Heb 13:20 บัดนี้ขอพระเจ้าแห่งสันติสุข ผู้ทรงบันดาลให้พระเยซูเจ้าของเราเป็นขึ้นมาจากความตาย
คือผู้ทรงเป็นผู้เลี้ยงแกะที่ยิ่งใหญ่ โดยพระโลหิตแห่งพันธสัญญานิรันดร์นั้น
ใครคือผู้เลี้ยงที่ยิ่งใหญ่ คือพระเยซูคริสต์ ดูสิ่งที่พระเยซูพูดถึงฝูงแกะในพระคัมภีร์
เรามักมองเป็นที่ที่ เป็นคจ.แต่ละคจ.
แต่พระเยซูคริสต์มองเป็นแกะฝูงเดียวกัน และมีผู้เลี้ยงเพียงผู้เดียว
ด้วยเหตุนี้เราจึงควรมองฝูงแกะในสายตาของพระเยซูคริสต์
มีความห่วงใยฝูงแกะของพระเจ้าทุกตัว แต่ในการดูแลจริงก็มีคอกแต่ละคอกในการดูแล
มีทั้งภาพรวมและภาพย่อยในการดูแลฝูงแกะ
vยน. 10:16 ฝูงเดียว ผู้เลี้ยงเดียว
John 10:16 แกะอื่นซึ่งมิได้เป็นของคอกนี้เราก็มีอยู่ แกะเหล่านั้นเราก็ต้องพามาด้วย และแกะเหล่านั้นจะฟังเสียงของเรา แล้วจะรวมเป็นฝูงเดียว และมีผู้เลี้ยงเพียงผู้เดียว
ในอุดมคติพระเยซูมองเป็นแกะคอกเดียวกัน
จะอยู่คจ.ใดก็เป็นคอกเดียวกัน จะอยู่ประเทศใดก็เป็นคอกเดียวกัน
แต่ในความเป็นจริงสมัยปัจจุบันการดูแลฝูงแกะแต่ละแห่งแต่ละที่ก็แตกต่างกันไป
มาตรฐานในการดูแลก็แตกต่างกันไป บางแห่งอ่อน บางแห่งเข้มข้น
ก็เป็นไปตามลักษณะการปกครองดูแลของแต่ละคจ.
แต่จะมีวันหนึ่งที่เราทั้งหลายจะอยู่รวมกันเป็นฝูงเดียว
ถึงวันนั้นเราคงไม่มาถามกันแล้วว่า เรามีแนวความคิดอย่างไรในการดูแลคจ. ฯลฯ
เพราะทุกสิ่งจะถูกเปิดเผยหมด และเราทุกคนจะรู้ทุกสิ่งอย่างเท่าเทียมกัน
บางทีเราขัดแย้งกันในหมู่สมาชิกระหว่างคจ. อาจเป็นเพราะว่าเรายังไม่รู้ทุกสิ่ง
ยังไม่ได้รับการเปิดเผยหมดทุกอย่างก็เป็นได้
ดังนั้นในระหว่างนี้แต่ละคริสตจักรเชื่อ สมาชิกแต่ละคนเชื่ออย่างไร
ก็อยู่รวมกัน นมัสการกันเป็นกลุ่มๆ เป็นแต่ละคจ.ไปก่อน
vฮบ. 13:20 พระเยซู ผู้เลี้ยงแกะที่ยิ่งใหญ่ (คิงเจมส์) Jesus – great shepherd
Heb 13:20 บัดนี้ขอพระเจ้าแห่งสันติสุข ผู้ทรงบันดาลให้พระเยซูเจ้าของเราเป็นขึ้นมาจากความตาย
คือผู้ทรงเป็นผู้เลี้ยงแกะที่ยิ่งใหญ่ โดยพระโลหิตแห่งพันธสัญญานิรันดร์นั้น
vพระผู้เลี้ยงใหญ่ G750
The chief shepherd 1ปต. 5:4 (มีกล่าวถึงครั้งเดียว)
1Pet 5:4 และเมื่อพระผู้เลี้ยงผู้ยิ่งใหญ่จะเสด็จมาปรากฏ ท่านทั้งหลายจะรับศักดิ์ศรีเป็นมงกุฎที่ร่วงโรยไม่ได้เลย
vผู้เลี้ยง – ผู้อารักขา พระเยซูเป็นผู้เลี้ยงที่ยิ่งใหญ่
อซ. 4:11
shepherd = pastors
Eph 4:11 ของประทานของพระองค์ ก็คือให้บางคนเป็นอัครทูต บางคนเป็นผู้เผยพระวจนะ บางคนเป็นผู้เผยแพร่ข่าวประเสริฐ บางคนเป็นศิษยาภิบาลและอาจารย์
vพระเจ้าตั้งบางคนไว้เป็นผู้เลี้ยง
ในฐานะเป็นผู้อารักขาฝูงแกะของพระเจ้า
1ปต. 2:25 shepherd and bishop of your souls
