วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2554

โลกอนาคต : เศรษฐกิจโลก

สวัสดีครับ วันนี้เรามาดูกันต่อว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นกับโลกของเราต่อไปในอนาคต บางสิ่งก็เกิดขึ้นแล้วซึ่งเป็นไปตามคำพยากรณ์ในพระคัมภีร์ เช่น แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อวานนี้ 8.9 ริกเตอร์ พร้อมกับทำให้เกิดคลื่นสึนามิ สร้างความเสียหายให้กับญี่ปุ่นครั้งที่รุนแรงที่สุดในรอบ 300 ปี  ก็เป็นไปตามพระวจนะพระเจ้า ที่ผมเคยเขียนไว้ใน เหตุการณ์ในยุดก่อนพระเยซูเสด็จมาและการเตรียมตัว  


กลับมาที่โลกอนาคต วันนี้จะแบ่งปันเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจของโลก ซึ่งบางทัศนะก็บอกว่าเศรษฐกิจการค้าขายในอนาคตจะผูกติดอยู่กับสิ่งที่เป็นความเป็นห่วงในปัจจุบันคือเรื่องโลกร้อน  หรือระบบเศรษฐกิจที่ไปผูกอยู่กับการแย่งชิงทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดมากขึ้น  หรือระบบเศรษฐกิจที่จะเปลียนแปลงไปในอนาคตเพราะมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆเกิดขึ้นมาใหม่ นอกจากกลุ่มG7


DHL เผยผลการศึกษาแนวโน้มของโลกในอนาคต

Written by Logisticsdigest   
Delivering Tomorrow ? Customer Needs in 2020 and Beyond
Deutsche Post DHL ผู้นำธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ระดับโลก ได้เผยแพร่ผลการศึกษาล่าสุดในหัวข้อ "Delivering Tomorrow ? Customer Needs in 2020 and Beyond" ซึ่งนำเสนอผลการศึกษาความเห็นในหัวข้อต่างๆ เช่น โลกาภิวัตน์ เศรษฐกิจ เทคโนโลยี โลจิสติกส์ สิ่งแวดล้อมและสังคม โดยเป็นการรวบรวมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญจากนานาชาติรวม 900 ท่าน ประกอบด้วยซีอีโอจากบรรษัทลงทุนข้ามชาติ (MNCs) และนักวิชาการ การศึกษาดังกล่าวได้เผยให้เห็นถึงทิศทางที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อดังกล่าวจากปี 2563 เป็นต้นไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการวางกลยุทธ์ทางธุรกิจในอนาคตได้เป็นอย่างดี

ประเด็นหลักๆ ของรายงานฉบับนี้ ได้แก่ วิวัฒนาการสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงด้านความคาดหวังและพฤติกรรมของลูกค้าที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี และการปรากฏตัวของจีนในฐานะผู้นำด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยี การศึกษานี้ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างในระดับภูมิภาคที่น่าสนใจ ด้วยความเห็นที่ต่างกันในเรื่องต่างๆ โดยผู้ร่วมตอบคำถามจากเอเชีย ยุโรป และอเมริกา อย่างไรก็ตามผู้เข้าร่วมตอบแบบสอบถามจำนวนมากซึ่งไม่ว่าจะเป็นชนชาติใดต่างให้ความสนใจกับบริษัทและบุคลากรในเอเชีย
 dhl_gogreen_003.jpg  
ทั้งนี้ Deutsche Post DHL ได้จัดทำแผนการกำหนดทิศทางสำหรับเหตุกาณ์ที่อาจเป็นไปได้ในอนาคต โดยกลุ่มบริษัทได้นำความรู้ที่ได้จากการรวบรวมแบบสอบถามมานำเสนอในรูปแบบกลยุทธ์ขององค์กรเมื่อไม่นานมานี้ "ผลจากการศึกษาแสดงให้เห็นว่าบริษัทต่างๆ ในอนาคตจะให้ความสำคัญกับประเด็นด้านความยั่งยืน การศึกษา และความรับผิดชอบทางสังคม ซึ่งกลุ่มบริษัทของเรามีความพร้อมเต็มที่สำหรับความท้าทายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพราะเราได้เดินหน้าและเน้นย้ำในประเด็นหลักๆ เหล่านี้มาแล้วหลายโครงการ เช่น โครงการ GoGreen และ Teach First" Mr. Frank Appel, CEO of Deutsche Post DHL กล่าว
   
