป คำพูดที่ว่า ในน้ำมีปลาในนามีข้าว จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ในโอกาสต่อๆไป ผมคงจะได้นำเรื่อง สภาพภูมิอากาศในโลกของเรา และเรื่องประชากรในโลกมาพูดกันต่อไปครับ
สำหรับครั้งนี้จะให้ดูเรื่อง อาหาร ก่อนครับ
มนุษย์เผชิญวิกฤตการณ์ อาหารและน้ำภายในปี 2030
นี่คือคำเตือนของศาสตราจารย์ จอห์น เบดดิงตัน หัวหน้าคณะนักวิทยาศาสตร์ของรัฐบาลสหราชอาณาจักร
จอห์น เบดดิงตัน กล่าวว่า ในที่ประชุม Sustainable Development UK 09 conference ว่าก่อนถึงปี 2030 ความต้องการทรัพยากรของมนุษย์จะก่อให้เกิดภาวะวิกฤตจากผลเลวร้ายที่ตามมา
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า ความต้องการอาหารและพลังงานจะกระโดดขึ้นไปถึง 50% และความต้องการน้ำจืดจะสูงขึ้น 30% ขณะที่ประชากรโลกเพิ่มขึ้นเป็น 8,300 ล้านคน นอกจากนั้นการเปลี่ยนแปลงของอากาศจะทำให้เหตุการณ์เลวร้ายยิ่งขึ้นไปอีกจนกระทั่งไม่อาจจะพยากรณ์ได้เลยทีเดียว
เบดดิงตันบอกว่า มันเป็นพายุมหาประลัยต่อพลังงาน อาหารและน้ำที่คุกคามทั่วทั้งโลก และว่า ขณะนี้มันยังไม่ได้กำลังดำเนินไปสู่การพังพินาศอย่างสมบูรณ์แบบ ทว่าสิ่งต่างๆ จะเริ่มต้นไปสู่ความน่าเป็นห่วงอย่างแท้จริง หากเราไม่จัดการแก้ปัญหานี้
วิกฤตการณ์ที่เห็นรางๆ อยู่ข้างหน้านี้จะคล้ายกันกับสิ่งที่เกิดในภาคการเงินในปัจจุบัน "ความกังวลใจใหญ่หลวงของผมก็คือ สิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศ นั่นคือจะเกิดการขาดแคลนน้ำและอาหาร"
เมื่อปีที่แล้วในระหว่างที่ราคาน้ำมันและสินค้าเพิ่มสูงขึ้นนั้น ประเด็นความมั่นคงทางด้านอาหารและพลังงานได้กลายมามีความสำคัญต่อวาระทางการเมืองเป็นอย่างยิ่ง
เบดดิงตันกล่าวถึงประเด็นนี้ด้วยความห่วงใยว่า เมื่อราคาสินค้าลดลงอีกครั้งหนึ่ง มันจะทำให้วาระนี้ไม่ได้รับความสนใจทั้งระดับภายในประเทศและนานาชาติอีกเลย และว่าเราไม่สามารถจะหาความพึงพอใจกับมัน เพียงแค่ราคาสินค้าที่ลดลงซึ่งไม่ได้หมายความว่าเราจะสามารถรู้สึกผ่อนคลายลงได้จริงๆ
เขาเสนอหนทางแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหารด้วยการปรับปรุงผลิตผลการเกษตรทั่วโลกโดยการพัฒนาพันธุ์พืชให้ทนต่อโรคและแมลง รวมทั้งวิธีปฏิบัติที่ดีกว่าเดิมและการเก็บเกี่ยวที่ดีกว่าเดิม
"ปัจจุบันจำนวน 30-40% ของพืชทั้งหมดเสียหายไปเพราะแมลงและโรคพืชก่อนการเก็บเกี่ยว อาหารดัดแปลงทางพันธุกรรมอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหานี้ด้วย เราต้องการพืชที่ทนทานต่อความแห้งแล้งและความเค็ม การผสมผสานกันระหว่างการตัดแต่งทางพันธุกรรมกับวิธีการปรับปรุงพันธุ์พืชที่ใช้วิธีมาตรฐาน" เบดดิงตันกล่าว
