วันนี้มาแบ่งปันต่อเรื่องการเกษตรของโลกในอนาคตว่าจะเป็นเช่นไร เราจะพบว่ามันมีความเกี่ยวข้องกันของเรื่อง น้ำ ภูมิอากาศ โลกร้อน การเกษตร พลังงาน ประชากรโลก ฯลฯ ลองอ่านบทความของท่านต่างๆที่ได้เขียนให้ข้อคิดเราเอาไว้
ดุลยภาพใหม่การเกษตรโลก (The New Normal of Global Agriculture)
August 14, 2010
โดย เบ๊นซ์ สุดตา
นับจากนี้ไปโลกจะไม่เหมือนเดิมแล้ว เพราะเรากำลังเข้าสู่ยุคที่โฉมหน้าภาคเกษตรโลกเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิง เข้าสู่ดุลยภาพใหม่หรือ “New Normal” นั่นเอง
คำว่า New Normal นี้มีที่มาจากการที่นักบริหารเงินและนักเศรษฐศาสตร์ชื่อก้องโลก 2 ท่านได้แก่ Mohammed El Erian และ Bill Gross ซึ่งเป็น 2 คู่หูผู้บริหารสูงสุดและวางกลยุทธ์การลงทุนของบริษัท Pacific Investment Management หรือ PIMCO ซึ่งเป็นบริษัทบริหารจัดการกลุ่มการลงทุนชั้นนำแห่งหนึ่งของโลก โดย PIMCO เชี่ยวชาญการให้บริการคำแนะนำและบริหารการลงทุนในตลาดตราสารหนี้ ทั้ง 2 คนนี้ใช้ประสบการณ์ในด้านการวิเคราะห์ระบบการเงินและเศรษฐกิจโลกมาอย่างยาวนานร่วม 30-40 ปี มาให้ข้อสรุปถึงอนาคตระบบเศรษฐกิจโลกภายใต้คำศัพท์ที่เรียกว่า “New Normal” นี้ โดยมองว่า ในอนาคตนักลงทุนทั่วโลกจะต้องเผชิญกับสภาพที่ผลตอบแทนการลงทุนโดยเฉลี่ยในระยะยาวจะต่ำลง ขณะที่ความผันผวนในราคาสินทรัพย์ต่างๆจะกลับสูงขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากผลกระทบของวิกฤตการเงินทำให้บรรดาประเทศพัฒนาแล้วติดกับดักหนี้สินมหาศาลจากการพยายามโอบอุ้มระบบการเงินที่ล้มเหลว อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่เกิดขึ้นแล้วอย่างต่อเนื่องอย่างการลดลงของประชากรและการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุ ทั้งหมดนี้จะก่อให้เกิดภาวะที่อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวของประเทศพัฒนาแล้วต่ำลงจากเดิม ซึ่งย่อมส่งผลอย่างสำคัญต่อพื้นฐานของราคาสินทรัพย์และค่าเงิน ขณะเดียวกันประเทศกำลังพัฒนาซึ่งเป็นดาวรุ่งทางเศรษฐกิจก็จะเผชิญสภาพของ New Normal ที่อัตราการเติบโตในระยะยาวต้อลดลงด้วย แต่อย่างไรก็ตามเมื่อมองในเชิงเปรียบเทียบ การเติบโตและผลตอบแทนของสินทรัพย์ในประเทศกำลังพัฒนาย่อมสูงกว่าประเทศพัฒนาแล้วอยู่ดี
ดังนั้นผู้เขียนจึงขอยืมคำว่า New Normal มาอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับภาคการเกษตรและระบบอาหารโลกที่กำลังเคลื่อนตัวเข้าสู่จุดใหม่ในปัจจุบัน โดยโลกของเกษตรและอาหารในยุค “New Normal” นี้จะมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆเข้ามารุมเร้าจนก่อให้เกิดการถีบตัวสูงขึ้นของราคาอาหารและความผันผวนของอุปทานอาหารโลก (และอาจเกิดความผันผวนในด้านอุปสงค์ด้วย) ปัจจัยสำคัญๆอย่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change), ภัยธรรมชาติ, นโยบายที่คาดเดาได้ยาก, การเติบโตขึ้นของชนชั้นกลางในประเทศกำลังพัฒนา และ ปัจจัยจากเงินทุนเคลื่อนย้าย เหล่านี้จะมีบทบาทสำคัญในการกำหนดราคาและการไหลเวียนของอุปทานอาหารในวงจรเกษตรและอาหารโลกในอนาคต
ทั้งนี้กระบวนการเข้าสู่ New Normal ของระบบเกษตรและอาหารโลกเริ่มมีสัญญาณที่ชัดเจนอย่างมากนับแต่ปี 2006 โดยสัญญาณสำคัญมาจากตลาดข้าวสาลีและข้าวโพด ซึ่งสินค้าเกษตรทั้ง 2 ชนิดถือเป็นตัวชี้วัดสำคัญหรือแทบจะสำคัญที่สุดก็ว่าได้สำหรับการมองถึงทิศทางการเปลี่ยนแปลงและเป็นปัจจัยชี้นำในระบบเกษตรและอาหารโลก โดยสามารถสรุปเป็นเหตุผล 2 ประการสำหรับสินค้าเกษตรทั้ง 2 ประเภทกล่าวคือ
1. ปัจจัยข้าวสาลี โดยสำหรับข้าวสาลีแล้วถือว่าเป็นธัญพืชสำคัญและเป็นสินค้าเกษตรสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของโลก เป็นธัญพืชหลักทึ่มีความสำคัญต่อวิถีการดำรงชีวิตและเป็นอาหารหลักของคนตะวันตก คนมุสลิม รวมถึงคนจีนด้วย ข้าวสาลีเป็นวัตถุดิบสำคัญในการทำขนมปังและเบียร์ นอกจากนั้นแล้วข้าวสาลียังถือเป็นตัวเริ่มต้นในการลากจูงให้ราคาธัญพืชและเมล็ดพืชอื่นๆเช่น ข้าว ข้าวบาร์เลย์ ข้าวไรย์ ข้าวโพด พุ่งสูงขึ้นไปด้วยในช่วงวิกฤตอาหารโลกปี 2007-2008 จากการที่ข้าวสาลีมีการซื้อขายและเชื่อมโยงกับคนตะวันตก ทำให้ข้าวสาลีถูกชี้นำโดยทุนการเงินตะวันตกได้ง่าย และส่งผลให้เมื่อราคาข้าวสาลีสูงขึ้นจะลากให้ธัญพืชและเมล็ดพืชอื่นๆถีบตัวสูงขึ้นไปด้วยเพราะประเทศอื่นๆโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาจะมองหาทางเลือกอื่นในการบริโภค
The New Normal of Wheat
The New Normal of Wheat
2. ปัจจัยจากข้าวโพด ทั้งนี้ข้าวโพดถือเป็นสินค้าเกษตรอีกตัวที่สำคัญยิ่งเพราะกว่า 60% ของอาหารสัตว์มีข้าวโพดเป็นส่วนประกอบ ข้าวโพดจึงมีผลต่อราคาปศุสัตว์ สัตว์ปีก และผลิตภัณฑ์จากนมด้วย นอกจากนั้นแล้ว ข้าวโพดถือเป็นปัจจัยการผลิตสำคัญในการทำเอธานอลเพื่อผสมเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกแทนที่น้ำมันด้วย ดังนั้นเมื่อราคาข้าวโพดสูงขึ้น ย่อมส่งผลต่อราคาอาหารสัตว์และโครงสร้างต้นทุนการผลิตพลังงานทางเลือกอย่างไม่ต้องสงสัย อีกทั้งข้าวโพดถือเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของภาคเกษตรสหรัฐฯด้วย (โดยมูลค่าของผลผลิตข้าวโพดในปี 2009 อยู่ที่ 48,600 ล้านดอลลาร์ รองลงมาเป็นถั่วเหลืองที่ 31,800 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ในแง่ของการส่งออก ถั่วเหลืองมาเป็นที่ 1 คือ 16,500 ล้านดอลลาร์ ขณะที่อันดับ 2 คือ ข้าวโพดมูลค่า 8,800 ล้านดอลลาร์ ในปี 2009 อย่างไรก็ตามมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตร 3 อันดับแรกของสหรัฐฯจะเป็นข้าวโพด ถั่วเหลืองและข้าวสาลีที่สีแล้วหรือ Milled Wheat เสมอ และจะสลับกันในแต่ละปี แล้วแต่สภาพของผลิตและความต้องการในตลาดโลก) ดังนั้นข้าวโพดจึงมีเรื่องของการเมืองของมหาอำนาจมาเกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้แน่นอน
The New Normal of Corn
The New Normal of Corn