การศึกษาและวิจัยในหัวข้อ "Delivering Tomorrow ? Customer Needs in 2020 and Beyond" จัดทำขึ้นระหว่างเดือนมิถุนายน 2551 ถึง มกราคม 2552 โดยผู้เข้าร่วมงานวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ซีอีโอจากบริษัทระหว่างประเทศชั้นนำ นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ อนาคตวิเคราะห์ และโลจิสติกส์ และผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการคัดเลือกโดยลูกค้าจากหลายแขนงรวม 900 ท่านจากทั่วโลก เสนอความคิดเห็นอย่างละเอียดในแบบสอบถามเกี่ยวกับทฤษฎีแห่งอนาคต 81 บทที่ได้รับการริเริ่มขึ้นมา การศึกษานี้ใช้วิธี Delphi ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กันมาตั้งแต่ช่วง 2493 และเป็นกระบวนการวิเคราะห์ที่มีหลายขั้นตอน โดยผู้เชี่ยวชาญจะให้ความเห็นเกี่ยวกับทฤษฎีที่หลากหลาย ซึ่งกระบวนการที่เป็นระบบนี้ช่วยการศึกษาที่ใช้วิธี Delphi ในการคาดคะเนอนาคตแม่นยำและสอดคล้องมากขึ้นกว่าผลที่ได้จากการทำแบบสอบถามทั่วไป ผลการคาดการณ์ที่สำคัญจากการศึกษาชิ้นนี้มุ่งไปยังหัวข้อความท้าทายของภาวะโลกร้อน อิทธิพลของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้น และธุรกิจด้านโลจิสติกส์ที่ทวีความสำคัญยิ่งขึ้น
   