อย่างไรก็ตาม เขาเชื่อว่าปัญหานี้ไม่สามารถจะแก้ได้ตามลำพัง และต้องการให้ผู้กำหนดนโยบายในคณะกรรมาธิการยุโรปได้รับคำแนะนำทางวิทยาศาสตร์ระดับสูงเช่นเดียวกับที่ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ของสหรัฐอเมริกาได้รับ
ปัจจุบันปริมาณน้ำจืดของโลกจำนวน 70% ถูกนำไปใช้ในการเกษตร 20% ใช้ในอุตสาหกรรม และ 10% ใช้ในเมืองและที่อยู่อาศัย
แผนงานสหประชาชาติเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อม หรือยูเนป (United Nations Environment Programme-UNEP) พยากรณ์ว่าจะเกิดภาวะขาดแคลนน้ำในวงกว้างทั่วทั้งแอฟริกา ยุโรปและเอเชีย ก่อนปี 2025 โดยปริมาณน้ำจืดที่ใช้ต่อหัวของประชากรจะลดลงอย่างรุนแรง
ขณะเดียวกัน องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organization for Economic Co operation and Development -OECD) ก็พยากรณ์ความเป็นไปได้เกี่ยวกับวิกฤตการณ์การขาดแคลนน้ำไว้ในรายงานที่ชื่อว่า Environmental Outlook to 2030 ว่าประชากรโลกมากกว่า 3,900 ล้านคนทั่วโลก จะได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรง
รายงานฉบับนี้เตือนว่า เหตุการณ์ที่น่ากลัวที่สุดนี้อาจเกิดขึ้นจริงในอนาคตอันใกล้นี้ถ้าโลกล้มเหลวในการลงมือจัดการแก้ไขปัญหาน้ำอย่างทันท่วงที
นักวิทยาศาสตร์บางคนบอกว่า ภาวะโลกร้อนคือตัวการใหญ่ที่สุดที่ทำให้โลกขาดแคลนน้ำ อุณหภูมิที่สูงขึ้นบริเวณภูเขาจะสามารถเปลี่ยนแปลงปริมาณฝนและหิมะ ผลที่ตามมาก็คือ ปริมาณฝนจะมากขึ้นส่วนปริมาณหิมะจะน้อยลง
ปรากฏการณ์เช่นนี้จะทำให้เกิดน้ำท่วมและการไหลของกระแสน้ำมากขึ้นในช่วงฤดูฝน ขณะที่ฤดูแล้งน้ำบนพื้นผิว หิมะ และน้ำแข็งจะเหลือน้อยลง
ปัจจุบันน้ำแข็งและหิมะในธารน้ำแข็งภูเขาทั่วโลกกำลังละลายเร็วกว่าในอดีต ในเอเชีย ธารน้ำแข็งบนเทือกเขาหิมาลัยต้นกำเนิดแม่น้ำสำคัญหลายสายในเอเชียกำลังละลายในอัตราเร่ง ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นอนาคตรางๆ แล้ว
ที่มา หนังสือพิมพ์มติชน
มาอ่านความคิดเห็นเรื่องอาหารจากนักวิชาการในไทยบ้างครับ
วิกฤติอาหาร
ส่องกล้องเศรษฐกิจ : ดร.อาภรณ์ ชีวะเกรียงไกร กรุงเทพธุรกิจ วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ปัจจัยท้าทายที่สำคัญประการหนึ่งของโลกในอนาคต นอกเหนือจากวิกฤติด้านพลังงานแล้ว คือ เรื่องของวิกฤติอาหาร อันเนื่องมาจากอัตราการเพิ่มขึ้นของความต้องการอาหารมีอยู่สูงกว่าปริมาณการผลิต การเพิ่มขึ้นของความต้องการของสินค้าเกษตรมาจากปัจจัยหลักดังต่อไปนี้
