วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555

A) พระวจนะพระเจ้า : การสมาคมกับคน



วันนี้มาอ่านข้อพระคัมภีร์ตอนนี้บอกว่า "อย่าคบคนที่ล่วงประเวณี" จาก


1คร. 5:9 ข้าพเจ้า​ได้​เขียน​จดหมาย​บอก​ท่าน​แล้ว​ว่า อย่า​คบ​คน​ที่​ล่วง​ประเวณี​
1คร. 5:10 แต่​ซึ่ง​ท่าน​จะ​คบ​คน​ชาวโลก​นี้​ที่​เป็น​คน​ล่วง​ประเวณี คน​โลภ คน​ฉ้อโกง​หรือ​คน​ถือ​รูป​เคารพ​ข้าพเจ้า​มิได้​ห้าม​เสีย​ทีเดียว เพราะ​ว่า​ถ้า​ห้าม​อย่าง​นั้น​แล้ว ท่าน​ก็​ต้อง​ออกไป​เสีย​จาก​โลก​นี้​
1คร. 5:11 แต่​ข้าพเจ้า​เขียน​บอก​ท่าน​ว่า ถ้า​ผู้ใด​ได้​ชื่อ​ว่า​เป็น​พี่​น้อง​แล้ว แต่​ยัง​ล่วง​ประเวณี เป็น​คน​โลภ เป็น​คน​ถือ​รูป​เคารพ เป็น​คน​ปากร้าย เป็น​คน​ขี้​เมา หรือ​เป็น​คน​ฉ้อโกง อย่า​คบ​คน​อย่าง​นั้น แม้​จะ​กิน​ด้วย​กัน​ก็​อย่า​เลย​

เปาโลได้พูดถึงกลุ่มคนสองประเภท ก. ชาวโลก  ข. ชาวคริสต์ และได้อธิบายถึงเรื่องการคบคน

ก.  ข้อ 10 อธิบายถึงชาวโลก ว่าเปาโลไม่ได้ห้ามคบไม่ใช่เพียงคนล่วงประเวณีเท่านั้น แต่ยังมี คนโลภ คนฉ้อโกง คนถือรูปเคารพ  ด้วย เพราะว่าถ้าห้ามคบ เราต้องออกไปจากโลก ไม่สามารถอยู่ในโลกนี้ได้ เพราะในโลกนี้เรายังต้องติดต่อผู้คนต่างๆอยู่ ต้องทำมาค้าขาย ติดต่อราชการ เรียนหนังสือ ฯลฯ กับบุคคลต่างๆอยู่

ข. ชาวคริสเตียนที่ได้ชื่อว่าเป็นพี่น้อง หากเขายังล่วงประเวณี ไม่เพียงเท่านั้น เป็นคนโลภ คนถือรูปเคารพ คนปากร้าย คนขี้เมา คนฉ้อโกง เปาโลบอกอย่าคบคนอย่างนั้น แม้จะกินด้วยกันก็อย่าเลย สังเกตดูว่า ไม่เพียงเรื่องที่ดูเป็นเรื่องใหญ่คือ ล่วงประเวณี แต่ยังมีเรื่องเล็กๆน้อยๆอีกมากมายหลายเรื่อง 

คำว่า "อย่าคบ" หมายความถึง การไม่ไปสมาคมด้วย การไม่ไปข้องแวะด้วย การไม่ไปทำสิ่งใดด้วยกัน 

เหตุผลดูจาก 

2ธส. 3:14 ถ้า​ผู้ใด​ไม่​เชื่อ​ฟัง​ถ้อยคำ​ของ​เรา​ใน​จดหมาย​ฉบับ​นี้ จง​จดจำ​คน​นั้น​ไว้ อย่า​สมาคม​กับ​เขา​เลย​เพื่อ​เขา​จะ​ได้​อาย​