ภาวะโลกร้อน และการลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ภาวะโลกร้อนเป็นความท้าทายอันยิ่งใหญ่ที่มวลมนุษยชาติต้องเผชิญ ผู้เข้าร่วมงานวิจัยคาดการณ์ว่า ในอนาคตการตัดสินใจซื้อสินค้าจะไม่ยึดแบรนด์ คุณภาพและราคา แต่จะคำนึงถึงผลกระทบของสินค้าและบริการที่มีต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ "หากวันนี้คุณอ่านฉลากบนขวดแยม คุณจะพบว่ามีปริมาณแคลอรี่ระบุอยู่บนขวด แต่ในปี 2563 บนฉลากจะมีการชี้แจงเพิ่มเติมถึงปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาจากกระบวนการผลิตและการขนส่งสินค้า" Mr. Frank Appel กล่าว ผู้บริโภคยินดีที่จะจ่ายมากขึ้นอีกระดับหนึ่งเพื่อให้ได้สินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พฤติกรรมผู้บริโภคจะก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างแน่วแน่ในด้านการปรับปรุงมาตรฐานสิ่งแวดล้อม และผู้ให้บริการที่ปัจจุบันไม่ค่อยใส่ใจในเรื่องของสภาพแวดล้อมนัก กำลังพยายามขจัดจุดด้อยของตนให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
 มีความแตกต่างบางประการระหว่างความเห็นจากฝั่งตะวันออกและตะวันตก ตัวอย่างเช่น ผู้เชี่ยวชาญชาวเอเชียมีแนวโน้มที่จะเชื่อในเรื่องปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกเกี่ยวกับเมืองที่ปราศจากการปล่อยมลพิษ "zero-emissions cities" มากกว่าผู้เชี่ยวชาญชาวยุโรป แอฟริกา และอเมริกา ผู้เชี่ยวชาญชาวเอเชียยังเชื่ออีกว่า ลูกค้าได้เตรียมพร้อมสำหรับการรอรับสินค้าซึ่งต้องรอนานกว่าเดิม เพื่อแลกกับระบบการขนส่งที่เป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อมมากขึ้น
บริษัทโลจิสติกส์เป็นผู้นำทางdhl_gogreen_002.jpgอย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญไม่ได้คาดการณ์ถึงผลกระทบที่รุนแรงต่อระบบสังคมและการเมืองที่มีอยู่ในปัจจุบันแม้ว่าจะเกิดวิกฤติทางการเงินก็ตาม แต่ในปี 2563 โลกจะยังคงเดินหน้าด้วยกลไกตลาด การแข่งขันเพื่อการเติบโต ความมั่งคั่ง และแหล่งวัตถุดิบจะมีอยู่ต่อไป โดยมีประเทศและบริษัทต่างๆ ที่มีบทบาทสำคัญ แนวโน้มในการจ้างบริษัทอื่นผลิตสินค้าแทนการผลิตเองจะยังคงดำเนินต่อไป และบริษัทจำนวนมากจะพิจารณาถึงห่วงโซ่มูลค่าระดับโลกมากขึ้นเพื่อศักยภาพด้านการแข่งขัน การศึกษายังได้คาดการณ์อีกว่าบริษัทต่างๆ จะต้องร่วมมือกันมากขึ้นและใกล้ชิดกันยิ่งกว่าเดิม ในฐานะผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลง อุตสาหกรรมโลจิสติกส์จะเป็นตัวอย่างที่อุตสาหกรรมอื่นๆ จะปฏิบัติตาม เพื่อให้สามารถแข่งขันกับต้นทุนด้านพลังงานที่สูงขึ้น บริษัทโลจิสติกส์ต่างๆ จะลงทุนเพิ่มขึ้นในแง่ของทรัพยากรเพื่อสร้างเครือข่ายร่วมกัน Mr. Frank Appel อธิบายว่า "เป้าหมายของเราอย่างหนึ่งคือ การทำให้โลจิสติกส์ในอนาคตเป็นมิตรต่อสภาพแวดล้อมให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ตัวอย่างเช่น เราได้ให้บริการการขนส่งที่คำนึงถึงการปล่อยก๊าซคาร์บอน อีกทั้ง เรายังเป็นบริษัทโลจิสติกส์แห่งแรกที่ริเริ่มโครงการรักษาภูมิอากาศที่ตั้งเป้าหมายอย่างชัดเจนในการลดจำนวนการปล่อยก๊าซ เราเดินมาในเส้นทางที่ถูกต้องแล้ว แต่การศึกษาแสดงให้ว่าคู่แข่งของเราจำนวนไม่น้อยจะหันมาปฏิบัติในแนวทางเดียวกับเราภายในปี 2563 โดยเราจะมุ่งมั่นในการแสวงหาวิธีใหม่ๆ มาปฏิบัติเพื่อคงความเป็นผู้นำต่อไป
การทำธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ต ทุกที่ ทุกเวลา ลูกค้าในปี 2563 อาจจะคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม แต่อย่างไรก็ตาม ลูกค้าก็จะยังคงมีความต้องการสินค้าและบริการที่ขนส่งได้อย่างรวดเร็วที่สุด ดังนั้น ผู้บริโภคต้องการข้อมูลแบบเรียลไทม์ที่มีความละเอียดและชัดเจนยิ่งขึ้นจากซัพพลายเออร์ สิ่งนี้เองที่จะทำให้อินเทอร์เน็ตมีบทบาทสำคัญมากขึ้น ในประชากรจำนวนมาก โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่เกิดใหม่ จะทำกิจกรรมออนไลน์เกือบตลอดเวลา และประชากรสามพันล้านคนจะดำเนินธุรกิจบนเว็บไซต์เพียงอย่างเดียว การเปลี่ยนแปลงนี้จะไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในวงการธุรกิจเท่านั้น แต่จะขยายตัวไปยังทุกๆ สาขาอาชีพ นอกจากนี้ ความต้องการบริการที่มีความคล่องตัวและสามารถเรียกใช้ได้ตลอดเวลาจะเพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
dhl_gogreen.jpg
ทัศนคติเชิงบวกแม้ว่าการก่อการร้าย และโรคติดต่อทั่วโลกจะยังคงเป็นสิ่งที่น่ากลัวในอนาคต ผู้เชี่ยวชาญเชื่อมั่นว่าผลการวิจัยยังคงเป็นประโยชน์ต่อการลงทุนทางการเงินและเทคโนโลยี ที่เป็นที่น่าสนใจก็คือ ผู้เชี่ยวชาญชาวเอเชียต่างมองปัญหาด้านความปลอดภัยและสาธารณสุขไปในเชิงลบ แต่มีความมั่นใจในความสามารถของเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนโฉมการดำเนินธุรกิจและมีบทบาทใหม่ที่สำคัญในโลกแห่งการค้า
แนวโน้มที่คล้ายๆ กันนี้สอดคล้องกับประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น ผู้ร่วมตอบแบบสอบถามจากเอเชียมั่นใจว่าการควบคุมจำนวนประชากรโดยภาครัฐจะมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่จะช่วยชะลอการเติบโตของจำนวนประชากร และส่วนมากคาดการณ์ว่าประชากรโลกจะมีจำนวน 7 พัน ถึง 8 พันล้านคน ในทางตรงกันข้าม ผู้ร่วมตอบแบบสอบถามจากอีกซีกโลกกลับเชื่อว่า จำนวนประชากรโลกจะยังคงเพิ่มขึ้น ซึ่งรวมถึงการใช้ทรัพยากรต่างๆ ด้วย "อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายต่างมีทัศนคติในเชิงบวก พวกเขาเชื่อว่า เราสามารถควบคุมความท้าทายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเหล่านี้ได้ด้วยระบบเศรษฐศาสตร์การตลาด" Mr. Frank Appel กล่าวสรุป
10 อันดับเทรนด์ของโลกในอนาคต    
การพัฒนาระดับโลก: การขยายตัวของเศรษฐกิจโลก
1. ภาวะโลกร้อนจะเป็นประเด็นร้อนที่ผลักดันให้สินค้าและบริการเกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่เพื่อให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การพัฒนาพลังงานยั่งยืนถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการเบลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่นี้
2. ความแตกต่างทางชนชั้นทางเศรษฐกิจจะเพิ่มสูงขึ้น และความขัดแย้งทางสังคมมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นด้วย ดังนั้นการใช้งบประมาณด้านความมั่นคงและความปลอดภัยจะสูงขึ้นเช่นเดียวกัน
3. จีนจะผงาดเป็นผู้นำด้านการขยายตัวทางเศรษฐกิจและกลายเป็นหนึ่งในผู้นำของโลกด้านเทคโนโลยี