หนึ่ง การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรโลก ที่แม้ว่าอัตราการเพิ่มของประชากรโลก จะเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลงเหลือประมาณร้อยละ 1.15% ต่อปีในปัจจุบัน หรือคิดเป็นประชากรเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 77 ล้านคน และมีการคาดการณ์ว่าอัตราการเพิ่มของประชากรจะลงมาอยู่ประมาณ 1% ต่อปีในปี ค.ศ. 2020 และจะลดลงเหลือ ประมาณ 0.5% ต่อปีภายใน ค.ศ. 2050 หรือจะมีประชากรโลกประมาณ 9.2 ล้านคน คิดเป็นจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น 2,400 ล้านคน ภายในระยะเวลาอีกประมาณ 40 ปีข้างหน้า ในขณะที่พื้นที่สำหรับการเพาะปลูก หรือการผลิตสินค้าเกษตรกรรมนั้น จะมีจำนวนลดลง เนื่องจากพื้นที่ดินมีอยู่คงที่ แต่จะมีการนำเอาไปใช้เพื่อการผลิตทางอุตสาหกรรมในการก่อสร้างโรงงาน การนำไปก่อสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยตามการขยายตัวของเมือง
สอง การเพิ่มขึ้นของกลุ่มชนชั้นกลาง แม้ว่าประชากรส่วนใหญ่ในทวีปเอเชีย ยังคงอยู่ในชนบทและยากจน แต่การเติบโตของกลุ่มชนชั้นกลางนั้น กลับเพิ่มขึ้นอย่างมากตามการเติบโตอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจ และมีการคาดการณ์ว่าแนวโน้มนี้จะคงอยู่ต่อไป ทั้งนี้ ใน พ.ศ. 2533 ชนชั้นกลางในอินเดียเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 และในจีนร้อยละ 8.6 แต่ในปี 2550 อัตราการเติบโตนั้นเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 30 และ 70 ตามลำดับ รายได้ที่ดีขึ้นของชนชั้นกลางทำให้คนเหล่านี้เปลี่ยนวิถีชีวิตและวิถีการบริโภคอาหารการกิน โดยเฉพาะความต้องการบริโภคที่หลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะการกินเนื้อสัตว์มากขึ้น ซึ่งทำให้อุปสงค์ในทรัพยากรทางการเกษตรเพิ่มตามไปด้วย ทั้งนี้ หัวหน้าของสถาบันวิจัยนโยบายอาหารนานาชาติได้กล่าวไว้ในปี 2551 ว่า การเปลี่ยนแปลงการบริโภคอาหารในกลุ่มประชากรที่มีรายได้สูงขึ้นเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ที่ส่งเสริมให้ราคาอาหารสูงขึ้นทั่วโลก
สาม การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลก ภูมิอากาศทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ผิดปกติที่เกิดขึ้นทั่วโลก ที่นำไปสู่การเกิดภัยพิบัติ ซึ่งทำให้กระทบต่อการผลิตอาหารทั่วโลก และทำให้สำรองของสินค้าเกษตรทั่วโลกลดลง ตัวอย่างเช่น การผลิตข้าวทั่วโลกมีอยู่สูงถึงประมาณปีละประมาณ 400 ล้านตัน แต่ข้าวที่มีการส่งออกขายทั่วโลกมีอยู่ประมาณเพียงปีละ 30 ล้านตัน หรือคิดเป็นเพียงประมาณร้อยละ 10 ของผลผลิตทั่วโลกเท่านั้น สะท้อนว่าประเทศต่างๆ จะสร้างสำรองของสินค้าเกษตร และเน้นการบริโภคภายในประเทศมากขึ้น