แนวโน้มที่สำคัญอีกอย่างในยุคของ “New Normal” ในภาคเกษตรและอาหารโลกก็คือ ปริมาณการซื้อขายที่สูงขึ้นของสินค้าเกษตรในตลาดล่วงหน้า ซึ่งหากดูจากข้าวสาลีและข้าวโพดจะเห็นแนวโน้มนี้ชัดเจนมาก โดยหากดูในช่วง 10 กว่าปีก่อนเข้าสู่ยุค “New Normal” ในปี 2006 ตลาดข้าวสาลีล่วงหน้าที่ชิคาโก้แทบไม่ได้รับการเหลียวแลจากนักลงทุนเลย ซึ่งผิดกับตลาดโภคภัณฑ์อื่นๆอย่างพลังงานและโลหะ ทั้งๆที่ปริมาณการผลิตข้าวสาลีในแต่ละปีก็มากกว่า 500-600 ล้านตัน มนุษย์นั้นต้องการข้าวสาลีและสินค้าเกษตรอื่นๆเพื่อป้อนการเติบโตของระบบเศรษฐกิจโลกเช่นเดียวกับที่ภาคการผลิตและบริการโลกต้องการพลังงานและวัสดุพื้นฐานมาหล่อเลี้ยงการเติบโต ในบางวันนั้นการซื้อขายข้าวสาลีในตลาด futures แทบจะนับสัญญากันได้เลยในแต่ละวัน ขณะที่ข้าวโพดยังมีความคึกคักกว่าไม่ว่าจะมองจากปริมาณการซื้อขายรายวันหรือรายเดือน แต่อย่างไรก็ตามตัวข้าวโพดเองซึ่งมีสภาพคล่องดีกว่าก็มีปัจจัยพื้นฐานในแง่ของปริมาณการซื้อขายไม่เปลี่ยนแปลงเลยในรอบ 20 กว่าปีในยุคของ “Old Normal”
The New Normal for Daily Trading Volume for Corn
The New Normal for Daily Trading Volume for Wheat
The New Normal for Daily Trading Volume for Corn
The New Normal for Daily Trading Volume for Wheat
แต่หลังจากที่ระบบเกษตรและอาหารโลกเข้าสู่ยุค “New Normal” อย่างเป็นทางการและชัดเจนมากนับแต่ปี 2006 ปริมาณการซื้อขายก็เปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างชัดเจนและพุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วตามการพุ่งขึ้นของราคาสินทรัพย์ทั่วโลก เศรษฐกิจจีน และราคาพลังงานที่สูงขึ้น การอ่อนลงอย่างมากมายของเงินดอลลาร์ส่งผลให้ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าได้รับเม็ดเงินเข้ามาอย่างต่อเนื่องด้วย และดูเหมือนว่าเรื่องของ “New Normal” จะเป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นจริงและจะดำรงตนอยู่ในระยะยาว เนื่องจากว่าแม้ราคาสินค้าเกษตรจะร่วงลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกหลังวิกฤตการเงิน แต่ปริมาณการซื้อขายกลับไม่ได้ลดลงเลยแม้แต่น้อย สะท้อนถึงการคาดการณ์ในอนาคตถึงพื้นฐานของราคาและสภาพความเป็นจริงที่ย้อนกลับไม่ได้ของอุปทานที่นับวันจะมีแต่ความไม่แน่นอนและอุปสงค์ก็มีแต่จะพุ่งขึ้นด้วย
The New Normal for Monthly Trading Volume for Corn
The New Normal for Monthly Trading Volume for Wheat
The New Normal for Monthly Trading Volume for Corn
The New Normal for Monthly Trading Volume for Wheat
นอกจากการซื้อขายในตลาดล่วงหน้าแล้ว ในยุคของ “New Normal” จะเห็นการไหลทะลักอย่างชัดเจนของเงินทุนมหาศาลจากทุนการเงินทั้งโลกมายังภาคเกษตร ซึ่งมีการคาดการณ์กันว่า ปัจจุบันภาคเกษตรคิดเป็นสัดส่วนไม่ถึง 1% ของการจัดสรรกลุ่มการลงทุนของบรรดานักลงทุนสถาบันทั่วโลก นอกจากนั้นกลุ่มนักลงทุนที่เป็นทุนการเงินภาครัฐอย่าง Sovereign Wealth Funds (SWFs) หรือบริษัทรัฐวิสาหกิจหรือแม้แต่บริษัทเอกชนที่มีรัฐบาลให้การสนับสนุนทางการเงินก็จะมีการโยกเงินเข้ามาซื้อที่ดินเพาะปลูกมากขึ้น ทั้งเพื่อหวังผลตอบแทนหรือเหตุผลในด้านนโยบาย ขณะเดียวกันบรรดา SWFs ก็มีการลงทุนและสนใจที่จะโยกเงินเข้าสู่สินทรัพย์ในรูปของโภคภัณฑ์มากอยู่แล้วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะที่ดินเพาะปลูกในสหรัฐฯก็มีมูลค่ามากถึง 1 ล้านล้านดอลลาร์แล้วในปัจจุบัน ในขณะที่มูลค่าของที่ดินเพาะปลูกทั้งโลกอยู่ในระดับ 5-6 ล้านล้านดอลลาร์ ขณะเดียวกันหลายๆพื้นที่ที่มีศักยภาพก็ต้องการเงินลงทุนเพื่อพัฒนาและปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานและการชลประทานเพื่อให้สามารถทำการผลิตในระดับที่สูงขึ้นได้ จึงย่อมก่อให้เกิดความสนใจและพบปะกันของนักลงทุนที่มีเงินและประเทศที่ต้องการเงินทุนเพื่อพัฒนาด้านการเกษตรอย่างไม่ต้องสงสัย
และหากมีการเทเงินไล่ราคาในตลาดล่วงหน้าและการกว้านซื้อที่ดินที่อุดมสมบูรณ์ทั่วโลก ย่อมมีความป็นไปได้ที่ระบบการเงินโลกจะเผชิญกับการก่อตัวครั้งใหม่ของฟองสบู่ในตลาดสินค้าเกษตรโลก และด้วยปริมาณผลผลิตและฐานอุปสงค์ที่ใหญ่โตมหาศาลบวกกับปริมาณที่ดินเพาะปลูกที่มีจำกัดและหลายๆพื้นที่ยังมีโอกาสในการพัฒนาและมีหลายพื้นที่ซึ่งมูลค่ายังต่ำกว่าความเป็นจริง ย่อมทำให้ความเสียหายในระบบการเงินโลกที่เกิดขึ้นในช่วงวิกฤตการเงิน 2007-2009 รวมถึงวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรปถูกชดเชยกลับมาได้ และอาจนำมาซึ่งการสะสมทุนรอบใหม่ในระบบการเงินโลกได้หากราคาสินค้าเกษตรอยู่ในระดับที่สูง ทั้งนี้จะมีปัจจัยต่างๆเข้ามามีส่วนในการกำหนดราคาสินทรัพย์ในภาคเกษตรไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงของภัยธรรมชาติในอนาคต นโยบายอาหารโลก และปัจจัยจากระบบการเงิน ทั้งหมดนี้จะมีส่วนสำคัญในการกำหนดราคาสินทรัพย์ในภาคเกษตรโลก
โดยสรุปแล้วมันเป็นสิ่งที่แน่นอนว่า เราได้เข้าสู่ยุคใหม่ของระบบเกษตรและอาหารโลกแล้วอย่างน้อยก็ในแง่ของราคาและพัฒนาการในฝั่งอุปทาน ความท้าทายในยุคของ “New Normal” ก็คือ โจทย์ใหม่ในทางนโยบายที่ต้องมุ่งไปสู่การจำกัดผลกระทบของความไม่แน่นอนของอุปทานและราคาของอาหารและการควบคุมกำกับดูแลตลาดอาหารและตลาดการลงทุนในสินทรัพย์ภาคเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
หมายเหตุ : ที่มาของกราฟจาก Thomson Reuters
ลดโลกร้อนด้วยการเกษตรเชิงนิเวศ (จากwww.greenpeace.org)
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ผลการศึกษาโดยรวมและข้อสรุป
ภาคเกษตกรรมมีส่วนอย่างมากที่ในการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (greenhouse gas emissions GHG) สู่ชั้น
บรรยากาศ โดยดินที่ใช้ในภาคการเกษตรและการปศุสัตว์ได้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมากออกมาโดยตรง
นอกจากนี้ยังมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากภาคการเกษตร ซึ่งได้แก่ เชื้อเพลิงธรรมชาติที่ใช้ในการทำ
กิจกรรมต่างๆในไร่นา การผลิตสารเคมีทางการเกษตร และการแปลงผันที่ดินเพื่อนำไปใช้ในภาคเกษตรกรรม ทั้งนี้
ภาคเกษตรกรรมมีปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งทางตรงและทางอ้อมอยู่ที่ประมาณ 8.5 —16.5
พันล้านตัน ซึ่ง คิดเป็นตัวเลขที่ร้อยละ 17 และ 32 ของการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีสาเหตุมาจากมนุษย์ อัน
รวมถึงการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน (รูป 1)
การเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติของค่าการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเมื่อเปรียบเทียบกับการปลดปล่อยในอดีตที่ผ่านมา
อาจมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำเกษตรกรรมตั้งแต่ยุคแรกๆ อาทิเช่น การพัฒนาการเพาะปลูกข้าว
แบบเวต ไรซ์ (wet rice) (เป็นวิธีการปลูกในที่ราบลุ่ม มีการทดน้ำและระบายน้ำ--ผู้แปล) ที่มีมาตั้งแต่หลายพันปี
ก่อน ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมายังมีการเปลี่ยนแปลงด้านเกษตรกรรมที่สำคัญ อาทิเช่น มีการนำปุ๋ยเคมีมาใช้ การ
พัฒนาพืชพันธุ์ใหม่ๆ (หรือที่เรียกว่าการปฎิวัติเขียว) และการนำระบบการทำไร่นาขนาดใหญ่มาใช้ ซึ่งทั้งหมดนี้
นำไปสู่การตั้งคำถามต่อประเด็นความยั่งยืนในการเกษตรเชิงอุตสาหกรรมสมัยใหม่
ทางออกสำหรับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากวิธีการทำการเกษตรในปัจจุบันนั้นอยู่ที่การเปลี่ยนแปลงวิธีการ
ด้านทำการเกษตร ซึ่งจะช่วยให้เกิดแหล่งดูดซับคาร์บอนหรือคาร์บอนซิงค์ขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังมีทางเลือก
ต่างๆในการบรรเทาวิกฤตการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศได้ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการพื้นที่เพาะปลูกให้มี
ประสิทธิภาพมากขึ้น (เช่นการไม่ทิ้งพื้นที่เพาะปลูกไว้โดยว่างเปล่า รวมทั้งการใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณที่เหมาะสม)
การจัดการพื้นที่เลี้ยงสัตว์ และการฟื้นฟูสภาพดินอินทรีย์ (organic soils) เพื่อให้เป็นแหล่งดูดซับคาร์บอน จากการ
ที่การผลิตเนื้อสัตว์ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอกับการนำมาป้อนห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ และยังทำให้เกิดการ
ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมากออกมา ดังนั้นการลดปริมาณการบริโภคเนื้อสัตว์จึงเป็นการช่วยให้ลดการ
ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคเกษตรกรรมได้อย่างมาก เมื่อพิจารณาจากที่กล่าวมาข้างต้น วิธีการดังกล่าว
อาจช่วยเปลี่ยนโฉมหน้าของภาคเกษตรกรรมจากการเป็นหนึ่งในภาคธุกิจที่ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมามาก
ที่สุด ให้เป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีปริมาณลดลงอย่างมาก หรือแม้กระทั่งเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนที่
สำคัญ
รูป 1 สัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคเกษตรกรรม
การปล่อยก๊าซมีเทนและก๊าซไนตรัสออกไซด์ออกมาโดยตรง 10 - 12 %
การผลิตและการกระจายปุ๋ย 0.6 - 1.2 %
การทำกิจกรรมต่างๆ ในไร่นา 0.2 - 1.8 %
การแปลงผันการใช้ที่ดินไปสู่ภาคเกษตรกรรม 6 -17 %
รวม 17 - 32 %
ปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคเกษตรกรรมรวมทั้งหมดในโลก ครอบคลุมไปถึงการปลดปล่อยที่เกิดจากการ
เปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน สัดส่วนโดยรวมยังรวมไปถึงการปลดปล่อยโดยตรง (ก๊าซมีเทนและก๊าซไนตรัสออกไซด์จากวิธีการด้าน
เกษตกรรม) และทางอ้อม (ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการใช้เชื้อเพลิงธรรมชาติ และการแปลงผันการใช้ที่ดินไปสู่ภาค
เกษตรกรรม) โดยอัตราร้อยละดังกล่าวสัมพันธ์กับปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
ภาพรวม: ที่มาของปล่อยก๊าซเรือนกระจกหลักจากภาคการเกษตร
ภาคเกษตรกรรมมีสัดส่วนในการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกอยู่ที่ 5.1 ถึง 6.1 พันล้านตัน(ร้อย
ละ 10-12) ซึ่งปริมาณการปลดปล่อยดังกล่าวส่วนใหญ่อยู่ในรูปของก๊าซมีเทน (คิดเป็น 3.3 พันล้าน
ตันต่อปี) และไนตรัสออกไซด์ (2.8 พันล้านตันต่อปี) ส่วนการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิมี
ปริมาณเล็กน้อยมาก (0.04 พันล้านตันต่อปี)
การปลดปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O) ออกมาจากดิน รวมทั้งก๊าซมีเทน (CH4) จากกระบวนการ
หมักในกระเพาะอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้องเมื่อนำมารวมกันแล้วคิดเป็นปริมาณมากที่สุดของการ
ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ไม่ใช่คาร์บอนไดออกไซด์ (non-CO2) จากภาคการเกษตรในปี 2005
(2548) หรือคิดเป็นร้อยละ 38 และ 32 ตามลำดับ การปล่อยก๊าซไนตรัสออกไซด์ส่วนใหญ่จะมี
ความสัมพันธ์กับการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนและปุ๋ยธรรมชาติที่ใส่ลงไปในดิน ซึ่งมักพบว่าการทำการเกษตร
ในปัจจุบันมีการใส่ปุ๋ยมากเกินความจำเป็นแก่ความต้องการนำไปใช้ของพืช ดังนั้นปุ๋ยส่วนเกิน
บางส่วนจึงสลายกลายเป็นก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O) และปลดปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศ
นอกจากนี้ยังพบการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคการเกษตรในรูปแบบอื่นๆ ได้แก่ การเผาไหม้ชีว
มวล (ร้อยละ12) การผลิตข้าว (ร้อยละ 11) และการจัดการปุ๋ยธรรมชาติ (ร้อยละ 7) (ดังตารางที่ 1)
การตัดทำลายพืชพันธุ์ธรรมชาติเพื่อการเกษตรกรรม (เช่นการเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อทำ
การเกษตร) จะทำให้มีการปลดปล่อยคาร์บอน (ecosystem carbon) ปริมาณมากในรูปของ
คาร์บอนไดออกไซด์ (ประมาณ 5.9 – 2.9 พันล้านตันต่อปี)
ขนาดและความสำคัญของแหล่งปล่อยก๊าซต่างๆ จะแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค โดยในระดับโลก
การปลดปล่อยก๊าซมีเทน (CH4) และก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O) จากภาคเกษตรกรรมเพิ่มสูงขึ้นร้อย
ละ 17 นับตั้งแต่ปี 1990 (2532) ถึง 2005 (2548) และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 35 -60 ภายในปี
2030 (2573) สาเหตุมาจากการปริมาณการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนที่เพิ่มสูงขึ้น และการผลิตด้านปศุสัตว์ที่
เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน
ตารางที่ 1 ที่มาของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคการเกษตรทั้งทางตรงและทางอ้อม
ที่มาของการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคการเกษตร ล้านตัน
CO2-eq
ก๊าซไนตรัสออกไซด์จากดิน 2128
ก๊าซมีเทนจาก(CH4) การหมักในกระเพาะอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้อง 1792
การเผาไหม้ชีวมวล 672
การผลิตข้าว 616
ปุ๋ยธรรมชาติ 413
การผลิตปุ๋ย 410
การชลประทาน 369
เครื่องจักรกลในไร่นา (ใช้ในการหว่านเมล็ด การไถพรวน การฉีดพ่น การเก็บเกี่ยว) 158
การผลิตสารกำจัดศัตรูพืช 72
การแปลงผันการใช้ที่ดินไปสู่ภาคเกษตรกรรม 5900
ค่าต่างๆ ในตารางนี้เป็นค่าเฉลี่ยของพิสัยที่อยู่ในรายงานฉบับนี้ทั้งหมด
รูป 2 ที่มาของปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคเกษตรกรรม ของไม่นับรวมการ
เปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน Mt CO2-eq
ก๊าซมีเทนจาก(CH4) การหมักในกระเพาะอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้อง CH4 1792
ปุ๋ยธรรมชาติ CH4+ N2O 413
ก๊าซไนตรัสออกไซด์จากดินที่ใส่ปุ๋ย N20 2128
การผลิตปุ๋ย CO2 + N2O 410
การเผาไหม้ชีวมวล CO2 + N20 672
การผลิตข้าว CH4 616
เครื่องจักรกลในไร่นา CO2 158
การชลประทาน CO2 369
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
สารเคมีที่ใช้ในการเกษตรกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ
นอกจากการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรงจากภาคการเกษตรที่ได้กล่าวมาข้างต้นแล้ว การ
ผลิตสารเคมีทางการเกษตรยังเป็นอีกหนึ่งแหล่งปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญ วงจรการใช้ปุ๋ย
โดยรวมจากเกษตรกรรมเชิงอุตสาหกรรมก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศโลก
การผลิตปุ๋ยเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานสูงมาก และยังเพิ่มปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งมีค่าประมาณ 300 – 600 ล้านตันต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 0.6-1.2 ของ
การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดในโลก แหล่งปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ใหญ่ที่สุดจากการ
ผลิตปุ๋ยมาจากพลังงานที่จำเป็นต้องใช้ในกระบวนการผลิตซึ่งทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แม้
การผลิตปุ๋ยไนเตรทจะก่อให้เกิด CO2-eq มากกว่าในรูปของก๊าซไนตรัสออกไซด์ แต่จากการขยายตัว
ของภาคเกษตรกรรมอย่างรวดเร็วทำให้มีการใช้ปุ๋ยเพิ่มขึ้นจาก 0.011 Pg N ในปี 1960/61 (2503/4)
ไปเป็น 0.091 Pg N ในปี 2004/2005 (2547/2548) โดยมีอัตราการใช้แตกต่างกันอย่างมากในแต่ละ
ภูมิภาค เช่น จีนมีสัดส่วนการใช้ปุ๋ยคิดเป็นร้อยละ 40 ขณะที่แอฟฟริกามีสัดส่วนการใช้เพียงร้อยละ 2
ของการใช้ปุ๋ยทั่วโลก
กิจกรรมทางการเกษตรอื่นๆ อาทิ การไถพรวน การหว่านเมล็ดพันธุ์ การใช้สารเคมีทางการเกษตร
การเก็บเกี่ยวผลผลิต เมื่อเทียบกับการผลิตปุ๋ย พบว่ามีความแตกต่างกันไปในภูมิภาคต่างๆ ของโลก
โดยมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ที่ 0.06 ถึง 0.26 พันล้านตันต่อปี ในด้านการชลประธาน
พบว่ามีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ที่ 0.05 ถึง 0.68 พันล้านตันต่อปี ส่วนการผลิตสารกำจัด
ศัตรูพืชพบว่าทำให้เกิดปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับต่ำ ในอัตราปีละ 0.003 ถึง 0.14 พันล้าน
ตันต่อปี
การใช้ที่ดิน
ปริมาณก๊าซคาร์บอนที่สะสมในพื้นที่เกษตรกรรมถือว่ามีปริมาณต่ำที่สุดในบรรดาที่ดินประเภทอื่นๆ
ทั้งหมด (ยกเว้นพื้นที่ทะเลทราย และกึ่งทะเลทราย) ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินไปเพื่อใช้
สำหรับเป็นพื้นที่เกษตรกรรมจะส่งผลให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิ อย่างไรก็ดี สัดส่วนที่
แน่นอนของการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินยังมีความไม่แน่นอนสูง แต่คาดว่าอยู่ที่ประมาณ 5.9-2.9
พันล้านตัน โดยการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินส่วนใหญ่จะเนื่องมาจากเหตุผลทางเศรษฐกิจ การออก
กฎหมาย และความพร้อมใช้ของที่ดิน การขยายพื้นที่เพาะปลูกหลักทั่วโลกคาดว่าน่าจะสิ้นสุดลงแล้ว
อนึ่งการรุกล้ำของพื้นที่เกษตรกรรมเข้าไปในเขตป่าเมืองร้อนยังคงเป็นปัญหาหลัก นอกจากนี้คาดว่า
พื้นที่ป่าทั่วโลกจะลดลงในอัตราปีละประมาณ 43,000 ตร.กม. ในทางกลับกันก็ประมาณการณ์ว่า
พื้นที่ป่าไม้ในประเทศที่พัฒนาแล้วจะเพิ่มขึ้นปีละ 7,400 ตร.กม.
การทำฟาร์มปศุสัตว์
การทำฟาร์มปศุสัตว์ก่อให้เกิดผลกระทบในหลากหลายด้าน นับตั้งแต่การปล่อยคาร์บอนของสัตว์
ออกมาโดยตรง การจัดการปุ๋ยธรรมชาติ การใช้สารเคมีทางการเกษตร และการเปลี่ยนแปลงการใช้
ที่ดิน ไปจนถึงการใช้เชื้อเพลิงธรรมชาติ กระบวนการหมักในกระเพาะอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้องคิด
เป็นสัดส่วนที่มากที่สุดของการปลดปล่อยก๊าซมีเทนทั่วโลก หรือคิดเป็นร้อยละ 60 ทั้งนี้ความต้องการ
เนื้อจะเป็นตัวกำหนดจำนวนสัตว์ในสต็อก นอกจากนี้ภาคปศุสัตว์ยังเป็นส่วนธุรกิจที่ใช้ที่ดินมากที่สุด
โดยมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการจากการปล่อยสัตว์เลี้ยงตามทุ่งหญ้ามาเป็นการใช้อาหารเลี้ยงสัตว์มาก
ขึ้น เมื่อไม่กี่ปีมานี้การปลูกพืชอาหารสัตว์ที่ให้พลังงานสูงยังทำให้เกิดการทำลายป่าฝนอเมซอนใน
ประเทศบราซิล ซึ่งบราซิลเป็นประเทศผู้ผลิตถั่วเหลืองเพื่อเป็นอาหารสัตว์รายใหญ่ของโลก การ
เติบโตทางเศรษฐกิจได้ผลักดันให้ความต้องการเนื้อสัตว์ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มว่า
จะเป็นการกระตุ้นให้มีการขยายการทำปศุสัตว์แบบเข้มข้นมากขึ้น นอกจากนี้ในประเทศกำลังพัฒนา
จะเห็นได้ชัดว่ามีการบริโภคเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้นสูงสุด (ในช่วงปี 1960-1990 (2503-2533) เพิ่มขึ้นถึงร้อย
ละ 77) จากแต่เดิมประเทศเหล่านี้มีการบริโภคเนื้อค่อนข้างต่ำมาก (เนื้อสัตว์คิดเป็นเพียงร้อยละ 8
ของปริมาณแคลอรี่ที่ได้รับ) เมื่อเทียบกับในประเทศพัฒนาแล้ว (เนื้อสัตว์คิดเป็นร้อยละ 27 ของ