ลูกค้า "ใหม่": ความต้องการ ความคาดหวัง และพฤติกรรมใหม่ๆ
4. อินเทอร์เน็ตจะเปลี่ยนความคาดหวังและพฤติกรรมของลูกค้าทั่วโลก ซึ่งประเด็นหลักมุ่งเน้นไปยังลักษณะความเป็นปัจเจกบุคคล ความโปร่งใส ความสามารถที่ใช้งานได้ตลอดเวลา และความรวดเร็ว
5. การบริโภคอย่างมีจิตสำนึกและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมจะกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดพฤติกรรมการใช้จ่าย
6. ความสะดวกสบาย และความเรียบง่าย จะเป็นความต้องการหลักของผู้บริโภค
7. การสื่อสารระหว่างบุคคลต่อบุคคลยังคงทรงอานุภาพอยู่
ปรับโฉมโลจิสติกส์: รูปแบบใหม่ของอุตสาหกรรม
8. อุตสาหกรรมลอจิสติกส์จะกลายเป็นผู้กำหนดทิศทางและสร้างแบบแผนใหม่ๆ เพื่อความร่วมมือระหว่างองค์กร และธุรกิจสีเขียว
9. การจ้างบริษัทอื่นผลิตสินค้าแทนการผลิตเองจะก่อให้เกิดโอกาสใหม่ๆ และห่วงโซ่มูลค่าจะขยายตัวไปในทุกทิศทางสำหรับบริการที่เกี่ยวข้องกับลอจิสติกส์
10. ผู้ให้บริการโลจิสติกส์จะพัฒนาเป็นผู้ให้คำปรึกษา โดยบริการเสริมต่างๆ จะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่การบริการ