1Pet 2:25 เพราะว่าท่านทั้งหลายเป็นเหมือนแกะที่พลัดฝูงไป แต่บัดนี้ได้กลับมาหาพระผู้เลี้ยงและผู้พิทักษ์วิญญาณจิตของท่านทั้งหลายแล้ว
vพระผู้เลี้ยงคือพระเยซูคริสต์
“ผู้เลี้ยง…ผู้อารักขา”
1 เปโตร 5:1- 4 1 เหตุฉะนั้นข้าพเจ้าจึงตักเตือนบรรดาผู้ใหญ่ในพวกท่านทั้งหลาย ในฐานะที่ข้าพเจ้าก็เป็นผู้ใหญ่คนหนึ่ง และเป็นพยานถึงความทุกข์ทรมานของพระคริสต์
และมีส่วนที่จะรับศักดิ์ศรีอันจะมาปรากฏภายหลัง 2
จงเลี้ยงฝูงแกะของพระเจ้าที่อยู่ในความดูแลของท่านเอาใจใส่ดูแล ไม่ใช่ ด้วยความฝืนใจ แต่ ด้วยความเต็มใจตามน้ำพระทัยของพระเจ้า ไม่ใช่ ด้วยการเห็นแก่ทรัพย์สิ่งของที่ได้มาโดยทุจริต แต่ ด้วยใจเลื่อมใส 3 และ ไม่ใช่ เหมือนเป็นเจ้านายที่ข่มขี่ผู้ที่อยู่ใต้อำนาจ แต่ เป็นแบบอย่างแก่ฝูงแกะนั้น 4 และเมื่อพระผู้เลี้ยง ผู้ยิ่งใหญ่จะเสด็จมาปรากฏ ท่านทั้งหลายจะรับศักดิ์ศรีเป็นมงกุฎที่ร่วงโรยไม่ได้เลย
§
และ บทที่ 5 ข้อ 1
แนะนำตัวเองว่า เป็น ‘ผู้ใหญ่’ ของคริสตจักร
(1ปต.5:1 ในฐานะข้าพเจ้าเป็นผู้ใหญ่...)
o ฉบับ 1971 แปลว่า ‘ผู้ใหญ่’
o ฉบับ ThaiKJV แปลว่า ‘ผู้ปกครอง’
o ฉบับ TSV แปลว่า ‘ผู้อาวุโส’
o ต้นฉบับ <G4245 πρεσβύτερος (pres-boo'-ter-os) adj.>
§
การแนะนำฐานะของตนในบทที่
5:1 เช่นนี้ แสดงถึงความอ่อนสุภาพของอัครทูตเปโตรที่ไม่ได้ทำตัวเหนือกว่าบรรดาผู้ใหญ่ในคริสตจักรที่ได้รับจดหมายฝากฉบับนี้
แม้ตัวของท่านจะอยู่ในสถานะของ ‘อัครทูต’
§
คำว่า ‘ผู้ใหญ่’ หรือ ‘ผู้ปกครอง’ หรือ ‘ผู้อาวุโส’ คริสตจักร มีที่มาของ การเรียกชื่อ หรือตำแหน่งนี้
o
แต่เดิมเป็นคำที่เรียกผู้อาวุโสที่ได้รับการยอมรับในสังคมดั้งเดิม ของชาวยิว
o
เมื่อเปโตรใช้คำนี้...หมายถึงเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับนับถือ
และทำบทบาทหน้าที่ปกครองหรือดูแลฝูงแกะของพระเจ้า (คริสตจักร)
§ เหตุฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงตักเตือน...
§ เหตุฉะนั้น เหตุไฉน?
§
เหตุเพราะคริสตจักรอยู่ในภาวะอันตราย
จำเป็นที่ผู้ใหญ่ในคริสตจักรต้องดูแลอย่างเอาใจใส่ (บริบท : บทที่ 4 – ถูกข่มเหง)
(สถานการณ์ของคริสตจักรที่ได้รับจดหมายฝากในขณะนั้น
เผชิญกับการข่มเหงภายใต้การปกครองของจักรพรรดิเนโรแห่งกรุงโรม)
(ผู้เชื่อถูกทรมาน
ถูกฆ่าเพราะความเชื่อ)
(คริสตจักรในกรุงเยรูซาเล็มต้องกระจัดกระจายไปทั่วแถบทะเล เมดิเตอร์เรเนียน)
§ ในฐานะเดียวกันนี้ และอยู่ในสถานการณ์เดียวกันนี้..ของเปโตร
o
เปโตรเข้าใจว่า…ผู้ใหญ่ในคริสตจักรเป็นอย่างดีว่า ต้องทำหน้าที่อะไร มีบทบาทอะไร และมีอะไรต้องพึงระมัดระวัง
เรื่องอะไรที่เปโตรอ้อนวอน
วิงวอน อยากให้คำแนะนำ?