ปริมาณแคลอรี่ที่ได้รับ) ในปี 1960 (2503) นอกจากนี้ยังพบว่าเนื้อแกะและวัวส่งผลกระทบมากที่สุด
ต่อการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศเมื่อเทียบกับเนื้อประเภทอื่นๆ โดยมีศักยภาพทำให้เกิดปัญหาโลก
ร้อนโดยปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 17 และ 13 กิโลกรัมต่อเนื้อสัตว์ 1 กิโลกรัม ขณะที่สุกร
และสัตว์ปีกมีผลต่อปัญหาโลกร้อนน้อยกว่าเนื้ออื่นๆกว่าครึ่ง
การบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น
ภาคเกษตรกรรมมีศักยภาพสำคัญในการบรรเทาปัญหาการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ซึ่งอาจเป็น
การเปลี่ยนโฉมหน้าของภาคเกษตรกรรมจากการเป็นภาคธุรกิจที่ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน
ปริมาณมากที่สุดเป็นลำดับสอง ไปเป็นภาคธุรกิจที่ปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยลงมากหรือ
แม้กระทั่งไม่มีเลย ทางเลือกในการบรรเทาปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการเกษตรนั้นมี
หลากหลาย โดยมีศักยภาพโดยรวมสูงสุดถึง 6 พันล้านตันต่อปี แต่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจอยู่ที่
ประมาณ4 พันล้านตันต่อปี ณ ระดับราคาคาร์บอนสูงสุดที่ 100 เหรียญสหรัฐ CO2-eq-1 ศักยภาพ
โดยรวมนี้สามารถลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคเกษตรกรรมได้เกือบร้อยละ 100
ปัจจุบันสัดส่วนการลดปัญหาดังกล่าวสูงสุดมาจากการแยกคาร์บอนในดิน (soil carbon
sequestration) (5.34 พันล้านตันต่อปี) ทั้งนี้การปลดปล่อยก๊าซมีเทน (0.54 พันล้านตันต่อปี) และ
ก๊าซไนตรัสออกไซด์ก็สามารถลดได้ในอัตราที่มากได้เช่นกัน
ความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนในพื้นที่เพาะปลูกที่อยู่ในระดับต่ำแสดงให้เห็นว่ามีศักยภาพสูงที่จะเพิ่ม
ปริมาณคาร์บอนโดยอาศัยวิธีการจัดการที่มีประสิทธิภาพ ในพื้นที่ที่การใช้ที่ดินถูกเปลี่ยนไปเป็น
พื้นที่เกษตรกรรม การฟื้นฟูปริมาณคาร์บอนในดินอินทรีย์ที่ใช้เพาะปลูกจะมีศักยภาพสูงต่อพื้นที่และ
ยังเป็นตัวแทนของพื้นที่ที่มีศักยภาพในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซสูง
ทางเลือกที่สำคัญในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคเกษตรกรรม ประกอบด้วย:
1. การจัดการพื้นที่เพาะปลูก (มีศักยภาพในการลดปัญาได้สูงสุดประมาณ 1.45 พันล้านตันต่อปี)
• หลีกเลี่ยงการปล่อยหน้าดินให้ว่างเปล่า เนื่องจากที่หน้าดินว่างเปล่าจะเสี่ยงต่อปัญหาการชะ
ล้างพังทลายของหน้าดินและธาตุอาหารในดิน และยังมีปริมาณคาร์บอนน้อยกว่าพื้นที่ที่มี
การปลูกพืช การแก้ปัญหาที่สำคัญ ได้แก่ การปลูกพืชเสริมสำรองและพืชคลุมดินที่จะช่วย
ปกคลุมหน้าดินในช่วงฤดูเพาะปลูกหรือในช่วงเวลาพักดินก่อนทำการเพาะปลูกตามลำดับ
• ใช้ปุ๋ยไนโตรเจนในปริมาณที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเกินความจำเป็นเบื้องต้นของพืช
โดยให้ใช้ในเวลาที่สมควร และใส่ในตำแหน่งที่ถูกต้องในดิน การลดการพึ่งพาการใช้ปุ๋ยโดย
ใช้ระบบการปลูกพืช อาทิ การหมุนเวียนการปลูกพืชโดยใช้พืชตระกูลถั่ว ก็นับเป็นวิธีการลด
ปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มีศักยภาพสูง
• ไม่เผาเศษพืชในไร่นา
• ลดการไถพรวน การทำการเกษตรแบบไม่ใช้การไถพรวนจะช่วยเพิ่มปริมาณคาร์บอนในดิน
แต่ทั้งนี้ในการทำการเพาะปลูกเชิงอุตสาหรรม วิธีการดังกล่าวอาจหักกลบลบหนี้ไปกับการ
พึ่งพาสารกำจัดศัตรูพืชและการใช้เครื่องจักรกล อย่างไรก็ดีทางด้านของระบบการ
เกษตรกรรมอินทรีย์ ได้มีผลการศึกษาเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่าการลดการไถพรวน โดยไม่ใช้
สารกำจัดวัชพืชมีผลดีต่อการแยกคาร์บอนในดิน
2. การจัดการพื้นที่เลี้ยงสัตว์ (มีศักยภาพในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดประมาณ
1.35 พันล้านตันต่อปี) เช่น การลดความเข้มข้นในการปล่อยสัตว์เลี้ยงหรือลดความถี่และความ
เข้มข้นของไฟ (โดยใช้การจัดการไฟเชิงรุก) วิธีการดังเหล่านี้มักนำไปสู่การเพิ่มพื้นที่ของต้นไม้และ
ไม้พุ่ม ทำให้กลายเป็นคาร์บอนซิงค์หรือแหล่งดูดซับคาร์บอนทั้งในดินและชีวมวล
3. การฟื้นฟูดินอินทรีย์ที่ถูกชะล้างเพื่อการปลูกพืชและการฟื้นฟูพื้นที่เสื่อมโทรมเพื่อเพิ่มจำนวน
แหล่งดูดซับคาร์บอน (มีศักยภาพรวมกันในการลดปริมาณการปลดปล่อย อยู่ที่ประมาณ 2.0 พันล้าน
ตันต่อปี) หลีกเลี่ยงการระบายน้ำจากพื้นที่น้ำท่วมขัง ดำเนินการควบคุมการกร่อนของดิน เพิ่มการ
ปรับปรุงอินทรีย์สารและธาตุอาหาร
4. ในช่วงฤดูว่างเว้นจากการปลูกข้าว การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้วย
การรักษาดินให้แห้งมากที่สุดรวมทั้งหลีกเลี่ยงการเกิดน้ำท่วมขังจะช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซมีเทน
ได้
5. อีกหนึ่งวิธีการในการลดปัญหาการปลดปล่อยก๊าซที่ช่วยได้ได้ในปริมาณน้อยแต่มีความสำคัญก็คือ
การละเว้นการใช้ที่ดินในการปลูกพืช การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน (เช่น การผันการใช้พื้นที่เพาะปลูก
ไปเป็นทุ่งหญ้า) และการใช้วนเกษตร (ประมาณ 0.05 พันล้านตันต่อปี) รวมทั้งการจัดการปศุสัตว์
และปุ๋ยธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
6. การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตปุ๋ยจะช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้สูงสุดประมาณ
0.2 พันล้านตันต่อปี โดยการปรับปรุงดังกล่าวอาจเป็นในเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้
พลังงานในพืชที่ใช้ผลิตแอมโมเนีย (ร้อยละ 29) การนำเทคโนโลยีลดก๊าซไนตรัสออกไซด์มาใช้ (ร้อย
ละ 32) และมาตรการประหยัดพลังงานอื่นๆ ในกระบวนการผลิต (ร้อยละ 39)
7. ผู้บริโภคอาจมีบทบาทสำคัญในการลดการปลดปลอ่ ยก๊าซเรือนกระจกจากการเกษตร การลด
ความต้องการเนื้อจะช่วยลดปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมหาศาล นอกจากนี้การรับประทาน
อาหารมังสวิรัติหรืออย่างน้อยลดปริมาณผลิตภัณฑ์เนื้อในอาหาร ก็จะส่งผลดีในการลดผลกระทบจาก
การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ยกตัวอย่างเช่น คนที่รับประทานอาหารเท่ากับชาวอเมริกันเฉลี่ย จะ
ช่วยประหยัดการใช้เชื้อเพลิงธรรมชาติต่อวันได้ถึง 385 กิโลแคลอรี่ (เทียบเท่ากับปริมาณคาร์บอน
95 — 126 กรัม) หากหันมารับประทานผลิตภัณฑ์มังสวิรัติ แทนเนื้อสัตว์เพียงร้อยละ 5
ภาวะโลกร้อนกับผลกระทบทางการเกษตร
ภาวะโลกร้อนกับผลกระทบทางการเกษตร ภาวะโลกร้อนกับความกังวลต่อสถานการณ์ด้านการเกษตรของโลกว่าอาจมีผลกระทบต่อผลผลิตในภาคการเกษตรที่ลดลงหรือผิดฤดูกาล ความกังวลดังกล่าวถูกพูดถึงมากในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา และดูเหมือนว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะเริ่มมีความชัดเจนขึ้นในปัจจุบัน สภาพอากาศที่แปรปรวนอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่ปลายปีจนถึงต้นปีที่ผ่านมา เริ่มมีผลกระทบต่อการเพาะปลูกของไทยและหลายประเทศทั่วโลก ปัจจัยดังกล่าวส่งผลต่อด้านอาหารและการเกษตรอย่างไร??? ที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ ประการแรก ผลกระทบด้านการแย่งชิงอาหารและพลังงาน แน่นอนว่าเมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนจึงส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งที่ผ่านมาประเทศอินเดียอินเดียที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ทำให้ผลผลิตข้าวในปีที่ผ่านมาของอินเดียตกต่ำ ส่งผลให้อินเดียต้องนำเข้าข้าวจากต่างประเทศเพื่อเลี้ยงประชากรในประเทศเพิ่มขึ้น จึงไม่น่าแปลกใจที่จะพบว่าหลายประเทศต่างพยายามกักตุนสินค้าด้วยการนำเข้าข้าว เพื่อเป็นคลังสำรองยามเกิดวิกฤตด้านผลผลิตทางการเกษตร ด้านพลังงาน จากภาวะอากาศแประปรวนส่งผลให้บางประเทศอุณหภูมิสูงขึ้น หรือลดต่ำลงอย่างมากในรอบหลายปี อย่างเมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ที่ต้องเผชิญกับอากาศร้อนจัดที่สุดในรอบ 100 ปี โดยอุณหภูมิเพิ่มขึ้นถึง 37 องศาเซลเซียส ขณะที่เกาหลีใต้เอง ก็ต้องเผชิญกับอากาศที่หนาวเย็นผิดปกติ ทำให้ความต้องการใช้พลังงานพุ่งเป็นประวัติการณ์ จนทำให้เกิดความวิตกว่าอาจทำให้ไฟฟ้าดับ..... การหาทางใช้พืชพลังงานทางเลือกเพื่อเป็นพลังงานทดแทนจึงเพิ่มขึ้นเช่นกัน แต่การนำพืชพลังงานมาใช้แทนน้ำมันนั้นหมายความว่าเราต้องลดสัดส่วนการนำพืชมาใช้เพื่อการบริโภคลง!!!! ประการที่ 2 ผลกระทบด้านราคา อย่าง “ราคาข้าว” ที่พบว่ากำลังอยู่ในภาวะผันผวนและมีการถีบตัวขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก จากรายงานของ สถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศ คาดการณ์ว่าราคาส่งออกข้าวทั่วโลกจะอยู่ที่ระดับ 600 ดอลลาร์/เมตริกตัน ขณะที่สำนักงานอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ คาดการณ์ว่าสต็อกข้าวทั่วโลกจะลดลง 2.7% แตะระดับ 121.1 ล้านตัน ในฤดูกาลปี 2552-2553 เนื่องจากหลายประเทศผลิตข้าวได้น้อยลง รวมถึงอินเดีย ฟิลิปปินส์ อิรัก เนปาล และปากีสถาน สำหรับประเทศไทย ที่มีรายงานว่าหลายพื้นที่เริ่มประสบปัญหาด้านการเพาะปลูก อย่างที่ ต.บ้านใหม่ ต.ท่าจำปี และ ต.แม่ปีม จ.พะเยา เริ่มประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เนื่องจากอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ต่างๆ แห้งขอด ผลผลิตข้าวที่ลดต่ำลงสวนกระแสกับความต้องการที่สูงขึ้น และยังทำให้แนวโน้มราคาข้าวถุงขายปลีกในปี 2553 มีโอกาสที่จะปรับสูงขึ้นอีก 20-30 บาทต่อถุง ส่งผลให้ผู้ประกอบการข้าวไทย เน้นส่งออกข้าวไปยังตลาดต่างประเทศมากขึ้น นอกจากราคาที่เพิ่มสูงขึ้น ภาวะโลกร้อนยังส่งผลกระทบด้านอื่นอีก โดยประการที่ 3 การเพิ่มพื้นที่ทางการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิต จากแนวโน้มการขาดแคลนอาหารและพลังงานการเพิ่มพื้นที่ทางการเกษตรจึงมีมากขึ้นทั่วโลก สำหรับประเทศไทย กระแสการหันมาทำการเกษตรก็เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งแม้จะเป็นเรื่องที่ดี แต่สิ่งสำคัญที่ไทยยังอาจไม่ได้มีการเตรียมพร้อมมากนัก คือ ปัจจัยด้าน“น้ำ” ที่เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการเพาะปลูก เพราะที่ผ่านมาจะพบว่าประเทศไทยมักประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ดร.อนันต์ ดาโลดม นายกสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย ได้ให้ข้อมูลกับทางสำนักข่าวแห่งชาติ ถึงผลกระทบจากภาวะโลกร้อนต่อการเกษตรไทยว่า ในระยะยาว อาจมีฝนตกเพิ่มขึ้นในประเทศไทย แต่ในระยะสั้นปริมาณฝนจะมีความผันผวนมากขึ้น โดยในอีก 20 ปีข้างหน้านี้มีแนวโน้มปริมาณฝนจะลดลงในหลายพื้นที่ในประเทศไทย โดยเฉพาะพื้นที่ภาคกลางและบางส่วนของภาคอีสาน และภาคเหนือ รวมทั้งชายทะเลภาคใต้ตอนบนฝั่งตะวันออก ทั้งนี้ มีการศึกษาเพื่อคาดการณ์ปริมาณน้ำ ว่าจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกในอนาคตอย่างไร ซึ่งก็พบว่า จะมีผลต่อความถี่และขนาดของการเกิดอุทกภัยหรือภัยแล้ง โดยจะมีความถี่และความรุนแรงกว่าในอดีต แต่ในแง่ปริมาณน้ำรายวันอาจส่งผลเพียงเล็กน้อย เนื่องจากมีปริมาณน้ำเฉลี่ยใกล้เคียงกับสถิติปริมาณน้ำย้อนหลัง 15 ปี (พ.ศ. 2533-2547) หรือหมายความว่าในระยะยาวไทยต้องเผชิญกับภาวะน้ำท่วมอย่างรุนแรงและภัยแล้งอย่างรุนแรงถี่ขึ้นนั่นเอง ขณะที่จากข้อมูลของกรมทรัพยากรทางน้ำ ระบุว่า ปริมาณน้ำในประเทศไทยทั้งปีมีประมาณ 50 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) แต่เราสามารถกักเก็บได้เพียง 2.3 หมื่นล้าน ลบ.ม. ที่เหลือก็จะไหลลงสู่ทะเล เป็นปัญหาที่ทำให้เกิดน้ำท่วม และเนื่องมาจากการสร้างคันกั้นน้ำล้นตลิ่ง นั่นหมายถึงว่าไทยยังมีปัญหาด้านการวางแผนการใช้น้ำ ดังนั้นประเทศไทยจึงจำเป็นต้องมีแผนการสำรองน้ำที่ชัดเจนขึ้น เพราะมีความเป็นไปได้ว่าแนวโน้มการเพิ่มพื้นที่ทางการเกษตรจะมีสูงขึ้นในอนาคต การสนับสนุนการจัดทำแหล่งสำรองน้ำและเลือกคำนวณการเก็บกักน้ำในฤดูฝนจึงเป็นแนวทางหลักที่ประเทศไทยต้องเร่งทำอย่างชัดเจน จากทั้งหมดนี้จะเห็นว่าผลกระทบด้านภาวะโลกร้อนเริ่มส่งผลทั้งต่อความต้องการสินค้าและภาคการเกษตรที่ขยายตัวขึ้น ปัจจัยแวดล้อมด้านการวางแผนพื้นที่เพาะปลูกให้สัมพันธ์กับแหล่งน้ำ รวมถึงการวางแผนการผลิตให้เพียงพอต่อการบริโภคในประเทศและการส่งออก จึงเป็นแนวทางสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการต่อไป เพราะหากไทยไม่มีการวางแผนอย่างชัดเจน นอกจากไทยจะเสียโอกาสด้านการผลิตและการส่งออก ไทยอาจมีปัญหาด้านการเพาะปลูกในระยะยาวจากภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ พิมพิดา โยธาสมุทร เรียบเรียง ศิริวรรณ ดำปรีดา บรรณาธิการ