โลกในอนาคตปี ค.ศ. 2020
Barry Desker ผู้อำนวยการ (Dean) ของ Rajaratnam School of International Studies มหาวิทยาลัยนันยาง ซึ่งเป็นสถาบันวิชาการและ think-tank ของรัฐบาลสิงคโปร์ ให้ข้อคิดเห็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับแนวโน้มของสภาพการณ์ระหว่างประเทศในปี ค.ศ. 2020 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
การสิ้นสุดของตัวแบบ Anglo-Saxon (End of the Anglo-Saxon Model)
ประการแรก แม้ว่าสหรัฐอเมริกาจะยังคงเป็นผู้นำในโลก แต่สภาพการเป็นมหาอำนาจขั้วเดียวที่ครองอำนาจ (unipolar moment of American dominance) ได้ผ่านไปแล้ว สหรัฐอเมริกาจะสามารถแสดงความเป็นผู้นำต่อไปได้ก็ต่อเมื่อสามารถโน้มน้าวให้มหาอำนาจอื่น ๆ ร่วมมือดำเนินการ  ทั้งนี้ ภายในปี ค.ศ. 2020 จีนจะกลายมาเป็นเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก อินเดียจะยังคงเติบโตอย่างสม่ำเสมอ รัสเซียจะฟื้นกลับมาอีกครั้งเนื่องจากทรัพยากรน้ำมันและแร่ธาตุของประเทศ บราซิล อิหร่าน อินโดนีเซีย และตุรกีจะมีอิทธิพลมากขึ้น  ถ้าหากสามารถรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจและเสถียรภาพทางการเมืองไปจนถึงทศวรรษหน้า ทั้งนี้ ในขณะที่ยังไม่มีประเทศใดกล้าท้าทายความเป็นผู้นำของสหรัฐอเมริกาโดยตรง แต่เราจะเห็นอิทธิพลที่เพิ่มขึ้นของมหาอำนาจอื่น ๆ ในประเทศและภูมิภาครอบ ๆ มหาอำนาจเหล่านั้น หรือในภูมิภาค เช่น แอฟริกา ซึ่งสหรัฐฯ ไม่ได้ให้ความสนใจนักตั้งแต่หลังสงครามเย็นสิ้นสุดลง
            ประการที่สอง เราคงได้เห็นแนวโน้มของกฎระเบียบระหว่างประเทศที่มากขึ้นและข้อเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการบริหารจัดการการเมืองและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปัจจุบันได้บ่อนทำลายความชอบธรรมของ “ตัวแบบกลไกตลาดที่มีประสิทธิภาพ”ซึ่งสังคม Anglo-Saxon สนับสนุน นอกจากนี้ ตลาด sub-prime ของสหรัฐฯ ที่ล้มเหลว  และจุดอ่อนในเรื่องการกำกับดูแลภาคการเงินและธุรกิจที่ปรากฏขึ้น เช่น กรณีฉ้อโกงของ Bernie Madoffจะสร้างแรงกดดันให้มีการออกกฎระเบียบขึ้นมาควบคุมทั้งภายในและระหว่างประเทศอย่างรัดกุมขึ้น  ในการประชุมรัฐมนตรีคลังของ G 20 ที่ผ่านมา ผู้นำประเทศในทวีปยุโรปได้เริ่มผลักดันให้มีการออกกฎระเบียบกำกับดูแลระบบการเงินและเศรษฐกิจโลกที่เข้มงวดขึ้น ในขณะที่ประเทศในเอเชียตะวันออกจะมีความมั่นคงเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับตัวแบบการกำกับการค้าที่เสรีของตนภายใต้การควบคุมดูแลต่อตลาดเงินและธุรกิจที่เข้มงวดโดยภาครัฐ
            หากองค์การและสถาบันการเมืองเศรษฐกิจระหว่างประเทศจะสามารถรักษาบทบาทในการสร้างกฎระเบียบให้กับสังคมโลกไว้ได้ องค์การและสถาบันเหล่านั้นจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการตัดสินใจเนื่องจากปัจจุบัน เป็นที่เข้าใจได้ยากว่า  เหตุใดจีนจึงมีสิทธิออกเสียงภายใต้ International Monetary Fund น้อยกว่าเสียงของเบลเยี่ยมและเนเธอร์แลนด์รวมกัน หรือเหตุใดองค์ประกอบของสมาชิกถาวรของ UN Security Council ซึ่งตกทอดมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยังไม่ได้รับการปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงที่เปลี่ยนไป
        