§ คำตอบ พบใน ข้อ 2 เรื่อง ‘การเป็นผู้เลี้ยงดูฝูงแกะของพระเจ้า’
§
ฝูงแกะ ‘ของพระเจ้า’
§
ทำไมเป็นฝูงแกะของพระเจ้าเท่านั้น?
§ เพราะพระองค์เป็นผู้ไถ่
§ ผู้จ่ายราคา คือพระคริสต์ (ด้วยราคาที่สูงมาก : พระโลหิต 1ปต.1:18-19; กจ.20:28)
1ปต.1:18 ท่านรู้ว่าพระองค์ได้ทรงไถ่ท่านทั้งหลายออกจากการประพฤติอันหาสาระมิได้ ซึ่งท่านได้รับต่อจากบรรพบุรุษของท่าน มิใช่ไถ่ไว้ด้วยสิ่งที่เสื่อมสลายได้ เช่นเงินและทอง 19 แต่ทรงไถ่ด้วยพระโลหิตประเสริฐของ พระคริสต์ ดังเลือดลูกแกะที่ปราศจากตำหนิหรือจุดด่าง
กจ. 20:28 ท่านทั้งหลายจงระวังตัวให้ดี และจงรักษาฝูงแกะที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ได้ทรงตั้งท่านไว้ให้เป็นผู้ดูแล และเพื่อจะได้ปกครองคริสตจักรขององค์พระผู้เป็นเจ้า ที่พระองค์ทรงได้มาด้วยพระโลหิตของ พระองค์เอง
§
ผู้จ่ายราคา…
o
ไม่ใช่ ผู้ใหญ่ ไม่ใช่ผู้อาวุโส
ไม่ใช่ผู้ปกครอง
o
ไม่ใช่ศิษยาภิบาล
ไม่ใช่ผู้เลี้ยง
§ เพราะไม่ได้เป็นคนจ่ายราคาค่าไถ่
จึงไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของฝูงแกะ
มีสิทธิเดียวที่ได้รับมอบจากพระเจ้า
คือ เป็น “ผู้ดูแล”
§ ฝูงแกะของพระเจ้าที่อยู่ในความดูแล
(1ปต.5:2;
กจ.20:28)
1ปต.5:2 จงเลี้ยงฝูงแกะของพระเจ้าที่อยู่ในความดูแลของท่าน…
กจ.
20:28 ท่านทั้งหลายจงระวังตัวให้ดี และจงรักษาฝูงแกะที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ได้ทรงตั้งท่านไว้ให้เป็นผู้ดูแล
o สิทธิที่มี คือ ‘ผู้ดูแล’ ไม่ใช่ เจ้าของ
o
สิทธินี้ที่ต้องรักษา
ดุจผู้อารักขาของๆ พระเจ้า
§ ต้องรู้สิทธินี้ ไม่ใช่ปล่อยปละละเลย ใครอยากได้ เอาไปเลย
แล้ว ไม่สนใจว่า
เขาไปได้ดี หรือไม่ได้ดี
(สนใจด้วยสิทธิของการเป็นผู้ดูแล ไม่ได้
ช่วงชิงในฐานะเป็นเจ้าของ)
§ ไม่สนใจว่า เขาอยู่ในมือผู้เลี้ยงแกะ หรืออยู่ในมือผู้ขโมยแกะ
§ เพราะผู้ดูแลแกะของพระเจ้าต้องกล่าวรายงานต่อเจ้าของ
(ฮบ.13:17)
ฮบ.13:17 ท่านทั้งหลายจงเชื่อฟังและยอมอยู่ในโอวาทของหัวหน้าของท่าน จงให้เขาทำงานนี้ด้วยความชื่นใจ ไม่ใช่ด้วยความเศร้าใจ ซึ่งจะไม่เป็นประโยชน์อะไรแก่ท่านทั้งหลายเลย เพราะว่าท่านเหล่านั้นดูแลรักษาจิตวิญญาณของท่านอยู่ เสมือนหนึ่งผู้ที่จะต้องเสนอรายงาน
§ นี่คือ สาระหลัก
ของคำเตือนที่เปโตรกล่าวกับผู้ใหญ่ หรือผู้อาวุโส
หรือผู้ปกครองคริสตจักรที่มีบทบาทหน้าที่ดูแลฝูงแกะของพระเจ้า
§ สังเกตได้ว่า…ลักษณะการเตือนของเปโตร เชื่อมด้วยคำว่า ‘แต่’
o
ไม่ใช่ด้วยความฝืนใจแต่ด้วยความเต็มใจ
o
ไม่ใช่ด้วยการเห็นแก่ทรัพย์สิ่งของที่ได้มาโดยทุจริต
แต่ด้วยใจเลื่อมใส
o
ไม่ใช่ด้วยเหมือนเป็นเจ้านายที่ข่มขี่ผู้ที่อยู่ใต้อำนาจ
แต่เป็นแบบอย่าง
ลักษณะด้านลบ
|
ลักษณะด้านบวก
|
ฝืนใจดูแล
|
เต็มใจดูแล
|
โลภอยากได้แม้ในทางทุจริต
|
ยินดีรับเฉพาะการให้ด้วยใจพร้อม
|
ใช้อำนาจข่ม
|
เป็นแบบอย่าง
|
ไม่ฝืนใจแต่เต็มใจ – เพราะรัก ‘เจ้าของ’ แกะ
“รักพระผู้เลี้ยงทำให้ไม่ฝืนใจเลี้ยงดูแกะของพระองค์” (ยน.21:15)
ยน. 21:15 [TBS1971]) เมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้ว พระเยซูตรัสกับซีโมนเปโตรว่า “ซีโมนบุตรยอห์นเอ๋ย เจ้ารักเรามากกว่าเหล่านี้หรือ”
เขาทูลพระองค์ว่า “เป็นความจริงพระเจ้าข้า พระองค์ทรงทราบว่าข้าพระองค์รักพระองค์”
พระองค์ตรัสสั่งเขาว่า “จงเลี้ยงลูกแกะของเราเถิด”
นี่เป็นเป็นคุณสมบัติสำคัญของผู้ปกครองที่รับมอบฉันทะ
(ผู้อารักขา) จากพระเจ้าให้ดูแลฝูงแกะของพระองค์ คือ ‘ไม่เป็นคนโลภมักได้’
ทต.1:7 เพราะว่าผู้ปกครองดูแลนั้น
ในฐานะที่เป็นผู้รับมอบฉันทะจาก
พระเจ้า ต้องเป็นคนที่ไม่มีข้อตำหนิ ไม่เป็นคนเย่อหยิ่ง ไม่เป็นคนเลือดร้อน ไม่เป็นนักเลงสุรา ไม่เป็นนักเลงหัวไม้ และไม่เป็นคนโลภมักได้
· เปาโลเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้
o ไม่มีความโลภอยากได้ของใคร
(เพื่อสอนด้วยชีวิต – วางแบบอย่าง)
กจ.20:33-35 33 ข้าพเจ้ามิได้โลภเงินหรือทอง หรือเสื้อผ้าของผู้ใด 34 ท่านทั้งหลายทราบว่า มือของข้าพเจ้าเองได้จัดหาปัจจัยสำหรับตัวข้าพเจ้า กับ คนที่อยู่กับข้าพเจ้า 35 ข้าพเจ้าได้วางแบบอย่างไว้ให้ท่านทุกอย่างแล้ว ให้เห็นว่าโดยทำงานเช่นนี้ควรจะช่วยคนที่มีกำลังน้อย ระลึกถึงพระวาทะของพระเยซูเจ้า ซึ่งพระองค์ตรัสว่า ‘การให้เป็นเหตุให้มีความสุขยิ่งกว่าการรับ’ ”
(เปาโลกล่าวกับผู้ปกครองคริสตจักรที่เมืองเอเฟซัส)
(1คร. 11:1 ท่านทั้งหลายก็จงปฏิบัติตามอย่างข้าพเจ้า เหมือนอย่างที่ข้าพเจ้าปฏิบัติตามอย่างพระคริสต์
· ชีวิตของผู้เลี้ยง…ผู้อารักขา…ฝูงแกะของพระเจ้าต้องเป็นเหมือนต้นแบบมากที่สุด
คือ พระคริสต์ผู้เป็นพระผู้เลี้ยงที่ยิ่งใหญ่
· 1
ปต.5:4 กล่าวต่อไปเช่นนั้นว่า… และเมื่อพระผู้เลี้ยงผู้ยิ่งใหญ่จะเสด็จมาปรากฏ ท่านทั้งหลายจะรับศักดิ์ศรีเป็นมงกุฎที่ร่วงโรยไม่ได้เลย
[ThaiKJV] และเมื่อพระผู้เลี้ยงใหญ่จะเสด็จมาปรากฏ ท่านทั้งหลายจะรับมงกุฎแห่งสง่าราศีที่ร่วงโรยไม่ได้เลย
แต่รางวัลที่จะได้รับ
ได้แก่ ‘ศักดิ์ศรี’
เป็นมงกุฎที่ไม่มีวันร่วงโรยจากมือของผู้เลี้ยงผู้ยิ่งใหญ่
คือ ‘พระคริสต์’
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น