สี่ ความต้องการสินค้าเกษตรสำหรับการผลิตพลังงานชีวะมวลประเภทไบโอดีเซลมากขึ้น ทำให้มีการแปลงพื้นที่เพาะปลูกพืชอาหารไปสู่พืชพลังงานมากขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะน้ำมันปาล์ม มันสำปะหลัง และอ้อย เป็นต้น
จากความต้องการอาหารที่เพิ่ม จึงเป็นปัญหาหนึ่งที่ทั่วโลกกำลังจะเผชิญในอนาคต เพราะการขาดแคลนอาหารจะเป็นเรื่องใหญ่ของโลก ที่จะก่อให้เกิดความอดอยากอาหารประการหนึ่ง และการปรับตัวสูงขึ้นของราคาอาหารดังที่กำลังประสบอยู่ในปัจจุบัน แต่ประเทศไทยนั้นกล่าวได้ว่าเป็นประเทศที่โชคดีที่มีฐานเศรษฐกิจของภาคเกษตรมั่นคง และเป็นวิถีชีวิตของคนไทยมาเป็นเวลายาวนาน มีผลผลิตภาคอาหารเพียงพอสำหรับการบริโภคภายในประเทศแล้ว ยังเหลือส่งออกอาหารไปสู่ตลาดโลก ที่คาดว่าจะยังไม่ประสบปัญหาการขาดแคลนอาหารแต่สิ่งที่ต้องเผชิญ ก็คือ การปรับตัวสูงขึ้นของราคาอาหารโดยรวม
ประเทศไทยมีข้อได้เปรียบที่มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ทั้งป่าไม้ น้ำ ที่ดินทำกิน และภูมิอากาศ ควบคู่ไปกับความหลากหลายของทรัพยากร แต่ต้องยอมรับว่าการพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติจะทำได้น้อยลง เพราะทรัพยากรเสื่อมโทรมและการลดลงอย่างต่อเนื่อง การจะลดผลกระทบของวิกฤติอาหารที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั้นมีความจำเป็นต้องนำเอาเทคโนโลยีและวิทยาการที่ทันสมัยมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพื่อให้มีผลผลิตเพิ่มขึ้นพอเพียงกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น และเพื่อที่จะสร้างให้ประเทศไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารหลัก
ข้อเขียนของดร.อาภรณ์ ตอนสุดท้ายที่เขียนนี้ ยังสร้างความสงสัยให้กับผมว่า ประเทศไทยจะเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารหลัก ได้จริงหรือ ถ้่าภูมิอากาศในโลกเปลี่ยนไปและทำให้น้ำในทะเลสูงขึ้นท่วมพื้นที่เพาะปลูกในแถบภาคกลางในอนาคต ดังที่ท่านได้ฟังดร.อาจอง ได้พูดไปแล้ว ซึ่งผมได้นำมาลงไว้ในบล็อกก่อนหน้านี้ พื้นที่เพาะปลูกในภาคกลาง เป็นพื้นที่การเกษตรที่ส่งออกข้าว ฯลฯ ไปเลี้ยงดูประชากรในโลกได้จริง แต่.. ถ้าหากว่า สิ่งที่ดร.อาจอง ได้เตือนเราไว้เป็นจริง อะไรจะเกิดขึ้นต่อไป
ทั้งหมดที่นำบทความต่างๆมาลงไว้ให้ท่านได้ดู พินิจพิจารณา เพื่อให้ท่านได้ทราบสถานการณ์ความเป็นไปต่างๆในโลกของเรา เพื่อท่านจะได้เตรียมตัวเตรียมใจของท่านไว้ให้พร้อม หาทางออก หาทางรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น
นี่เป็นสิ่งที่พระเจ้าได้เตือนเราไว้ให้ทราบสิ่งที่จะเกิดขึ้นซึ่งได้กล่าวถึงไว้แล้วในพระคัมภีร์มิใช่หรือ...
ท่านสามารถไปชมหัวข้อเดิมได้ คำพยากรณ์ในพระคัมภีร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น