The Darfur Syndrome
            ประการที่สาม เราจะเห็นการแข่งขันแย่งชิงทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดมากยิ่งขึ้น เช่น พลังงาน น้ำ และอาหาร แตกต่างจากเมื่อ 30 ปีก่อนซึ่งมีการปฏิวัติเขียวและผลผลิตด้านเกษตรกรรมอย่างพอเพียง รวมทั้งราคาพลังงานที่ไม่แพงทำให้เชื่อที่ว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจสามารถดำเนินไปได้โดยไม่ต้องเผชิญกับคำถามและความยากลำบากในการตัดสินใจที่เป็นผลของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลลบต่อสิ่งแวดล้อมเช่นในปัจจุบัน นอกจากนี้ ความขัดแย้งภายในประเทศเกี่ยวกับการแก่งแย่งช่วงชิงอาหารและทรัพยากรน้ำจะกลายเป็น “ประเด็นความมั่นคง”ที่นานาประเทศให้ความสนใจ ปัจจุบัน มี 21 ประเทศที่ขาดแคลนพื้นที่เพาะปลูกหรือแหล่งน้ำ โดยภายในปี ค.ศ. 2025 ประเทศที่ขาดแคลนจะเพิ่มขึ้นเป็น 36 ประเทศรวมประชากรทั้งสิ้นประมาณ 1.4 พันล้านคน สำหรับสาเหตุหลักของสถานการณ์ความขัดแย้งในดาร์ฟูร์คือการช่วงชิงทรัพยากร แต่ผู้คนมักกล่าวถึงสถานการณ์นี้ในแง่มุมของความแตกต่างระหว่างเผ่า ชาติพันธุ์ และศาสนา ทั้งนี้ มีแนวโน้มที่ประเทศมหาอำนาจหรือกลุ่มประเทศที่กำลังมีอำนาจเพิ่มขึ้น เช่น จีน เกาหลีใต้ และซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีข้อห่วงกังวลเรื่องอาหารจะเข้าไปลงทุนด้านเกษตรกรรมในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวก่อให้เกิดคำถามเรื่อง “ยุคอาณานิคมใหม่” (neo-colonialism) ขึ้น เช่น การที่จีนเข้าไปถือครองพื้นที่จำนวนมากและใช้แรงงานจีนทำการเพาะปลูกในโมแซมบิก
การวางนโยบายในโลกอันยุ่งเหยิง
            ในโลกปัจจุบันและอนาคต นอกจากในตะวันออกกลางและรัสเซียแล้ว เราจะเห็นแนวโน้มของการผลิตหรือกลั่นน้ำมันที่ลดลง รวมทั้งการใช้ก๊าซธรรมชาติและพลังงานทดแทนอื่น ๆ เช่น ถ่านหิน เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี แหล่งพลังงานสำรองก็กระจุกตัวอยู่จำกัดในบางพื้นที่ เช่น ร้อยละ 57 ของก๊าซธรรมชาติสำรองกระจุกตัวอยู่ในรัสเซีย อิหร่าน กาตาร์ ในขณะที่ร้อยละ 67 ของถ่านหินกระจุกตัวอยู่ในสหรัฐฯ จีน อินเดีย รัสเซีย แต่กระนั้นก็ตาม การจะปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานจากแหล่งที่มิใช่น้ำมันมักประสบปัญหาเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยี ต้นทุนโครงสร้างใหม่ที่จะมารองรับ และระยะเวลาการปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีใหม่
            โดยสรุป โลกในอนาคตจะวุ่นวายมากยิ่งขึ้นและแตกต่างไปจากช่วงสงครามเย็นที่มีความแน่นอนชัดเจนค่อนข้างสูง บรรดานักการทูตและเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงจึงต้องสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมทั้งภายในและระหว่างประเทศให้ได้ โลกในทศวรรษหน้าจะเป็นเรื่องของการที่ประเทศจับกลุ่มและเปลี่ยนกลุ่มไปตามผลประโยชน์ร่วมกันเป็นเรื่อง ๆการวางนโยบายอย่างมีประสิทธิผลจึงต้องอาศัยความยืดหยุ่น นวัตกรรมและการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ตลอดจนความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในสภาพแวดล้อม

-------------------------
Barry Desker, Imagine the future: the world in 2020, RSIS Commentaries, 16 September 2009.




ระบบเศรษฐกิจโลกในปี 2050

ระบบเศรษฐกิจโลกในปี 2050
สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ปีที่ 57 ฉบับที่ 17 วันศุกร์ที่ 15 - วันพฤหัสที่ 21 มกราคม 2553

ภาพรวม

ในปี 2050 คือ ในอีก 40 ปีข้างหน้า ระบบเศรษฐกิจโลกจะเปลี่ยนแปลงไปมาก โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจทางเศรษฐกิจ สหรัฐฯและยุโรป ซึ่งในปัจจุบันเป็นผู้นำเศรษฐกิจโลก ในอนาคตจะสูญเสียสถานะดังกล่าว โดยการผงาดขึ้นมาของมหาอำนาจเศรษฐกิจใหม่ จากเอเชียและลาตินอเมริกา ในปี 2050 60% ของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ G20 จะมาจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของ 5 ประเทศเศรษฐกิจใหม่ ได้แก่ บราซิล จีน อินเดีย รัสเซีย และเม็กซิโก อย่างไรก็ตาม ในอีก 40 ข้างหน้า GDP ต่อหัว ของประเทศเหล่านี้จะยังคงต่ำกว่ากลุ่มประเทศร่ำรวยเดิม คือ กลุ่มประเทศ G7 อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะกระทบอย่างมากต่อระเบียบเศรษฐกิจโลก การปฏิรูปกลไกเศรษฐกิจโลกจาก G8 มาเป็น G20 ได้เริ่มชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มของระเบียบเศรษฐกิจโลกในอนาคต