เพื่อเขาจะได้อาย   สาเหตุมาจากการที่เขาไม่ยอมทำการทำงาน

2ธส. 3:10 แม้​เมื่อ​เรา​อยู่​กับ​พวก​ท่าน เรา​ก็​ได้​กำชับ​อย่าง​นี้​ว่า ถ้า​ผู้ใด​ไม่​ยอม​ทำงาน ​ก็​อย่า​ให้​เขา​กิน​
2ธส. 3:11 เพราะ​เรา​ได้​ยิน​ว่า มี​บาง​คน​ใน​พวก​ท่าน​อยู่​อย่าง​เกียจ​คร้าน ไม่​ทำงาน​อะไร​เลย แต่​ชอบ​ยุ่ง​กับ​ธุระ​ของ​คน​อื่น​
2ธส. 3:12 เรา​กำชับ​และ​เตือนสติ​คน​เช่นนั้น​ใน​พระ​นาม​พระ​เยซู​คริสต​เจ้า​ว่า ให้​เขา​ทำงาน​ด้วย​ใจ​สงบ​และ​หา​กิน​เอง​

นั่นเป็นเหตุผลที่เปาโลได้เขียนต่อมาในข้อ 14 ไม่สมาคมกับเขาด้วย เพื่อเขาจะได้อาย 

ในข้อ 15 ได้พูดต่อว่า 

2ธส. 3:15 อย่า​ถือ​ว่า​เขา​เป็น​ศัตรู แต่​จง​เตือนสติ​เขา​ฉัน​พี่​น้อง​

สรุป  คืออย่าคบคนที่ได้ชื่อว่าเป็นพี่น้องแต่ไม่ปฏิบัติตนที่สมควรตามพระวจนะของพระเจ้า เช่น ที่ได้กล่าวไว้เป็นตัวอย่างคือ คนล่วง​ประเวณี ​คน​โลภ ​คน​ถือ​รูป​เคารพ ​คน​ปากร้าย ​คน​ขี้​เมา ​คน​ฉ้อโกง คนไม่ยอมทำงาน   

เหตุผลคือ เพื่อเขาจะได้อาย

คำว่า "อาย" ในภาษากรีกหมายความถึง เพื่อเขาจะได้ถอยกลับออกมาจากจุดที่เขาเป็นอยู่หรือว่ากลับตัวกลับใจใหม่

นอกจากนั้นแล้วพระคัมภีร์ยังสอนเราให้มีท่าทีีที่ถูกต้องต่อพี่น้องของเราคนนี้ ให้ไม่ถือว่าเขาเป็นศัตรู 

คำนี้ "ศัตรู" ก็คือ ความเกลียดชัด เป็นที่น่ารังเกียจขยะแขยง 

แต่ให้เตือนสติเขาเหมือนพี่น้อง

คือ ให้กล่าวเตือนด้วยความอ่อนโยนเหมือนเป็นพี่น้องในพระคริสต์

วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บทที่ 10 บทสรุปชีวิตผู้เลี้ยง



บทที่ 10 บทสรุปชีวิตผู้เลี้ยง

     จากที่เราได้เรียนมาทั้งหมด อยากให้เราได้ทบทวนวัตถุประสงค์ที่เราตั้งเอาไว้สำหรับวิชานี้ดังนี้

จุดประสงค์การเรียนวิชานี้

1.     ต้องการให้ผู้เรียนเข้าใจภาพการปกครองดูแลฝูงแกะของพระเจ้าตามหลักการพระคัมภีร์

2.     ต้องการให้ผู้เรียนไม่เพียงมีความเข้าใจแต่นำไปใช้ในการปฏิบัติดูแลฝูงแกะของพระเจ้า

3.     ต้องการให้ผู้เรียนซึมซับวิญญาณพระคริสต์ในฐานะพระผู้เลี้ยงที่ทรงรักฝูงแกะ

4.     ต้องการให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์ความห่วงใยของพระคริสต์ที่มีต่อชีวิตตนเอง และนำสิ่งนั้นไปดูแลผู้อื่นต่อไปได้