ดูบทความเล็กๆครับ การผลิตการเกษตรในอนาคต : ปัจจัยการผลิตและสภาวะแวดล้อมที่เสื่อมโทรม ปัญหาโลกร้อน และการผลิตการเกษตรที่ต้องปรับเปลี่ยนไป intensive farming ที่ต้องพัฒนาระบบการจัดการน้ำ การจัดการการผลิต พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ที่มีประสิทธิภาพในการผลิต การจัดการปุ๋ย ฮอร์โมน เพื่อการผลิตใหได้ผลผลิตที่มีคุณค่าต่อการดำรงชีพ การผลิตที่ต้องอาศัยเทคโนโลยี เครื่องจักรกล ระบบที่สามารถควบคุม ทดแทนแรงงานที่เปลี่ยนไปของประชากรโลกในอนาคตที่เกษตรเปลี่ยนจากการใช้แรงคน เป็นการใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรกล ระบบความคุมอัตโนมัติ จากฟาร์ม สู่กระบวนการผลิต สู่ผู้บริโภค - จากการเกษตรที่อาศัยความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติในอดีต สู่การเกษตรที่ใช้สารเคมี ทั้งปุ๋ย สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช โรค แมลง และวัชพืช ที่ขาดการจัดการที่พอดี เหมาะสม จนทำให้เกิดการเสื่อมโทรมของสภาพดิน สภาพแวดล้อมที่เป็นปัญหาทั้งการเกษตรและมาตรฐานความเป็นอยู่ มีผลตกค้างที่ส่งผลเสียแก่ปัจจัยการผลิตและสภาพแวดล้อม และประสิทธิภาพการผลิต - ความต้องการในเชิงปริมาณจากประชากรที่เพิ่มขึ้น ทำให้พื้นที่ทางการเกษตรถูกใช้อย่างต่อเนื่อง ไม่มีเวลาพักฟื้น ดินขาดการจับตัวทางโครงสร้างที่จะทำให้พืชเจริญได้ ทำให้พืชขาดน้ำ ขาดอากาศ - การขยายชุมชน เขตเมือง และอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่เหมาะสมที่เคยเป็นพื้นที่การผลิตการเกษตร ทำให้จำเป็นต้องใช้พื้นที่ที่ไม่เหมาะสมกับการทำการเกษตรเพิ่มขึ้น ขาดการจัดการน้ำ การจัดการป่าพื้นที่รับน้ำ ทำให้เกิดความแห้งแล้ง น้ำท่วม ซึ่งมีผลกระทบต่อการเกษตรทั้งสิ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องแก้ด้วยการจัดการที่ดี มีประสิทธิภาพทั้งระบบ ต้องชี้แจง ทำความเข้าใจ ที่ทำให้ทุกอย่างดำรงอยู่ได้ร่วมกัน อย่างยั่งยืน ในลักษณะช่วยกันใช้ ช่วยกันรักษา และประสานประโยชน์ร่วมกัน ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ที่ต้องใช้พื้นที่และทรัพยากรอย่างเหมาะสมและยั่งยืน - การขยายพื้นที่อยู่ ชุมชน พัฒนาภาคอุตสาหกรรรม ทำให้มีการตัดไม้ทำลายป่า การปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาจากที่เคยตรึงในต้นพืช ป่าไม้ และที่สำคัญจากการใช้พลังงานจากฟอสซิล ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน อุณหภูมิสูงขึ้น ที่ส่งผลต่อการผลิตทั้งประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ความเป็นอยู่ การใช้พลังงานเพิ่มขึ้นในการควบคุมสภาพอากาศเพื่อการดำรงชีพ ทำให้สิ่งมีชีวิตมีอัตราการเจริญและทำปฏิกิริยารวดเร็วขึ้น เป็นปัญหาต่อการระบาดของโรค แมลงศัตรูพืชและสัตว์ ลดพื้นที่การผลิตของพืชเขตหนาว ขยายพื้นที่ของพืชเขตร้อน แต่ในภาพรวมทำให้พื้นที่การผลิตทางการเกษตรลดลง จากสภาพที่เปลี่ยนไปและความต้องการผลผลิตที่เพิ่มขึ้น มีคุณภาพดีขึ้น ลดปัญหาการผลิต และสภาพแวดล้อม ทำให้ต้องเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยการบริหารจัดการ ที่ทำให้ใช้พื้นที่น้อยลง ดังเช่นในอุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ระบบปิด ที่ทำให้สามารถควบคุมประสิทธิภาพและใช้พื้นที่การผลิตลงได้ ที่เรียกว่า intensive farming ที่ต้องพัฒนาระบบการจัดการน้ำ การจัดการการผลิต พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ที่มีประสิทธิภาพในการผลิต การจัดการปุ๋ย ฮอร์โมน เพื่อการผลิตใหได้ผลผลิตที่มีคุณค่าต่อการดำรงชีพ การผลิตที่ต้องอาศัยเทคโนโลยี เครื่องจักรกล ระบบที่สามารถควบคุม ทดแทนแรงงานที่เปลี่ยนไปของประชากรโลกในอนาคตที่เกษตรเปลี่ยนจากการใช้แรงคน เป็นการใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรกล ระบบความคุมอัตโนมัติ จากฟาร์ม สู่กระบวนการผลิต สู่ผู้บริโภค ซึ่งเป็นการเกษตรที่จะปรับเปลี่ยนไปในอนาคต การผลิตด้านการเกษตรในอนาคต - ต้องพึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การจัดการเชิงระบบ ทดแทนการใช้เกษตรธรรมชาติ เพื่อให้สามารถผลิตได้ตามเต็มตามศักยภาพ แม้การเกษตรอินทรีย์ก็ต้องใช้ระบบการจัดการ ความรู้และเทคโนโลยี เครื่องจักรกล - การใช้เครื่องจักรกล ระบบควบคุมการผลิต และนักวิชาการควบคุมการผลิต แทนการใช้แรงงานและเกษตรกรที่มีจำกัดและลดจำนวนลง - การผลิตต้องเป็นไปในกรอบตามมาตรฐานการผลิตที่ดีทางการเกษตร (Good Agricultural Practices : GAP) ที่เน้นความปลอดภัยของผลผลิต สภาพแวดล้อม สังคม และตรวจสอบได้ - การผลิตที่เป็นระบบเพื่อควบคุมกระบวนการ คุณภาพ ประสิทธิภาพ เพื่อแก้ปัญหาการผลิตของเกษตรกรรายย่อย - การผลิตของเกษตรกรรายย่อยจะเป็นส่วนหนึ่งของระบบ ซึ่งได้รับการดูแลปัจจับการผลิต ระบบการจัดการ อุปกรณ์ การบริหารจัดการ และการตลาด จากระบบ เช่นการรับเป็นแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ในปัจจุบัน ที่ทำให้มีความมั่นคงในการดำเนินการ สุดท้ายมาดูการวางแผนการทำการเกษตรในอนาคตบ้างครับ มีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2050 ร้อยละ 80 ของประชากรโลกจะอาศัยอยู่ในตัวเมือง จำนวนผู้คนที่เพิ่มขึ้น และการสูญเสียพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองที่เคยมีอยู่อย่างเล็กน้อยนั้น ทำให้หลาย ๆ ประเทศเริ่มมองหาการทำเกษตรกรรมในเมืองเพื่อเป็นแหล่งอาหารสำหรับประชาชน แต่สภาพแวดล้อมในเมืองนั้นไม่ได้มีพื้นที่ราบกว้างใหญ่ไพศาล ดังนั้นหนทางที่จะแก้ไขปัญหานี้ก็คือการสร้างมันขึ้นมา เกษตรกรรมแนวตั้งจึง กลายมาเป็นทางออกที่เหมาะสมซึ่งนอกจากจะทำให้ทิวทัศน์ในเมืองดูดีมีชีวิต ชีวามากขึ้นแล้ว ยังสามารถเป็นแหล่งอาหารท้องถิ่นให้แก่ประชาชนได้อีกด้วย และนี่คือ 10 ดีไซน์ของเกษตรกรรมแนวตั้งแห่งอนาคต 1 ตึกกระบองเพชร ลองจินตนาการดูสิว่าจะดีแค่ไหนหากคุณอาศัยอยู่ในอพาร์ทเมนต์หรือคอนโด