เรามาดูกันว่าทำไมก๊าซเรือนกระจกจึงทำให้เกิดภาวะโลกร้อน และมันส่งผลกระทบอะไรกับโลกของเราบ้าง เมื่อหลายปีที่ผ่านมาคงมีคนเคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับปรากฏการณ์เรือนกระจกมาบ้างแล้ว  โจเซฟ ฟูริเออร์ เป็นผู้ค้นพบปรากฏการณ์เรือนกระจกเมื่อปี พ.ศ. 2367 ปรากฏการณ์เรือนกระจกนี้ทำให้โลกของเราเก็บความอบอุ่นไว้เพื่อให้สิ่งมีชีวิตในโลกดำรงค์ชีวิตอยู่ได้
แต่ในปัจจุบันประชากรของโลกเรานั้นเพิ่มขึ้นมาอย่างรวดเร็ว จากเมื่อ 57 ปีที่แล้วมี 2,500 ล้านคน ปัจจุบันเพิ่มขึ้นมาถึง 6,600 ล้านคน เมื่อประชากรกำลังขยายตัวมากขึ้น ทรัพยากรก็ถูกนำมาใช้มากมายเพื่อสนองความต้องการของพวกเรา ทั้งการตัดไม้เพื่อมาสร้างที่อยู่หรือเครื่องใช้ต่างๆ รวมไปถึงน้ำมัน ก๊าซ และถ่านหิน เกิดอุตสาหกรรมผลิตอาหารและสินค้ามากมาย ผลกระทบของการเผาผลาญพลังงานเหล่านี้ก็คือก๊าซเรือนกระจกที่ค่อยๆจับตัวกันบนชั้นบรรยากาศของโลก ในขณะที่ป่าไม้ก็ลดลงไปอย่างรวดเร็ว
เมื่อก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้จับตัวหนาอยู่บนชั้นบรรยากาศ ก็ทำให้ความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่จะต้องระบายออกไปอย่างสมดุลเป็นไปไม่ได้ โลกเราก็เลยเปรียบเหมือนเตาอบที่อุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆน้ำแข็งที่อยู่ตรงขั้วโลกและที่ธารน้ำแข็งต่างๆก็จะละลายเร็วเกินไป ปกติน้ำแข็งจะสะสมไว้ในฤดูฝน เพื่อที่จะค่อยๆละลายออกมาไหลลงเป็นแม่น้ำต่างๆ อย่างเช่นแม่น้ำคงคา 70% เป็นน้ำที่ไหลมาจากการละลายของน้ำแข็งที่เทือกเขาหิมาลัย
เมื่อน้ำแข็งละลายเร็วเกินไปก็ส่งผลกระทบมากมายให้กับสิ่งมีชีวิตที่อยู่บนโลก อย่างเช่นหมีขั้วโลกก็จะไม่มีน้ำแข็งไว้เหยียบ ต้องว่ายๆน้ำเป็นระยะทางไกลๆเพื่อหาอาหาร และอาหารของมันก็หายากมากขึ้นทุกที ทำให้หมีขั้วโลกนั้นใกล้จะสูญพันธุ์ ส่วนผลกระทบที่มีต่อพวกเรานั้นก็ได้เห็นกันไปมากมายแล้ว พอน้ำแข็งละลายอย่างรวดเร็วก็ทำให้อุณหภูมิของมหาสมุทรเปลี่ยนไป ส่งผลกระทบกับสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรงทำให้เกิดภัยพิบัติมากมาย พอน้ำในมหาสมุทรเปลี่ยนไปก็ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในทะเล พวกปะการังก็จะค่อยๆตาย แนวปะการังเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ ถ้าไม่มีปะการังสัตว์น้ำมากมายก็จะสูญพันธุ์ไป ตัวที่ยังอยู่ก็ไม่สามารถฟักไข่ได้ เพราะอุณหภูมิในน้ำไม่เหมาะสม อนาคตถ้าเรายังไม่ช่วยกันลดภาวะโลกร้อน เราอาจจะไม่มีปลากินแล้วก็ได้  
น้ำแข็งที่ละลายอย่างรวดเร็วยังทำให้น้ำในมหาสมุทรสูงขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้เฉลี่ย 3 มิลลิเมตรต่อปี แถมแผ่นดินก็เกิดเการทรุดตัวลงมาอีกด้วย แถวชานเมืองฝั่งตะวันออกของกรุงเทพทุรดตัวลงมา 5-10 เซนติเมตรต่อปี ถ้าเรายังไม่ช่วยกันลดภาวะโลกร้อน ต่อไปคงจะได้เล่นน้ำในกรุงเทพกัน เป็นทะเลกรุงเทพของแท้เลย
เราสามารถช่วยลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อลดภาวะโลกร้อนได้ โดยการหลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของที่ทำให้เกิดก๊าซเหล่านี้ เช่น ตู้เย็นเก่าๆที่ยังใช้สารทำความเย็น CFCs อยู่, พวกสเปรย์ และยาฆ่าแมลงที่มีสารพวกนี้ หรืออาจจะไม่บริโภคสินค้าที่ใช้ยาฆ่าแมลง นอกจากจะดีต่อโลกแล้วยังดีต่อตัวเองอีกด้วย และวิธีที่ดีมากๆนั่นก็คือการช่วยกันปลูกต้นไม้ นอกจากนี้ยังมีอีกหลายวิธีที่คุณก็ทำได้ มาช่วยกันเถอะครับ คนละนิดละหน่อยเพื่อลดภาวะโลกร้อน เพื่อโลกของเรานั่นเอง 

100 สถานที่ ที่น่าจดจำก่อนจะหายไปจากโลก “100 Place to Remember before they disappear”



100 สถานที่ ที่น่าจดจำก่อนจะหายไปจากโลก เป็นผลงานที่จะสะท้อนให้เห็นปัญหาของภาวะโลกร้อนที่กำลังส่งผลกระทบกับธรรมชาติและมนุษย์ ถูกจัดทำขึ้นโดยกลุ่ม Co+Life ซึ่งร่วมก่อตั้งโดย Stine Norden และ Søren Rud ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของนิทรรศการ “Earth from Above” and “Spirit of the Wild” ในประเทศเดนมาร์ก
100 สถานที่ ที่น่าจดจำก่อนจะหายไปจากโลก ถูกผลิตขึ้นมาเป็นหนังสือ โปสเตอร์ และโปสการ์ด รวมถึง 100 สารคดีสั้นๆ ของสถานที่ ที่จะหายไปจากโลกเพราะผลกระทบของภาวะโลกร้อน ที่จะได้ออกอากาศทางโทรทัศน์ของหลายๆประเทศ ซึ่งรวมถึงช่อง 3 ของประเทศไทยด้วย
ผลกระทบของภาวะโลกร้อนต่อ 100 สถานที่นั้น แบ่งออกเป็น 9 ประเภทดังนี้
1. ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น
2. การละลายของน้ำแข็งในทะเล
3. อุณหภูมิที่สูงขึ้น
4. แนวปะการังถูกทำลาย
5. ฝนตกน้อยลง
6. ธารน้ำแข็งละลาย
7. กลายเป็นทะเลทราย
8. การละลายของน้ำแข็งบนพื้นดิน
9. สภาพอากาศที่รุนแรง
ท่านสามารถเข้าไปดู 100 สถานที่ ที่ไหนจะหายไปเพราะสาเหตุข้างต้นได้ที่ www.100places.com
ส่วนกรุงเทพมหานครของเราก็เป็นสถานที่ ที่ 58 ซึ่งเราควรจะจดจำไว้ก่อนที่จะหายไปเพราะระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะหันมามองปัญหาภาวะโลกร้อน หรือต้องรอให้ถึงวันที่กรุงเทพจมอยู่ใต้ทะเลก่อน

TIME Magazine ฉบับวันที่ 9 เมษายน 2007 ได้ลงหน้าปกว่า Global Warming Survivor Guide
หรือ คู่มือเอาชีวิตรอด จาก ภาวะโลกร้อน ซึ่งมีบทความเกี่ยวกับ 51 วิธี แก้ปัญหา โลกร้อน ที่พวกเราสามารถทำได้




The Global Warming Survival Guide

Can one person slow global warming? Actually, yes. You—along with scientists, businesses and governments—can create paths to cut carbon emissions. Here is our guide to some of the planet's best ideas.


Read more:http://www.time.com/time/specials/packages/completelist/0,29569,1602354,00.html#ixzz1EMsDnjsz

ภาพข้างล่างนี่บ่งบอกถึงสภาวะโลกร้อนได้ชัดเจนครับ
ภาพธารน้ำแข็ง (glacier) ในเปรู ปี 1980
ภาพธารน้ำแข็ง (glacier) ในเปรู ปี 2002


สารคดีนี้ทำไว้เมื่อ 5 ปีที่แล้ว นั่นแสดงว่าภาวะโลกร้อนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นนานแล้ว แต่ขึ้นกับว่าเรารู้ตัวหรือเปล่า เราป้องกัน เราช่วยลดโลกร้อนหรือเปล่า สิ่งที่ส่งผลกระทบโดยตรงคือบริเวณริมทะเล น้ำจะสูงขึ้น แล้วพื้นที่ที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน ไม่ต้องตกใจในผลกระทบนี้อย่างนั้นหรือ ไม่ใช่แน่นอน คลื่นความร้อนเกิดที่ไหนก็ได้แม้ในที่ที่ไม่มีน้ำทะเลสูงขึ้น ผลกระทบต่อป่าเกิดความแห้งแล้ว ไฟไหม้ป่าล่ะ ยังมีเรื่องสัตว์สายพันธุ์ต่างๆสูญพันธุ์ เชื้อโรคต่างๆที่จะมีการเปลี่ยนแปลงไปเพราะอุณหภูมิโลกที่เปลี่ยนแปลงไป