การผงาดขึ้นมาของมหาอำนาจเศรษฐกิจใหม่

ใน 40 ข้างหน้า GDP ของ G20 จะโตโดยเฉลี่ย 3.6 % โดยในปี 2009 G20 มี GDP รวมกันมูลค่า 38 ล้านล้านเหรียญ แต่ในปี 2050 จะเพิ่มขึ้นเป็น 160 ล้านล้านเหรียญ แต่ 60% ของ GDP ที่เพิ่มขึ้นจะมาจากมหาอำนาจเศรษฐกิจใหม่ 5 ประเทศ คือ บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และเม็กซิโก ซึ่งกลุ่มนี้อาจเรียกว่า กลุ่ม BRIC+M เศรษฐกิจของกลุ่มนี้จะโต 6% ต่อปี ซึ่งจะทำให้สัดส่วน GDP ของกลุ่มนี้ใน G20 เพิ่มขึ้นจาก 18% ในปี 2009 เป็นเกือบ 50% ในปี 2050 ในทางตรงกันข้าม GDP ของมหาอำนาจเศรษฐกิจเก่า คือ กลุ่ม G7 จะโตเพียง 2% ต่อปี ซึ่งจะทำให้สัดส่วน GDP ใน G20 ลดลงจาก 72% ในปี 2009 เหลือเพียง 40% ในปี 2050

หากปรับตัวเลขโดยใช้หลัก Purchasing Power Parity หรือ PPP (เป็นการปรับมูลค่าเศรษฐกิจโดยคำนึงถึงอำนาจในการซื้อที่ต่างกันของแต่ละประเทศ) จะยิ่งเห็นความเปลี่ยนแปลงมากขึ้นอีก โดยในปี 2050 เศรษฐกิจของ BRIC+M จะใหญ่เป็น 2 เท่า เมื่อเทียบกับเศรษฐกิจของ G7 และจะมีสัดส่วนถึง 60% ของ GDP ของ G20 ในขณะที่ G7 จะมีสัดส่วนแค่ 28%

3 ยักษ์ใหญ่

ในปี 2050 จีน อินเดีย และสหรัฐฯ จะเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก โดยเฉพาะ จีนกับอินเดีย GDP จะเพิ่มขึ้นเกือบ 60 ล้านล้านเหรียญ แต่ความแตกต่างในเรื่อง GDP ต่อหัวระหว่าง 3 ประเทศยังมีอยู่ โดยถึงแม้ว่า GDP ของมหาอำนาจเศรษฐกิจใหม่ จะเพิ่มขึ้น แต่ GDP ต่อหัวยังคงต่ำอยู่ โดยรายได้เฉลี่ยของประเทศเหล่านี้จะอยู่ที่ประมาณ 22,000 เหรียญต่อคนต่อปี ซึ่งต่ำกว่าสหรัฐฯและกลุ่ม G7 เป็นอย่างมาก

การคาดการณ์ว่า ในปีอะไร เศรษฐกิจจีนจะใหญ่เท่ากับสหรัฐฯ และจะแซงสหรัฐฯ ก็ยังมีความเห็นที่แตกต่างกันในหมู่นักเศรษฐศาสตร์ แต่ประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่า จีนจะไล่ทันสหรัฐฯได้หรือไม่ แต่คำถาม คือ เมื่อไรเท่านั้นเอง จากการคำนวณของ Council on Foreign Relations ได้ฟันธงว่า จีนจะแซงหน้าสหรัฐฯ ในการเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกในปี 2032 อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์บางสำนักได้คำนวณว่า จีนจะแซงหน้าสหรัฐฯ ก่อนหน้านั้น สำนักหนึ่งฟันธงว่า ภายในปี 2025 GDP จีนจะเท่ากับสหรัฐฯ โดยเฉพาะถ้าใช้หลัก PPP มาคำนวณ และเศรษฐกิจจีนจะแซงหน้าสหรัฐฯ ไปแบบไม่เห็นฝุ่น โดยในปี 2050 เศรษฐกิจจีนจะใหญ่เท่ากับเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และ EU รวมกัน

หากมองในแง่ประวัติศาสตร์ การผงาดขึ้นมาของจีนนั้น ดูเป็นเรื่องปกติ เพราะตั้งแต่สมัยโบราณมาจนถึงศตวรรษที่ 19 จีนก็มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกมาตลอด ตัวอย่างเช่นในปี 1600 เศรษฐกิจจีนก็ใหญ่ที่สุดในโลก คิดเป็น 30% ของเศรษฐกิจโลก

อย่างไรก็ตาม ยังมีการถกเถียงกันอยู่ว่า จีนจะแซงอเมริกาไปแบบไม่เห็นฝุ่นหรือไม่ บางสำนักบอกว่า จีนจะแซงไปแบบไม่เห็นฝุ่น แต่บางสำนัก ก็ประเมินว่า จีนจะแซงเมริกาไปไม่มาก โดยอ้างว่า ในปี 2009 GDP ของสหรัฐฯใหญ่กว่าจีนหลายเท่า และถ้าหากในอนาคต สหรัฐฯสามารถรักษาระดับอัตราการเจริญเติบโตอยู่ที่ประมาณ 2-3 % ก็จะทำให้สหรัฐฯ ไม่ถูกจีนทิ้งห่างมากเท่าใดนัก