แต่ ยังสามารถมีสวนผักเขียวขจีอยู่บนระเบียงอันกว้างขวาง ด้วยการออกแบบชั้นของตึกที่ลดหลั่นสลับกันไปมานี้ทำให้ผู้พักอาศัยมีพื้นที่ สีเขียวกลางแจ้งเป็นของตัวเอง ลบภาพลักษณ์เก่า ๆ เรื่องพื้นที่อันจำกัดและการห่างไกลจากธรรมชาติ เพราะตึกดีไซน์กระบองเพชรนี้จะช่วยให้เรามีโอกาสเฝ้ามองการเจริญเติบโตของ พืชอาหารที่บ้านของเราเอง 2 ตึกแมลงปอ Brillian Belgian ออกแบบตึกสีเขียวนี้โดยได้แนวคิดมาจากปีกของแมลงปอ เสมือนประหนึ่งว่าเจ้าแมลงปอปีกเขียวนี้โบยบินจากท้องฟ้าลงมาสู่ รูสเวลท์ ไอส์แลนด์ นิวยอร์ก เพื่อช่วยแก้ปัญหาช่องว่างด้านระยะทางระหว่างอาหารและผู้บริโภค โดยตึกแมลงปอนี้มี 132 ชั้น ซึ่งประกอบไปด้วยพื้นที่เกษตรกรรมต่าง ๆ ได้แก่ แปลงผัก สวนผลไม้ ฟาร์มปศุสัตว์ ฟาร์มโคนม และไร่ธัญพืช นอกจากนี้ยังมีพื้นที่สำหรับห้องวิจัย สำนักงาน หรือแม้กระทั่งที่พักอาศัยอีกด้วย 3 ฟาร์มพีระมิด หลังจากเกิดการเคลื่อนไหวเรื่องการสนับสนุนให้ทานอาหารในท้องถิ่น และเมื่อผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญกับอาหารที่สดใหม่และอาหารออร์แกนิกมาก ขึ้น ทำให้สถาปนิกต่าง ๆ ทุ่มเทกับการออกแบบอาคารเกษตรกรรมแนวตั้งในเมืองอย่างจริงจัง รวมถึงฟาร์มพีระมิดที่ออกแบบโดย Dickson Despommier และ Eric Ellison นี้ก็สามารถตอบโจทย์ดังกล่าวได้ทั้งหมด เนื่องจากภายในพีระมิดนั้นมีการทำการเกษตรแบบครบวงจร อีกทั้งยังผลิตพลังงานภายในสำหรับใช้กับเครื่องจักรต่าง ๆ ด้วย 4 โดมกระจก แพลนตากอน ภายในศตวรรษนี้ประชากรโลกส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในเมือง และพื้นที่ทางการเกษตรที่เคยมีอยู่ก็จะค่อย ๆ ลดน้อยลงไป แพลนตากอน(Plantagon) จึงเป็นอีกหนึ่งงานออกแบบของสถาปนิกที่สร้างขึ้นมารับมือกับเหตุการณ์ดัง กล่าว โดยแพลนตากอนนี้อยู่ภายในตึกกระจกทรงกลม ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่เกษตรกรรมบนเกลียวขนาดใหญ่ ออกแบบโดยบริษัทร่วมทุนระหว่างสวีเดนและสหรัฐอเมริกา คาดว่าแพลนตากอนนี้จะสามารถสร้างผลผลิตได้ภายใน 3-5 ปีนี้ 5 Harvest ตึกแห่งการเก็บเกี่ยว ผลงานการออกแบบที่ได้รับรางวัลจากเมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา ชิ้นนี้ ใช้ชื่อว่า "Harvest" โดยตั้งใจสื่อให้เห็นอย่างตรงไปตรงมาว่าอาคารที่ก่อสร้างขึ้นจะเป็นแหล่ง เจริญเติบโตของผัก ผลไม้ สมุนไพร ปลา ไก่ไข่ หรือแม้กระทั่งแกะ และแพะที่สามารถให้ผลิตภัณฑ์จากนมได้ โดยภายในอาคารจะใช้พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานใต้พิภพ และพลังงานลม นอกจากนั้นยังมีซุปเปอร์มาร์เก็ตสำหรับจำหน่ายสินค้าเกษตรขนาดใหญ่ ศูนย์วิจัยและการเรียนรู้ด้านเกษตรกรรม รวมถึงพื้นที่อยู่อาศัยอีกด้วย 6 สะพานลอนดอนโฉมใหม่ เชื่อหรือไม่ว่าแนวคิดเกี่ยวกับการแปลงโฉมสะพานลอนดอน(London Bridge)ใน อนาคตนั้นที่จริงแล้วได้แรงบันดาลใจมาจากอดีต เนื่องจากในอดีตสะพานแห่งนี้เป็นที่พบปะค้าขายระหว่างพ่อค้าและประชาชน ปัจจุบันเป็นแหล่งของนักแสดงเปิดหมวก และมักสร้างความสับสนให้แก่นักท่องเที่ยวที่กำลังมองหาสะพานทาวเวอร์ บริดจ์(Tower Bridge) แต่เมื่อสถาบันสถาปนิกของอังกฤษ(the Royal Institute for British Architects) ต้องการเห็นว่าสถาปนิกต่าง ๆ สามารถใส่จินตนาการอะไรลงไปในสะพานลอนดอนได้บ้าง จึงได้ผลงานชนะเลิศออกมาเป็นฟาร์มออร์แกนิกแนวตั้งขนาดใหญ่ ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ มีกังหันลม และเป็นศูนย์กลางการค้าของตลาดสด นอกจากนั้นด้วยทำเลที่ติดกับท่าเรือยังส่งผลให้สามารถดำเนินการค้าทางน้ำได้ อีกด้วย 7 ฟาร์มแนวตั้งในดูไบ ประเทศดูไบขึ้นชื่อในเรื่องการสร้างอาคารที่ประณีตสวยงาม รวมถึงแนวคิดอาคารสีเขียวแห่งนี้ที่แต่ละชั้นมีลักษณะกลมแบน ดูทันสมัย โดยพืชที่ปลูกจะได้รับความชื้นผ่านน้ำทะเลที่ถูกส่งผ่านขึ้นไปตามแกนตรงกลาง 8 ฟาร์มลอยตัว โดย Work AC ฟาร์มแนวตั้งชิ้นนี้เกิดจากการประกวดดีไซน์บนถนน Canal Street ของ New York Magazine โดยบริษัท Work AC ได้ออกแบบให้แตกต่างกับฟาร์มแนวตั้งทั่ว ๆ ไป เนื่องจากไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดยึดติดกับตัวอาคาร ตัวโครงสร้างตั้งได้โดยอิสระ มีเพียงเสาค้ำยันไว้เท่านั้น พื้นที่ด้านล่างสุดภายใต้ฟาร์มต่าง ๆ นั้น ได้รับการจัดสรรให้เป็นตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรที่ปลูกอยู่ด้านบนนั่นเอง 9 ตึกหุ่นยนต์ แนวโน้มเศรษฐกิจที่ตกต่ำลงส่งผลให้หลาย ๆ โครงการที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากไม่มีเงินมากพอที่จะทำต่อให้เสร็จ มีอยู่ไม่น้อยที่เพิ่งมีเพียงโครงร่างของตึกเท่านั้น บริษัทสถาปนิกเมืองบอสตัน Howeler and Yoon จึงตัดสินใจที่จะนำโครงร่างซากตึกเหล่านั้นมาทำให้เกิดประโยชน์ด้วยการติด ตั้ง Eco-Pods หรือแคปซูลฟาร์มสาหร่ายซึ่งสามารถผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพได้ โดยจะมีแขนกลทำหน้าที่สับเปลี่ยนหมุนเวียนแต่ละ Pod เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสาหร่ายที่ปลูกจะได้รับแสงแดดอย่างทั่วถึง 10 ตึกเก่าก็เขียวได้ สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความรู้สึกคัดค้านการสร้างฟาร์มเกษตรขนาดใหญ่ใน เมืองก็คือเรื่องของค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง Daekwon Park จึงเกิดแนวคิดในการใช้สิ่งที่มีอยู่แล้วอย่างตึกระฟ้าต่าง ๆ มาทำให้เขียวขึ้น ด้วยการทำโครงสร้างฟาร์มแนวตั้งขึ้นมาติดบนผนังตึกด้านนอก เมื่อเราอ่านบทความต่างๆนับแต่เริ่มแบ่งปันเรื่องโลกอนาคต เราจะเห็นว่ามีความเกี่ยวพันกันทั้งสิ้น ขอพระเจ้าประทานให้มีคนที่ลุกขึ้นมาเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกของคนในยุคนี้ ให้เห็นความสำคัญ ให้ตื่นตัว และรู้ว่าทุกสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นไปตามคำพยากรณ์ที่พระเจ้าได้บอกไว้ล่วงหน้า เราเห็นแล้วเป็นบางคน แต่ข้าพเจ้าขอพระเจ้าให้สมาชิกส่วนใหญ่ในคริสตจักรเป็นผู้กระตุ้นจิตสำนึกของคนในสังคม พร้อมๆไปกับการประกาศข่าวดีแห่งความหวังและความมั่นใจในองค์พระเยซูคริสต์ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น