5.     ต้องการให้ผู้เรียนได้เข้าใจว่า ฝูงแกะเป็นของพระคริสต์ เราเป็นเพียงผู้อารักขาดูแลฝูงแกะของพระเจ้า และเราต้องทำหน้าที่ที่พระคริสต์ฝากให้เราดูแลอย่างดีที่สุด

6.     ต้องการเห็นผู้เลี้ยงเกิดขึ้นมากมายผ่านการเรียนในชั้นนี้  ฯลฯ

ชีวิตผู้เลี้ยงที่มีรูปแบบการรับใช้ วิญญาณในการปรนนิบัติ ท่าทีแห่งความรักที่ยอมเสียสละแม้กระทั่งชีวิตของตนเองแบบพระเยซูคริสต์สำคัญ  ถ้าเราไม่มีพระเยซูคริสต์ เราคงยังหลงทางอยู่ในโลกที่มืดมิด พระองค์ฟูมฟัก ดูแลเรา นำทางเรา ไปสู่ปลายทางที่พระองค์ประสงค์ให้เราไปคือชีวิตนิรันดร์ ได้ครอบครองแผ่นดินสวรรค์ร่วมกับพระองค์

พระองค์ประทานให้มีผู้เลี้ยงมากมายเกิดขึ้นในคจ. โดยมีวิญญาณของพระคริสต์อยู่ภายใน เป็นเช่นShepherd    pastors เฝ้าดูแลรักษาพวกเราตลอดไป 

สิ่งที่เราต้องระมัดระวังท่าทีของเราในการดูแลฝูงแกะของพระคริสต์ คือ เราไม่ได้เป็นเจ้าของฝูงแกะ ฝูงแกะเหล่านี้มีพระผู้เลี้ยงเพียงผู้เดียว เราทำหน้าที่เป็นผู้ดูแล ผู้อารักขาบทบาทหน้าที่ที่พระเจ้ามอบหมายให้เราดูแล  เมื่อเราสั่งสอนสิ่งใดเราควรชี้ไปที่พระคริสต์ ให้พระคริสต์เป็นศูนย์กลางแห่งใจของเหล่าแกะที่อ่อนๆทั้งหลาย

·      เมื่อมองดูโลกกว้างใหญ่ พวกเขาเป็นฝูงแกะของพระเจ้าที่ไม่มีผู้เลี้ยงคอยดูแล

·      เราต้องพาเขามาอยู่ในคอกของพระเจ้า ด้วยการประกาศ เป็นพยาน การดำเนินชีวิตที่สำแดงสง่าราศีของพระคริสต์ในชีวิตเรา

·      เมื่อเราประกาศ เป็นพยาน แล้วเขาต้อนรับพระคริสต์ ได้รับการบังเกิดใหม่ เป็นเหมือนลูกแกะตัวน้อยๆที่เพิ่งเกิด  เราต้องคอยดูแลทะนุถนอมเขา ป้อนอาหารอ่อนให้กับเขา (อาหารอ่อนที่ดีที่สุดคือพระวจนะ พระวจนะตอนที่ง่ายๆจากพระธรรมฮีบรู หรือจากตัวอย่างที่อ.จำเนียรใช้สอนผชม.  บัญชีรายชื่อหัวข้อที่สอน.....) เพื่อเขาจะค่อยๆเติบโตขึ้นมาในทางพระเจ้า โดยดูลักษณะชีวิตจากเราเหมือนเราติดตามพระคริสต์

·      คอยเฝ้าระวังภัยให้กับเขา ให้พ้นจากสุนัขป่า ฯลฯ ที่คอยล่อลวงเขา  เช่น คำสอนผิด ลัทธิสอนผิด การดำเนินชีวิตผิดๆ ความเข้าใจผิดๆ ค่านิยมผิดๆของโลก ฯลฯ

·      ให้เขาได้รับอาหารที่เหมาะสมกับวัยของเขา ยากขึ้นๆ อาหารแข็งมากขึ้น

·      รอด  รู้  รับใช้ เป็นคำพูดของผู้นำท่านหนึ่ง นำเขา เป็นแบบอย่างแก่แกะผู้นั้น ทั้งในชีวิตส่วนตัว การรับใช้ ฯลฯ  นำพาจนแกะอ่อนกลายเป็นแกะที่เติบโตเต็มวัย สามารถหาอาหารกินเอง แทนการป้อนนมหรืออาหารอย่างอ่อน

·      ผู้เลี้ยงยังคงเป็นแบบอย่างชีวิตต่อไป อธิษฐานเผื่อ โดยตระหนักเสมอว่า เราไม่ได้เป็นเจ้าของชีวิตของพวกเขา เราเป็นผู้อารักขาดูแลแกะของพระเจ้า  เราต้องทำให้มั่นใจได้ว่าเขาจะสามารถรับอาหารกินเอง อย่างถูกต้อง เหมาะสม สมดุลย์ ครบถ้วน จนกว่าจะถึงวันนั้นที่พระเยซูคริสต์จะเสด็จมารับเขาไปอยู่กับพระองค์


วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

บทที่ 9 ผู้เลี้ยงที่ยิ่งใหญ่



บทที่ 9 ผู้เลี้ยงที่ยิ่งใหญ่

Heb 13:20 บัดนี้ขอพระเจ้าแห่งสันติสุข ผู้ทรงบันดาลให้พระเยซูเจ้าของเราเป็นขึ้นมาจากความตาย คือผู้ทรงเป็นผู้เลี้ยงแกะที่ยิ่งใหญ่ โดยพระโลหิตแห่งพันธสัญญานิรันดร์นั้น

ใครคือผู้เลี้ยงที่ยิ่งใหญ่ คือพระเยซูคริสต์  ดูสิ่งที่พระเยซูพูดถึงฝูงแกะในพระคัมภีร์ เรามักมองเป็นที่ที่ เป็นคจ.แต่ละคจ.  แต่พระเยซูคริสต์มองเป็นแกะฝูงเดียวกัน และมีผู้เลี้ยงเพียงผู้เดียว  ด้วยเหตุนี้เราจึงควรมองฝูงแกะในสายตาของพระเยซูคริสต์ มีความห่วงใยฝูงแกะของพระเจ้าทุกตัว  แต่ในการดูแลจริงก็มีคอกแต่ละคอกในการดูแล
มีทั้งภาพรวมและภาพย่อยในการดูแลฝูงแกะ
vยน. 10:16  ฝูงเดียว ผู้เลี้ยงเดียว
John 10:16 แกะอื่นซึ่งมิได้เป็นของคอกนี้เราก็มีอยู่ แกะเหล่านั้นเราก็ต้องพามาด้วย และแกะเหล่านั้นจะฟังเสียงของเรา แล้วจะรวมเป็นฝูงเดียว และมีผู้เลี้ยงเพียงผู้เดียว


ในอุดมคติพระเยซูมองเป็นแกะคอกเดียวกัน จะอยู่คจ.ใดก็เป็นคอกเดียวกัน จะอยู่ประเทศใดก็เป็นคอกเดียวกัน  แต่ในความเป็นจริงสมัยปัจจุบันการดูแลฝูงแกะแต่ละแห่งแต่ละที่ก็แตกต่างกันไป มาตรฐานในการดูแลก็แตกต่างกันไป บางแห่งอ่อน บางแห่งเข้มข้น ก็เป็นไปตามลักษณะการปกครองดูแลของแต่ละคจ.  แต่จะมีวันหนึ่งที่เราทั้งหลายจะอยู่รวมกันเป็นฝูงเดียว ถึงวันนั้นเราคงไม่มาถามกันแล้วว่า เรามีแนวความคิดอย่างไรในการดูแลคจ. ฯลฯ เพราะทุกสิ่งจะถูกเปิดเผยหมด และเราทุกคนจะรู้ทุกสิ่งอย่างเท่าเทียมกัน บางทีเราขัดแย้งกันในหมู่สมาชิกระหว่างคจ. อาจเป็นเพราะว่าเรายังไม่รู้ทุกสิ่ง ยังไม่ได้รับการเปิดเผยหมดทุกอย่างก็เป็นได้  ดังนั้นในระหว่างนี้แต่ละคริสตจักรเชื่อ สมาชิกแต่ละคนเชื่ออย่างไร ก็อยู่รวมกัน นมัสการกันเป็นกลุ่มๆ เป็นแต่ละคจ.ไปก่อน

vฮบ. 13:20  พระเยซู ผู้เลี้ยงแกะที่ยิ่งใหญ่ (คิงเจมส์)  Jesus – great shepherd
Heb 13:20 บัดนี้ขอพระเจ้าแห่งสันติสุข ผู้ทรงบันดาลให้พระเยซูเจ้าของเราเป็นขึ้นมาจากความตาย คือผู้ทรงเป็นผู้เลี้ยงแกะที่ยิ่งใหญ่ โดยพระโลหิตแห่งพันธสัญญานิรันดร์นั้น


vพระผู้เลี้ยงใหญ่ G750  The chief shepherd    1ปต. 5:4 (มีกล่าวถึงครั้งเดียว)
1Pet 5:4 และเมื่อพระผู้เลี้ยงผู้ยิ่งใหญ่จะเสด็จมาปรากฏ ท่านทั้งหลายจะรับศักดิ์ศรีเป็นมงกุฎที่ร่วงโรยไม่ได้เลย

vผู้เลี้ยง ผู้อารักขา     พระเยซูเป็นผู้เลี้ยงที่ยิ่งใหญ่
อซ. 4:11  shepherd = pastors
Eph 4:11 ของประทานของพระองค์ ก็คือให้บางคนเป็นอัครทูต บางคนเป็นผู้เผยพระวจนะ บางคนเป็นผู้เผยแพร่ข่าวประเสริฐ บางคนเป็นศิษยาภิบาลและอาจารย์


vพระเจ้าตั้งบางคนไว้เป็นผู้เลี้ยง ในฐานะเป็นผู้อารักขาฝูงแกะของพระเจ้า

1ปต. 2:25 shepherd and bishop of your souls
1Pet 2:25 เพราะว่าท่านทั้งหลายเป็นเหมือนแกะที่พลัดฝูงไป แต่บัดนี้ได้กลับมาหาพระผู้เลี้ยงและผู้พิทักษ์วิญญาณจิตของท่านทั้งหลายแล้ว

vพระผู้เลี้ยงคือพระเยซูคริสต์

ผู้เลี้ยงผู้อารักขา

1 เปโตร 5:1- 4 1   เหตุฉะนั้นข้าพเจ้าจึงตักเตือนบรรดาผู้ใหญ่ในพวกท่านทั้งหลาย ในฐานะที่ข้าพเจ้าก็เป็นผู้ใหญ่คนหนึ่ง และเป็นพยานถึงความทุกข์ทรมานของพระคริสต์ และมีส่วนที่จะรับศักดิ์ศรีอันจะมาปรากฏภายหลัง  จงเลี้ยงฝูงแกะของพระเจ้าที่อยู่ในความดูแลของท่านเอาใจใส่ดูแล ไม่ใช่ ด้วยความฝืนใจ แต่ ด้วยความเต็มใจตามน้ำพระทัยของพระเจ้า ไม่ใช่ ด้วยการเห็นแก่ทรัพย์สิ่งของที่ได้มาโดยทุจริต แต่ ด้วยใจเลื่อมใส  3  และ ไม่ใช่ เหมือนเป็นเจ้านายที่ข่มขี่ผู้ที่อยู่ใต้อำนาจ แต่ เป็นแบบอย่างแก่ฝูงแกะนั้น  4 และเมื่อพระผู้เลี้ยง          ผู้ยิ่งใหญ่จะเสด็จมาปรากฏ ท่านทั้งหลายจะรับศักดิ์ศรีเป็นมงกุฎที่ร่วงโรยไม่ได้เลย

§    และ บทที่ 5 ข้อ 1 แนะนำตัวเองว่า เป็น ผู้ใหญ่ ของคริสตจักร
(1ปต.5:1  ในฐานะข้าพเจ้าเป็นผู้ใหญ่...)
o  ฉบับ 1971 แปลว่า ผู้ใหญ่
o  ฉบับ ThaiKJV  แปลว่า ผู้ปกครอง
o  ฉบับ TSV แปลว่า ผู้อาวุโส
o  ต้นฉบับ <G4245 πρεσβύτερος   (pres-boo'-ter-os) adj.>

§    การแนะนำฐานะของตนในบทที่ 5:1 เช่นนี้  แสดงถึงความอ่อนสุภาพของอัครทูตเปโตรที่ไม่ได้ทำตัวเหนือกว่าบรรดาผู้ใหญ่ในคริสตจักรที่ได้รับจดหมายฝากฉบับนี้ แม้ตัวของท่านจะอยู่ในสถานะของ อัครทูต 

§    คำว่า ผู้ใหญ่ หรือ ผู้ปกครอง หรือ ผู้อาวุโสคริสตจักร  มีที่มาของ          การเรียกชื่อ หรือตำแหน่งนี้
o    แต่เดิมเป็นคำที่เรียกผู้อาวุโสที่ได้รับการยอมรับในสังคมดั้งเดิม        ของชาวยิว 
o    เมื่อเปโตรใช้คำนี้...หมายถึงเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับนับถือ                 และทำบทบาทหน้าที่ปกครองหรือดูแลฝูงแกะของพระเจ้า (คริสตจักร)

§      เหตุฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงตักเตือน...
§      เหตุฉะนั้น เหตุไฉน?
§      เหตุเพราะคริสตจักรอยู่ในภาวะอันตราย จำเป็นที่ผู้ใหญ่ในคริสตจักรต้องดูแลอย่างเอาใจใส่  (บริบท : บทที่ 4 ถูกข่มเหง)
(สถานการณ์ของคริสตจักรที่ได้รับจดหมายฝากในขณะนั้น เผชิญกับการข่มเหงภายใต้การปกครองของจักรพรรดิเนโรแห่งกรุงโรม)
(ผู้เชื่อถูกทรมาน ถูกฆ่าเพราะความเชื่อ)
(คริสตจักรในกรุงเยรูซาเล็มต้องกระจัดกระจายไปทั่วแถบทะเล                เมดิเตอร์เรเนียน)

§      ในฐานะเดียวกันนี้ และอยู่ในสถานการณ์เดียวกันนี้..ของเปโตร                
o    เปโตรเข้าใจว่าผู้ใหญ่ในคริสตจักรเป็นอย่างดีว่า ต้องทำหน้าที่อะไร มีบทบาทอะไร  และมีอะไรต้องพึงระมัดระวัง

เรื่องอะไรที่เปโตรอ้อนวอน วิงวอน อยากให้คำแนะนำ?
§      คำตอบ พบใน ข้อ 2 เรื่อง การเป็นผู้เลี้ยงดูฝูงแกะของพระเจ้า

§      ฝูงแกะ ของพระเจ้า
§      ทำไมเป็นฝูงแกะของพระเจ้าเท่านั้น?
§      เพราะพระองค์เป็นผู้ไถ่
§      ผู้จ่ายราคา คือพระคริสต์ (ด้วยราคาที่สูงมาก : พระโลหิต 1ปต.1:18-19; กจ.20:28)
1ปต.1:18 ท่านรู้ว่าพระองค์ได้ทรงไถ่ท่านทั้งหลายออกจากการประพฤติอันหาสาระมิได้ ซึ่งท่านได้รับต่อจากบรรพบุรุษของท่าน มิใช่ไถ่ไว้ด้วยสิ่งที่เสื่อมสลายได้ เช่นเงินและทอง 19 แต่ทรงไถ่ด้วยพระโลหิตประเสริฐของ      พระคริสต์ ดังเลือดลูกแกะที่ปราศจากตำหนิหรือจุดด่าง

กจ. 20:28         ท่านทั้งหลายจงระวังตัวให้ดี และจงรักษาฝูงแกะที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ได้ทรงตั้งท่านไว้ให้เป็นผู้ดูแล และเพื่อจะได้ปกครองคริสตจักรขององค์พระผู้เป็นเจ้า ที่พระองค์ทรงได้มาด้วยพระโลหิตของ             พระองค์เอง
§      ผู้จ่ายราคา
o    ไม่ใช่ ผู้ใหญ่ ไม่ใช่ผู้อาวุโส ไม่ใช่ผู้ปกครอง  
o    ไม่ใช่ศิษยาภิบาล ไม่ใช่ผู้เลี้ยง
§      เพราะไม่ได้เป็นคนจ่ายราคาค่าไถ่ จึงไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของฝูงแกะ
มีสิทธิเดียวที่ได้รับมอบจากพระเจ้า คือ เป็น “ผู้ดูแล”

§      ฝูงแกะของพระเจ้าที่อยู่ในความดูแล  (1ปต.5:2; กจ.20:28)
1ปต.5:2 จงเลี้ยฝูงแกะของพระเจ้าที่อยู่ในความดูแลของท่าน                     
กจ. 20:28      ท่านทั้งหลายจงระวังตัวให้ดี และจงรักษาฝูงแกะที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ได้ทรงตั้งท่านไว้ให้เป็นผู้ดูแล

o   สิทธิที่มี คือ ผู้ดูแล ไม่ใช่ เจ้าของ
o    สิทธินี้ที่ต้องรักษา ดุจผู้อารักขาของๆ พระเจ้า
§      ต้องรู้สิทธินี้ ไม่ใช่ปล่อยปละละเลย ใครอยากได้ เอาไปเลย แล้ว                      ไม่สนใจว่า เขาไปได้ดี หรือไม่ได้ดี  
      (สนใจด้วยสิทธิของการเป็นผู้ดูแล ไม่ได้ ช่วงชิงในฐานะเป็นเจ้าของ)
§      ไม่สนใจว่า เขาอยู่ในมือผู้เลี้ยงแกะ หรืออยู่ในมือผู้ขโมยแกะ 
§      เพราะผู้ดูแลแกะของพระเจ้าต้องกล่าวรายงานต่อเจ้าของ (ฮบ.13:17)
ฮบ.13:17        ท่านทั้งหลายจงเชื่อฟังและยอมอยู่ในโอวาทของหัวหน้าของท่าน             จงให้เขาทำงานนี้ด้วยความชื่นใจ ไม่ใช่ด้วยความเศร้าใจ ซึ่งจะไม่เป็นประโยชน์อะไรแก่ท่านทั้งหลายเลย เพราะว่าท่านเหล่านั้นดูแลรักษาจิตวิญญาณของท่านอยู่ เสมือนหนึ่งผู้ที่จะต้องเสนอรายงาน

§      นี่คือ สาระหลัก ของคำเตือนที่เปโตรกล่าวกับผู้ใหญ่ หรือผู้อาวุโส หรือผู้ปกครองคริสตจักรที่มีบทบาทหน้าที่ดูแลฝูงแกะของพระเจ้า
§      สังเกตได้ว่าลักษณะการเตือนของเปโตร เชื่อมด้วยคำว่า แต่
o    ไม่ใช่ด้วยความฝืนใจแต่ด้วยความเต็มใจ
o    ไม่ใช่ด้วยการเห็นแก่ทรัพย์สิ่งของที่ได้มาโดยทุจริต แต่ด้วยใจเลื่อมใส
o    ไม่ใช่ด้วยเหมือนเป็นเจ้านายที่ข่มขี่ผู้ที่อยู่ใต้อำนาจ แต่เป็นแบบอย่าง

ลักษณะด้านลบ
ลักษณะด้านบวก
ฝืนใจดูแล
เต็มใจดูแล
โลภอยากได้แม้ในทางทุจริต
ยินดีรับเฉพาะการให้ด้วยใจพร้อม
ใช้อำนาจข่ม
เป็นแบบอย่าง


ไม่ฝืนใจแต่เต็มใจ เพราะรัก เจ้าของแกะ

รักพระผู้เลี้ยงทำให้ไม่ฝืนใจเลี้ยงดูแกะของพระองค์  (ยน.21:15)

ยน. 21:15 [TBS1971]) เมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้ว พระเยซูตรัสกับซีโมนเปโตรว่าซีโมนบุตรยอห์นเอ๋ย เจ้ารักเรามากกว่าเหล่านี้หรือเขาทูลพระองค์ว่าเป็นความจริงพระเจ้าข้า พระองค์ทรงทราบว่าข้าพระองค์รักพระองค์พระองค์ตรัสสั่งเขาว่า จงเลี้ยงลูกแกะของเราเถิด

นี่เป็นเป็นคุณสมบัติสำคัญของผู้ปกครองที่รับมอบฉันทะ (ผู้อารักขา) จากพระเจ้าให้ดูแลฝูงแกะของพระองค์ คือ ไม่เป็นคนโลภมักได้

ทต.1:7   เพราะว่าผู้ปกครองดูแลนั้น ในฐานะที่เป็นผู้รับมอบฉันทะจาก
พระเจ้า ต้องเป็นคนที่ไม่มีข้อตำหนิ ไม่เป็นคนเย่อหยิ่ง ไม่เป็นคนเลือดร้อน ไม่เป็นนักเลงสุรา ไม่เป็นนักเลงหัวไม้ และไม่เป็นคนโลภมักได้

·      เปาโลเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องนี้
o    ไม่มีความโลภอยากได้ของใคร
 (เพื่อสอนด้วยชีวิต วางแบบอย่าง)

กจ.20:33-35   33 ข้าพเจ้ามิได้โลภเงินหรือทอง หรือเสื้อผ้าของผู้ใด  34                  ท่านทั้งหลายทราบว่า มือของข้าพเจ้าเองได้จัดหาปัจจัยสำหรับตัวข้าพเจ้า กับ           คนที่อยู่กับข้าพเจ้า 35 ข้าพเจ้าได้วางแบบอย่างไว้ให้ท่านทุกอย่างแล้ว ให้เห็นว่าโดยทำงานเช่นนี้ควรจะช่วยคนที่มีกำลังน้อย ระลึกถึงพระวาทะของพระเยซูเจ้า ซึ่งพระองค์ตรัสว่าการให้เป็นเหตุให้มีความสุขยิ่งกว่าการรับ’ ”
(เปาโลกล่าวกับผู้ปกครองคริสตจักรที่เมืองเอเฟซัส)

(1คร. 11:1  ท่านทั้งหลายก็จงปฏิบัติตามอย่างข้าพเจ้า เหมือนอย่างที่ข้าพเจ้าปฏิบัติตามอย่างพระคริสต์

·      ชีวิตของผู้เลี้ยงผู้อารักขาฝูงแกะของพระเจ้าต้องเป็นเหมือนต้นแบบมากที่สุด คือ พระคริสต์ผู้เป็นพระผู้เลี้ยงที่ยิ่งใหญ่
·      1 ปต.5:4 กล่าวต่อไปเช่นนั้นว่า และเมื่อพระผู้เลี้ยงผู้ยิ่งใหญ่จะเสด็จมาปรากฏ ท่านทั้งหลายจะรับศักดิ์ศรีเป็นมงกุฎที่ร่วงโรยไม่ได้เลย
[ThaiKJV] และเมื่อพระผู้เลี้ยงใหญ่จะเสด็จมาปรากฏ ท่านทั้งหลายจะรับมงกุฎแห่งสง่าราศีที่ร่วงโรยไม่ได้เลย

แต่รางวัลที่จะได้รับ ได้แก่ ศักดิ์ศรี
เป็นมงกุฎที่ไม่มีวันร่วงโรยจากมือของผู้เลี้ยงผู้ยิ่งใหญ่ คือ พระคริสต์