สำหรับจีนนั้น มีการคาดการณ์ว่า อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยจะอยู่ที่ 5-6% ซึ่งจะทำให้ GDP ของจีนเพิ่มขึ้นจากในปี 2009 ที่มีมูลค่า 3 ล้านล้านเหรียญ เป็น 45 ล้านล้านเหรียญในปี 2050 ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ในปี 2050 เศรษฐกิจจีนจะใหญ่กว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ 20% แต่ถ้าปรับเป็น PPP เศรษฐกิจจีนจะใหญ่กว่าสหรัฐฯเกือบ 90%

สำหรับอินเดีย มีการคาดการณ์ว่า จะมีอัตราการเจริญเติบโตสูงที่สุด แต่โดยที่ในปัจจุบันเศรษฐกิจของอินเดียมีขนาดเล็กกว่าเศรษฐกิจจีนและสหรัฐฯมาก ดังนั้น ในปี 2050 อินเดียยังจะไล่จีนและสหรัฐฯไม่ทัน แต่ GDP ของอินเดียจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก จาก 1 ล้านล้านเหรียญในปี 2009 เพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 18 ล้านล้านเหรียญในปี 2050 คือเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า

สำหรับสถานะทางเศรษฐกิจของ EU นั้น ปัจจุบัน เยอรมนี อังกฤษ ฝรั่งเศส และอิตาลี เป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดใน EU แต่ในปี 2050 อังกฤษ จะมีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดใน EU และเป็นอันดับ 7 ของโลก อย่างไรก็ตาม GDP ของ 4 ประเทศนี้ จะเล็กกว่า GDP ของอินเดียเกือบครึ่ง และเมื่อเทียบกับจีนแล้ว จะมีขนาดไม่ถึง 1 ใน 4 ของ GDP จีน แนวโน้มในอนาคต หาก EU จะรักษาสถานะของตน คงจะต้องเดินหน้าบูรณาการทางเศรษฐกิจ โดยในปี 2009 GDP ของ EU ทั้งกลุ่ม คิดเป็น 14 ล้านล้านเหรียญ ซึ่งใหญ่กว่า GDP ของสหรัฐฯ เสียอีก ในปี 2050 คาดว่า EU จะมีอัตราการเจริญเติบโตประมาณ 1.5% ซึ่งจะทำให้มี GDP ประมาณ 25 ล้านล้านเหรียญ

สำหรับรัสเซีย ซึ่งในอดีตและปัจจุบันเป็นมหาอำนาจประเทศหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ในระยะยาว ในปี 2050 บทบาทของรัสเซียคงจะลดลงเรื่อย ๆ และขนาดเศรษฐกิจของรัสเซียก็คงจะถูกแซงโดยมหาอำนาจเศรษฐกิจใหม่ ดังนั้น ในระเบียบเศรษฐกิจโลกใหม่ในอนาคต บทบาทของรัสเซียคงจะลดลงไปมาก

ระเบียบเศรษฐกิจโลกใหม่

การผงาดขึ้นมาของมหาอำนาจเศรษฐกิจใหม่ และตัวแสดงใหม่ ๆ เหล่านี้ โดยเฉพาะการผงาดขึ้นมาของประเทศในเอเชียและลาตินอเมริกา จะทำให้ การแบ่งประเทศเป็นประเทศพัฒนาแล้วกับกำลังพัฒนา คงจะล้าสมัย และคงจะมีคำถามตามมามากมายเกี่ยวกับระเบียบเศรษฐกิจโลกใหม่ รวมทั้งบทบาทและโครงสร้างขององค์การระหว่างประเทศและสถาบันการเงินระหว่างประเทศในปี 2050 ยังไม่มีความชัดเจนว่า มหาอำนาจเศรษฐกิจใหม่จะมีอิทธิพลเพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ไหน และอำนาจในการจัดการเศรษฐกิจโลกจะยังคงอยู่ในมือของกลุ่ม G7 ต่อไปหรือไม่ อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ว่า ระเบียบเศรษฐกิจโลกและสถาบันระหว่างประเทศจะมีการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ในอนาคต และการที่ G20 มาแทนที่ G8 ก็เป็นการเริ่มส่งสัญญาณให้เห็นถึงแนวโน้มการเปลี่ยนโครงสร้างอำนาจเศรษฐกิจโลกในอนาคต


พบกันใหม่ครั้งหน้าครับ เรื่องทรัพยากรธรรมชาติในโลกอนาคต

1 ความคิดเห็น: